สู้สุดใจ เด็กน้อยหัวใจวาย 20 ครั้งใน 2 เดือนแต่รอด!

ทารกน้องชาวอินเดียวต้องต่อสู้กับโรคหัวใจวายด้วยอายุไม่ถึงปี และภายในสองเดือนก็ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการหัวใจวายถึง 20 ครั้งเลยทีเดียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กน้อยหัวใจวาย 20 ครั้งใน 2 เดือนแต่รอด! ปาฏิหารย์มีจริง

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก ประเทศไทยพบประมาณ 5-8 คนจากเด็ก 1,000 คน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งด้านพยาธิสภาพ และอาการที่แสดง ดังนั้น การรักษาและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต้องแตกต่างกันไปด้วย ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพรุนแรง หากได้รับการวินิจฉัยล่าช้า อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่สันนิษฐานว่าเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ความผิดปกติของพันธุกรรมขณะตั้งครรภ์ มีการติดเชื้อ การได้รับยาบางชนิด การใช้สารเสพติด การได้รับรังสี ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก และครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชนิดของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม

  • ชนิดเขียว เป็นอาการที่เกิดจากเลือดดำไหลเข้าสู่เส้นเลือดแดงที่ส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เด็กมีลักษณะผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อเขียวคล้ำ มักพบอาการเขียวที่เด่นชัดในบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ริมฝีปาก และใบหน้า
  • ชนิดไม่เขียว เป็นอาการที่เกิดจากร่างกายได้รับออกซิเจนที่ส่งมากับเลือดไม่เพียงพอ และหัวใจมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อยลง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากได้เหมือนคนปกติ ในวัยทารกจะมีอาการเหนื่อยง่ายขณะดูดนม เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมหรือออกแรงทำสิ่งใดๆ หากมีการทำกิจกรรมที่หนักอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ร่างกาย และสมองขาดออกซิเจน เป็นลมหมดสติได้ง่าย

เด็กน้อยหัวใจวาย 20 ครั้ง ใน 2 เดือนแต่รอด! ปาฏิหารย์มีจริง

อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เริ่มจากไม่มีอาการจนถึงอาการรุนแรง อาการที่ผู้ปกครองควรสงสัยว่าบุตรหลานของท่านเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เหนื่อยง่าย เมื่อเทียบกับเด็กปกติ
  • เมื่ออยู่ในวัยทารก พบว่าต้องใช้เวลาดูดนมนาน ดูดนมแล้วพักบ่อย หายใจเร็ว หายใจทางจมูก หรือซี่โครงบาน
  • สังเกตจากลิ้น เยื่อบุตา ริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้าเป็นสีคล้ำ
  • ติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด หรือปอดบวมบ่อย
  • เด็กขาดการเจริญเติบโต หรือโตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • ลักษณะภายนอกผิดปกติ เช่น กลุ่มอาการดาวน์
  • หน้าอกผิดรูป ยุบ หรือโป่งมากผิดปกติ นิ้วปุ้ม
  • หัวใจเต้นเร็ว และแรงผิดปกติ

    เด็กน้อยหัวใจวาย 20 ครั้ง ใน 2 เดือน รอด! ปาฏิหารย์มีจริง

หากสังเกตว่ามีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว ควรปรึกษากุมารแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเมื่อสงสัยโรคหัวใจพิการ โดยกุมารแพทย์โรคหัวใจจะพิจารณาการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์หัวใจ คลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจ และการสวนหัวใจ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน

การดูแล และรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด      เนื่องจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีหลายชนิด การรักษาจึงขึ้นกับชนิดของโรคและอายุของผู้ป่วย บางชนิดใช้การรักษาแบบประคับประครองด้วยยา หรือรักษาด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาจะช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น แต่ไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติ การรักษาที่ได้ผลดี คือการผ่าตัด และการรักษาด้วยอุปกรณ์พิเศษทางสายสวน (Interventional Cardiac Catheterization) ดังนั้นผู้ปกครองควรสอบถามข้อมูลการดูแลรักษาเพิ่มเติมจากกุมารแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจที่ดูแลบุตรหลานของท่าน ส่วนผู้ที่ดูแลควรมีความรู้ในการดูแล ทั้งด้านอาหาร และโภชนาการ ในรายที่มีอาการหัวใจวาย หายใจหอบ ควรงดรับประทานอาหารเค็ม การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโดยการออกกำลังกายที่พอเหมาะ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อจากฟัน และช่องปาก เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กน้อยหัวใจวาย 20 ครั้ง ใน 2 เดือน รอด! ปาฏิหาร ย์มีจริง

Aditi Gilbile เด็กน้อยชาวอินเดียที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการมาตั้งแต่กำเนิดตั้งแต่มีอายุได้เพียงสี่เดือน โดยหนูน้อยคนนี้ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการหัวใจวายมากถึง 20 ครั้งภายในระยะเวลาสองเดือน แต่เธอก็สู้สุดใจ และมีชีวิตรอดมาได้

Preeti แม่ของเด็กน้อยรายนี้เล่าว่า Aditi แสดงอาการหายใจแรงและดูเหนื่อยมากตอนที่ดูดนม ทั้งนยังมีเสียงวี๊ด ๆ ออกมาในระหว่างที่ดูดนมแม่ด้วย เธอจึงรีบนำตัว Aditi ส่งโรงพยาบาลโดยทันที ซึ่งในตอนนั้น Aditi มีอายุได้เพียงสองเดือนเท่านั้น และต่อมาเธอก็มีอาการ หัวใจวาย ถึงยี่สิบครั้ง เป็นระยะเวลานานกว่าสองเดือน ก่อนจะเข้ารับการผ่าตัดโรคหัวใจในโรงพยาบาลในเมือมัมไบ

โดยคุณหมอบอกว่า ที่น้องเป็นแบบนี้นั่นเป็นเพราะน้องเป็นโรคหัวใจพิการมาตั้งแต่กำเนิด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และตอนนี้Aditi ก็ได้รับการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระยะพักฟื้น คุณแม่และทุก ๆ คนในครอบครัวเฝ้ารอวันที่ Aditi จะได้กลับมาใช้ชีวิตในวัยเด็กเหมือนกับเด็กอื่น ๆ ทั่วไปอีกครั้งนึง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรขอภาวนาให้น้องฟื้นตัวและกลับมามีสุขภาพที่ดี และใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กทั่วไปเร็ว ๆ นะคะ ทั้งนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารกกันค่ะ

โอกาสและความเสี่ยงโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารก

  • สถานการณ์โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในปัจจุบัน จะพบในทารก 7.7 คน จากทารก 1,000 คน
  • แต่มีแค่ร้อยละ 1 ที่ตรวจทราบหรือพบเลยตั้งแต่แรกคลอดว่าเป็นโรคนี้
  • โดยในแต่ละปีมีทารกต้องการการผ่าตัดมากถึง 5,000-6,000 ราย แต่สามารถผ่าตัดได้เพียง 3,500 คน

คลิกเพื่ออ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

สาเหตุของโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารก

  • สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัดแต่ความผิดปกติเกิดในขั้นตอนการสร้าง อวัยวะตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อใน 3 เดือนแรกหรือเกิดจากกรรมพันธุ์
  • นอกจากนี้สาเหตุของโรคยังเกิดได้จากพฤติกรรมของมารดาขณะตั้งครรภ์ด้วย เช่น แม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าตอนตั้งครรภ์
  • แม่มีอายุมากเกินกว่าวัยเจริญพันธุ์
  • หรือเด็กที่เกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรม เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดมาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นได้

ชนิดของโรคและอาการ

1. ชนิดเขียว หรือมีออกซิเจนในเลือดต่ำ

  • เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ทำให้เลือดดำปนกับเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย จนเด็กเกิดภาวะขาดออกซิเจน

2. ชนิดไม่เขียว

  • เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  • โดยอาจเกิดจากผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ

จะทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด?

  • สำหรับชนิดเขียว ผิวจะมีสีเขียวม่วงคล้ำ โดยจะเห็นได้ชัดขณะร้องหรือดูดนม
  • สำหรับชนิดไม่เขียว อาจพบได้จากการตรวจพบเสียงหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยบังเอิญ และเด็กเล็กมักดูดนมได้ครั้งละน้อย  ๆ หายใจเร็ว น้ำหนักขึ้นช้า เป็นต้น

 

ที่มา: Timesofindia

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

แม่เศร้า! ลูกมีภาวะหัวใจสลับข้าง

ตรวจโรคหัวใจทารกแต่เนิ่น ๆ ช่วยรักษาชีวิตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth