ธนาคารเลือดจากรก มีประโยชน์ต่อวงการการแพทย์อย่างไรบ้าง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจากการคลอดทารกสายสะดือหรือสายรก เป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้อีกต่อไปแล้ว แต่ในทางการแพทย์มันกลับมีประโยชน์ในการใช้รักษาโรคร้ายสำหรับหลายคน เพราะว่าเลือดที่ยังติดค้างอยู่ในรกมันอุดมไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือด หรือที่เราคุ้นชื่อสเต็มเซลล์ คล้ายกับการปลูกถ่ายไขกระดูก จึงทำให้เซลล์เหล่านี้สามารถนำไปปลูกถ่าย และรักษาชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคที่คุกคามชีวิตได้อีกหลาย ๆ โรค จึงทำให้เกิด ธนาคารเลือดจากรก ขึ้นมา หากคุณแม่ท่านใดอยากบริจาคก็สามารถแจ้งทางทีมแพทย์ได้เลยค่ะ ซึ่งปัจจุบันจะทั้งแบบที่บริจาคให้รัฐ ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และอีกแบบคือเก็บเป็นแบบส่วนตัวเอาไว้ใช้กับคนในครอบครัว และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงค่ะ

 

 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการบริจาค ธนาคารเลือดจากรก ของรัฐ

ปัจจุบันมีการเก็บเลือดจากรกที่ธนาคารเลือดจากรกเอาไว้ ซึ่งมาจากความร่วมมือกันของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544  ถ้าเกิดว่าคุณแม่ได้บริจาคให้กับธนาคารเลือดจากรกสาธารณะแล้ว จะไม่สามารถเก็บเลือดจากรกนั้นไว้ใช้สำหรับครอบครัวของตัวเองได้ โดยมีเหตุผลดังนี้

  • บริการธนาคารเลือดจากรกสาธารณะไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ธนาคารเลือดจากรกทำให้เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ จึงจำเป็นต้องให้บริการได้กับทุกคนที่ต้องการ
  • การบริจาคเลือดจากประชาชน จะเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของหน่วยเลือดจากสายสะดือมากขึ้นเพื่อผู้ป่วยในอนาคต

ดังนั้น ถ้าเลือกที่จะบริจาคเลือดจากสายสะดือเพื่อใช้ในองค์กรสาธารณะแล้ว จึงควรทราบว่าเลือดจากรกนั้น จะได้รับการทดสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมและโรคติดเชื้อ และถ้าเกิดว่าพบสิ่งผิดปกติใด ๆ ในเลือด ก็จะมีเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบค่ะ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับ ธนาคารเลือดจากรก ส่วนบุคคล

สำหรับธนาคารเลือดภาคเอกชนที่ให้บริการเก็บรักษาเลือด และเลือดจากรกแบบส่วนตัวนั้น จะมีการคิดค่าใช้จ่ายด้วย และมีการเก็บรักษาเอาไว้ให้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ทางวิทยาลัยสูตินรีแพทย์อเมริกันและนรีแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (ACOG) องค์กรกุมารแพทย์ และสมาคมอายุรแพทย์ ก็มีเตือนผู้ปกครองในเรื่องนี้ด้วยว่า ไม่แนะนำให้เก็บเป็น ส่วนบุคคล เนื่องจาก

  • ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเก็บรักษาที่ธนาคารเลือดจากรกส่วนบุคคลซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง
  • อาจจะมีการรักษาประสิทธิภาพอื่น ๆ ที่มีราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
  • โอกาสที่เลือดจากสายสะดือจะถูกใช้มีโอกาสน้อยมาก
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากการใช้เลือดจากสายสะดือของตัวเอง จะไม่สามารถใช้ได้กับความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายอย่าง เนื่องจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ที่อาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้มีอยู่ในเลือดจากสายสะดือของทารกอยู่แล้ว

โดยสรุปง่าย ๆ ก็คือ ทางองค์กรกุมารแพทย์ และทางสมาคมอายุรแพทย์ได้แนะนำว่า การเก็บเลือดจากสายสะดือเป็นรูปแบบของ “การประกันชีวิตทางชีววิทยา” เนื่องจากผลประโยชน์นั้นไกลเกินไป และประเมินได้ยากมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ จึงไม่คุ้มเท่ากับการบริจาคให้ทางรัฐ ซึ่งมีโอกาสเอาไปช่วยเหลือผู้คนได้มากกว่าค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : การตัดสายสะดือช้าลง เป็นผลดีกับสุขภาพของทารก

 

ธนาคารเลือดจากรกส่วนบุคคลมีความจำเป็นหรือไม่?

จริง ๆ แล้วส่วนใหญ่พ่อแม่หลายคนเลือกที่จะเก็บเลือดจากรกของเด็กไว้ ตัวอย่างเช่น หากพ่อหรือแม่มีบุตรบุญธรรม โดยถูกรับเลี้ยงมาก่อนและไม่สามารถสืบประวัติได้ องค์กรกุมารแพทย์ก็จะได้แนะนำ ให้เก็บเลือดจากรกส่วนบุคคลได้ เพราะถ้าเกิดว่าทารกที่เป็นพี่น้องเดียวกันเกิดอาการผิดปกติ หรือมีโรคทางพันธุกรรมก็จะได้รักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือเป็นลิวคีเมีย (Leukemia)
  • โรคบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ทั้งในรูปแบบ Hodgkin และ non-Hodgkin’s
  • โรคโลหิตจางชนิด Aplastic anemia
  • โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือ Sickle cell anemia
  • โรค Krabbe’s disease
  • โรคธาลัสซีเมีย
  • โรคหายากอื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่?

 

 

ประโยชน์ของเลือดจากรก

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบประโยชน์ของเลือดที่มาจากรก ซึ่งมีการนำมาใช้เพิ่มขึ้น ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกับการปลูกถ่ายแก่ผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ที่มีน้ำหนักยังไม่ถึงตามเกณฑ์ ซึ่งเมื่อก่อนหลังคลอดจำถูกทิ้งไป เพราะการเก็บเลือดจากรกนี้ไม่มีอันตรายต่อทารกแรกเกิด ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกถ่ายไขกระดูก จึงมีข้อดีของการปลูกถ่ายด้วยเลือดจากรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อปลูกถ่ายติดสำเร็จได้โดยใช้จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดที่น้อยกว่า การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า Graft-versus-Host disease จึงมีอาการไม่รุนแรงมาก แต่ก็มีข้อจำกัดคือ มักจะมีปริมาตรของเลือดหรือจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่เก็บได้น้อย อาจจะไม่เพียงพอต่อการปลูกถ่าย ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากหรือผู้ใหญ่ แถมยังเป็นการเก็บได้แค่ครั้งเดียว ไม่สามารถเก็บเลือดจากรกซ้ำอีกในทารกคนเดิม

 

ในปัจจุบันนี้ก็มีหลาย ๆ ประเทศได้จัดตั้ง Cord blood bank ขึ้นแล้ว เพราะค่อนข้างมีประโยชน์ในการเป็น stem cell donor pool เพื่อ unrelated cord blood transplantation แถมยังมีการรวมกลุ่มเพื่อประสานงานกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งพัฒนาปรับปรุงหน่วยงานให้มีมาตรฐานสูงขึ้นทัดเทียมกัน และส่งต่อ cord blood unit ไปให้แก่ผู้ป่วยที่อยู่ในต่างโรงพยาบาลหรือต่างประเทศ

 

แม้ว่าเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดสายสะดือ จะไม่มีความสามารถพิเศษเหมือนเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน แต่เลือดที่ได้จากรกเด็กก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยได้ ซึ่งใช้ได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ โดยไม่มีปัญหาทางด้านจริยธรรมเหมือนเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ซึ่งข้อดีของเลือดที่มาจากรกก็คือ จัดหาได้เร็ว และโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด graft versus host disease หรือการติดเชื้อต่าง ๆ ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งยังไม่มีความเสี่ยงต่อผู้บริจาคอีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมื่อไหร่สายสะดือลูกจะหลุด วิธีดูแลสายสะดือทารกแรกเกิด

ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

สะดือลูกเลือดออก มีน้ำเหลือง อักเสบ สะดือของลูกวัยเบบี๋ที่แม่มักกังวล

ที่มา : hd, ryt9

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

supasini hangnak