เมื่อลูกรักเป็นนักเลียนแบบ ตอนที่ 1: สิ่งที่ต้องระวัง

เมื่อลูกวัยเตาะแตะเป็นนักเลียนแบบ...ในวัยขวบครึ่ง ลูกสาวของดิฉันเป็นนักเลียนแบบที่หาตัวจับยากมากคนหนึ่ง เธอมักจะเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอเห็นคนรอบข้างทำ ไม่เว้นแม้แต่สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข หรือแมว แต่ที่เห็นจะต้องระวังที่สุดก็คือพฤติกรรมเลียนแบบคนเลี้ยงของเธอนั่นเองค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกรักเป็นนักเลียนแบบ ตอนที่ 1: สิ่งที่ต้องระวัง

เมื่อลูกรักเป็นนักเลียนแบบ

สิ่งที่คนเลี้ยงต้องระวัง: คำพูดและการกระทำที่เคยชิน

เมื่อนักเลียนแบบตัวน้อยพยายามจะก้อปปี้ผู้เป็นแม่อย่างฉัน ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกเอง ทำให้ฉันต้องระวังตัวเองมากขึ้นในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ฉันเองก็คิดไม่ถึงว่าเธอจะเลียนแบบทั้งการกระทำและคำพูด

ด้วยความเคยชินบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจพลั้งเผลอพูดหรืออุทานคำที่ไม่สุภาพออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ และแน่นอนว่าลูกก็เก็บเข้าคลังคำในสมองของเธอเรียบร้อย มีตัวอย่างที่น่าอายเรื่องหนึ่งของดิฉันค่ะ ด้วยความไม่ทันระวัง ดิฉันเผลอบอกลูกสาวว่า “พ่อขี้แตก ให้พ่อไปเข้าห้องน้ำก่อนนะลูก” แค่ครั้งเดียวไม่คิดว่าเธอจะจำ หลังจากนั้นพอมีใครมาถามเธอว่าพ่อไปไหน เธอตอบเลยว่า “พ่อขี้แตก” ทำเอาพ่อกับแม่อายม้วนที่เดียวค่ะ

ฉะนั้นคุณควรจะเอาคำพูดไม่สุภาพเก็บเข้ากรุไปก่อนค่ะ ไว้พูดกับเพื่อนสนิท หรือถ้าเป็นไปได้เลิกพูดไปเลยจะดีมาก เพราะไม่รู้ว่าคุณอาจเผลอพูดขึ้นมาอีกตอนไหนก็ได้ แต่ถ้าคุณพูดเพราะ ๆ สุภาพกับลูก ลงท้ายว่า ค่ะ/ ครับ เสมอ ๆ ลูกของคุณก็จะมีคำพูดติดปากที่ไพเราะ ใคร ๆ ก็รักและเอ็นดู

ในส่วนของการกระทำก็เช่นกันค่ะ ต้องระวังให้ดี นิสัยบางอย่างถ้าทำให้ลดน้อยลงหรือเลิกทำได้ก็จะดีที่สุด ตัวอย่างของดิฉันคือ ดิฉันยอมรับว่าติดโซเชียล เน็ทเวิร์คมาก ว่างเป็นไม่ได้ต้องคอยเปิดสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะตื่นนอน กินข้าว หรือก่อนนอน ซึ่งก็ทำให้ลูกสาวดิฉันติดพฤติกรรมนี้ไปด้วย เธอเห็นสมาร์ทโฟนไม่ได้จะต้องยื้อแย่งกดเล่นและขอดูทุกครั้ง เมื่อไม่ได้ก็จะไม่พอใจและกรีดร้อง จนฉันกลัวว่าเธอจะเสพติดหน้าจอเหมือนตัวเอง ดิฉันจึงพยายามใช้สมาร์ทโฟนให้น้อยลง และก็ได้ผลค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ดิฉันเป็นคนที่กลัวแมลงมากโดยเฉพาะแมลงสาบ เมื่อเห็นตัวก็อดไม่ได้ที่จะร้องกรี๊ด บางครั้งก็ทำต่อหน้าลูกสาวด้วย พอหลายครั้งเข้า เธอก็ทำตามค่ะ ทีนี้พอตกใจอะไรก็จะร้องกรี๊ด ๆ แบบดิฉันเปี๊ยบเลย ทีนี้ก็ดิฉันก็ต้องขจัดความกลัว พอเจอแมลงก็ต้องสะกดกลั้นความกลัวไว้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นลูกก็จะกลัวแมลงสาบเหมือนดิฉันนั่นเองค่ะ

การที่ลูกเป็นเลียนแบบ ก็ถือเป็นโอกาสดีให้พ่อแม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นด้วยนะคะ คราวต่อไปเราจะมาดูกันค่ะว่าจะนำพัฒนาการด้านการเลียนแบบนี้ไปสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูกได้อย่างไรบ้าง

เชิญชมวิดีโอนี้เพื่อให้คุณเข้าใจการเลียนแบบของเด็กมากขึ้นค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนอีก “7 อย่า” ที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูกนั้นมีอะไร สำคัญอย่างไรต่อการสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านติดตามต่อเลยครับ

“7 อย่า” เคล็ดลับสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน มานำเสนอให้ทุกครอบครัวได้นำไปปฏิบัติกัน โดยเริ่มจาก...อย่าแรก

  1. อย่ายัดเยียด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนำหนังสือ หรือซื้อหนังสือแล้วบอกให้ลูกต้องอ่าน เพราะบางครั้งการอ่านต้องอ่านด้วยความรู้สึกอยากอ่านจริงๆ ทำให้ลูกอ่านอย่างสนุก และมีความสุข ถ้าไปบังคับ หรือยัดเยียดให้อ่าน ลูกอาจจะเครียด และเกลียดหนังสือไปเลยก็ได้

    2. อย่าหวังสูง

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังว่า หนังสือจะทำให้ลูกเก่ง หรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป หรือถ้าหวังสูงเกินไป บรรยากาศภายในบ้านอาจตึงเครียดได้ ต้องคิดอยู่เสมอว่าลูกยังเล็ก จะทำอะไรเท่าผู้ใหญ่อย่างพ่อแม่คงไม่ได้ และอย่าเปรียบลูกกับเด็กคนอื่น แต่ต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีก้าวย่างในการเรียนรู้ที่ต่างกัน

  3. อย่ากังวล

พ่อแม่ต้องอย่ากังวลมากไป ลูกน้อยจะหยิบ จับ ตี ดึง ทุบ หรือขีดเขียนหนังสือ ต้องปล่อยวาง และปล่อยให้เขาขีดเขียนตามความต้องการบ้าง ขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนวิธีการใช้หนังสือให้กับลูกด้วย ทางที่ดีไม่ควรทำโทษ ตำหนิ หรือบ่นลูก

4. อย่าจ้องสอน

พ่อแม่ต้องไม่ควรจ้องสอนมากเกินไป แต่ควรใช้เรื่องสนุกๆ ในหนังสือภาพสวยๆ หรือพฤติกรรมของตัวละครมาเป็นช่องทางอบรมสั่งสอนลูกแทน เช่น คุณงามความดีของตัวละคร หรือสอนให้ลูกเห็นผลกรรมของคนไม่ดี ว่าท้ายที่สุดแล้ว ต้องได้รับโทษอย่างไรบ้าง เป็นต้น

5. อย่าถามมาก

การตั้งคำถามกับลูกขณะนั่งอ่านหนังสือ หรืออ่านนิทานด้วยกันเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กจะได้มีส่วนร่วมกับหนังสือ ทำให้ลูกกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ถามลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกเบื่อการอ่านหนังสือไปเลยก็ได้ เพราะต้องมาคอยคิด และตอบคำถามมากมายทั้งๆ ที่บางเรื่องก็รู้อยู่แล้ว รวมทั้งหมดสนุกกับการติดตามเรื่องราวต่อไป

6. อย่าขัดคอ

เมื่อลูกออกเสียงไม่ชัด หรือพูดผิด คุณพ่อคุณแม่อย่าขัดคอ ตำหนิลูก หรือแสดงความเอ็นดูด้วยการหัวเราะขบขันเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ลูกเกิดอาการกล้าๆ กลัวๆ ไม่มั่นใจในการอ่านออกเสียงครั้งต่อไป จนอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่นกับการอ่านออกเสียงขณะเรียนหนังสือที่โรงเรียนก็เป็นได้

7. อย่าเบื่อหน่าย

พฤติกรรม หรือ การ แสดง ออก ของ พ่อ แม่ มี  ผล ต่อ ชีวิต ลูกทั้งทางตรง และทางอ้อม เรื่องนี้จึงต้องระวัง เมื่อพ่อแม่ตั้งใจที่จะสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านแล้ว ก็ขอให้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ ถ้าลูกสนใจในหนังสือ แล้วต้องการให้พ่อแม่มานั่งอ่านด้วยกัน ถ้าทำในทันทีไม่ได้ ต้องสร้างเงื่อนเวลา เช่น ให้แม่ทำกับข้าว ซักผ้า ถูบ้านให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะอ่านหนังสือที่ลูกเลือกไว้ให้ฟังได้ แต่ทั้งนี้พ่อแม่ต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้ลูกผิดหวัง และไม่เชื่อพ่อแม่อีกต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: clip.teenee.com/etc/34666.html

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เมื่อลูกรักเป็นนักเลียนแบบ ตอนที่ 2: พฤติกรรมสร้างสรรค์

ไอเดียทำปฏิทินจากรูปลูกรัก สำหรับช่วงปีใหม่

เคล็ดลับเลือกสถานรับเลี้ยงเด็กให้ลูกรัก

บทความโดย

ธิดา พานิช