เช็คลิสต์ยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีไว้ สำหรับเจ้าตัวน้อย

หากเจ้าตัวน้อยของคุณแม่ เกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ยาสามัญประจำบ้านสำหรับทารกที่ควรมีติดไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและไม่เป็นอันตราย มีอะไรบ้าง มาทำเช็คลิสต์กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช็คลิสต์ยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีไว้ สำหรับเจ้าตัวน้อย

เช็คลิสต์ยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีไว้ สำหรับเจ้าตัวน้อย บางครั้งบางคราวอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้ตั้งใจขึ้น คุณพ่อคุณแม่มือไว้รู้ไว้

 

ยามหาหิงค์เป็นยาน้ำสมุนไพรสีดำๆ ที่อยู่กับคนไทยมานาน เป็นยาที่มีกลิ่นออกฉุนๆ ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการเกร็ง แก้ท้องเฟ้อ เสียดท้อง เป็นยาทาภายนอกเท่านั้น . โดยวิธีการใช้ก็คือ นำสำลีมาชุบ และทาที่บริเวณหน้าท้อง ฝ่าเท้าของเด็ก ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องอ่านฉลาก อ่านข้อมูลทุกครั้งก่อนใช้ยา ห้ามนำมาทานหรือผสมน้ำเด็ดขาด ควรเก็บไว้ไกลมือเด็กๆ และควรทาในที่ที่มีอากาศถ่ายเทที่ดีด้วยนั้นเอง

ไอเทมที่มีกันแทบทุกบ้านสำหรับเบบี๋แรกคลอด  ใช้ทาท้องรอบๆ สะดือ หลังอาบน้ำ หรืออาจทาตามฝ่ามือฝ่าเท้าด้วย น้ำมันหอมระเหยจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวในกระเพาะอาหาร ทำให้ลูกรู้สึกสบายท้องมากขึ้น

  1. ยาทาผื่นผ้าอ้อมสำหรับเด็กเล็ก

หากลูกน้อยรู้สึกระคายเคือง ไม่สบายตัว จนเป็นผื่นแดงเป็นปื้นๆ บริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความสะอาดบริเวณที่เกิดผื่นให้สะอาดแล้ว ควรทายาที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับผื่นผ้าอ้อมบางๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้บริเวณนั้นเกิดการเสียดสีเพิ่มมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเบกกิ้งโซดา หรือที่รู้จักกันก็คือผงฟู กรดบอริก การบูร ฟีนนอล เบนโซเคน ไดเฟนไฮดรามีน หรือซาลิซัยเลท เพราะจะเป็นอันตรายต่อผิวลูกน้อยได้นั้นเองค่ะ

ทางที่ดีก่อนการใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ในการเลือกประเภทยาให้เหมาะสมกับลูกน้อยและควรคำนึงถึงยาที่ออกแบบมาเฉพาะเด็กนั้นเองค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงแรกหลังคลอด อาจมีญาติพี่น้องมาเยี่ยมเยียนพร้อมผ้าอ้อมสำเร็จรูปหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งคุณแม่ยังไม่รู้หรอกว่า เจ้าตัวน้อยจะเกิดอาการผื่นผ้าอ้อมหรือไม่ จึงควรทายาให้ลูกน้อยทุกครั้งก่อนสวมใส่ผ้าอ้อมค่ะ

  1. ท้องเสีย เกลือแร่สำหรับเด็ก

หรือที่เรียกว่า ผงน้ำตาลเกลือแร่ (Electrolyte Powder Packet) เป็นสารที่ช่วยทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ ช่วยเพิ่มพลังงาน เกลือแร่ และน้ำในร่างกาย จากอาการท้องเสสียและอาเจียน  สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ให้ผสมเกลือแร่ดื่ม 2-3 แก้ว / และอายุ 2-5 ปี ให้ผสมเกลือแร่ดื่ม 3-4 แก้ว ถ้าอายุมากกว่า 5 ปี ให้ดื่มเรื่อยๆ จนกว่าจะอาการดีขึ้นนั้นเอง

หากนำมาละลายน้ำแล้ว ไม่ควรเก็บไว้เกิน 24 ชั่วโมง และห้ามละลายในน้ำร้อนโดยเด็ดขาด หากครบ 4 ชั่วโมงหลังดื่มเกลือแร่แล้ว จึงให้เริ่มรับประทานอาหารอ่อนๆ ได้ เว้นแต่เด็กที่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย ควรรอให้เด็กอาการดีขึ้นก่อนถึงจะรับประทานอาหารอ่อนได้นั้นเอง  แต่ถ้าหากพบความผิดปกติในระหว่างการใช้ผงเกลือแร่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อความปลอดภัยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกท้องเสีย ปกติเด็กสามารถหายจากอาการท้องเสียเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ควรป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ ด้วยการจิบเกลือแร่สำหรับเด็กบ่อยๆ  หากลูกถ่ายเป็นน้ำมาก ควรไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมออาจพิจารณาว่าจำเป็นต้องให้ยาฆ่าเชื้อหรือไม่

  1. ขี้ผึ้งสำหรับทาเวลาแมลงสัตว์กัดต่อย

ขี้ผึ้งสมุนไพรใช้ทาผิว เป็นยาที่ลดการอักเสบติดเชื้อ รวมทั้งแผลจากคมมีด ฟกช้ำ หรือแม้แต่บรรเทาอาการหวัด แก้ปวด และแมลงกัดต่อยได้ เจ้าขี้ผึ้งนี้ใช้เป็นยาภายนอกเท่านั้น ใช้ทาบริเวณที่เกิดการอักเสบหรือแมลงกัดต่อย ที่สำคัญห้ามวางไว้ใกล้เด็กเล็กหรือเผลอเปิดฝาทิ้งไว้ ไม่อย่างนั้นเด็กจะนำขี้ผึ้งเข้าปากไปได้ค่ะ

สำหรับยานี้สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาหรือตามตลาดทั่วไป โดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้เสมอ อย่าลืมล้างมือทุกครั้งหลังใช้และห้ามใช้หรือเก็บยาที่หมดอายุไปแล้ว ควรตรวจสอบยาทุกครั้งก่อนใช้นั้นเองค่ะ

ลูกมักจะถูกยุงกัด มดกัดบ่อยๆ ควรมีขี้ผึ้งที่ทาแล้วไม่แสบติดบ้านไว้ทาให้ลูก แทนยาหม่องของผู้ใหญ่ที่อาจจะแสบ และหากลูกเกาแล้วเอาไปขยี้ตา จะแสบตาได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ยาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมล์โลชั่น

ยาคาลาไมล์โลชั่น เป็นยาน้ำแขวนตะกอน แป้งน้ำจะเป็นสีชมพู ที่ใช้บรรเทาอาการคันตามผิวหนัง เช่น ผดผื่นคัน ลมพิษ ผื่นแพ้ เริม งูสวัส เป็นต้น  ยานี้เป็นยาที่ปลอดภัยคุณแม่ๆ ที่ตั้งครรภ์ก็สามารถใช้ยานี้ได้ค่ะ ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งตัวยาสำคัญของยานี้ก็คือ ซิงค์ออกไซด์ มีฤทธิ์ฝาด ช่วยบรรเทาการระคายเคืองของผิวหนัง ลมพิษ ผื่นคัน ลดอาการอักเสบได้ระดับหนึ่ง  ยานี้ห้ามทาบริเวณริมฝีปาก ภายในช่องปาก รอบตา หรือทาลูกตา ใช้ทาบริเวณที่มีอาการคันในขนาดที่พอเหมาะ วันละ 3-4 ครั้ง (หลังอาบน้ำ เช้าเย็น)

หากเกิดผดผื่นคันเป็นวงกว้าง ตามหลัง หรือตามหน้าอกของลูก ใช้คาลาไมล์โลชั่นทาได้เลย ลูกจะรู้สึกเย็นสบายหายคัน

  1. ยาลดไข้ พาราเซตามอลสำหรับเด็ก

พาราเซตามอลถือเป็นยาลดไข้ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่คุณแม่ควรให้ลูกทานในปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัว และไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 5 วันเนื่องจากมีผลต่อตับ

เมื่อมีไข้ สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ายาลดไข้ คือ ปรอทวัดไข้ เพราะเป็นเรื่องจำเป็นมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้ว่า ลูกมีไข้หรือไม่ อุณหภูมิเท่าไหร่ เมื่อเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้แล้ว ไข้ลงหรือไม่ และบันทึกไว้เวลาคุณหมอถามจะได้มีข้อมูลให้คุณหมอค่ะ

ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 ครั้ง หรือไม่ควรรับประทานยาตัวนี้ร่วมกับยาอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบและไม่ควรรับประทานยาเกิดขนาดที่แนะนำไว้นั้นเองค่ะ ที่สำคัญ ยาลืมอ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้งด้วยนะคะ คุณแม่ๆ

ทารกวัยคว่ำพ่อแม่ต้องระวัง

  1. เจลร้อน- เย็น

ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ สำหรับคุณแม่ๆ ที่มีลูกเล้กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 10 ขวบ ใช้เมื่อลูกน้อยมีไข้สูงตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ก็ใช้แปะตรงหน้าผากให้ลูก โดยไม่ต้องเช็ดตัวตลอดเวลา คุณสมบัติก็คือ ดูดซับเอาความร้อนมาไว้ที่เจล ทำให้อุณหภูมิที่หัวของลูกลดลง ซึ่งสะดวกสบายอย่างมาก ควรมีติดบ้านไว้เลยนะคะ

ควรมีเจลเย็นติดตู้เย็นไว้เพื่อใช้ประคบเวลาฉุกเฉิน เช่น หกล้ม หัวโน หรือฟกช้ำตามร่างกาย

  1. วิกส์ หรือน้ำมันยูคาลิปตัส

คุณพ่อคุณแม่ใช้น้ำมันยูคาลิปตัสหรือวิคส์ทาอก ฝ่าเท้า ทาหลัง หรืออาจจะป้ายไว้ที่เสื้อผ้าของเด็กๆ แต่ไม่ควรทาไปที่จมูกของลูกโดยตรง เพราะจะทำให้ลูกน้อยแสบจมูก อีกทั้งเมื่อเด็กๆ เอามือไปโดนจมูกเข้า ก็จะทำให้เด็กๆ เอามือไปป้ายหน้าป้ายตา ทำให้แสบตาไปด้วย หรือถ้าเป็นน้ำมันยูคาลิปตัส คุณแม่ๆ อาจจะหยดบนผ้าหรือหมอน ทำให้เด็กๆ จมูกโล่งเวลาเป็นหวัดคัดมูกนั้นเองค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนน้ำมันยูคาลิปตัส เอาไว้หยดใส่หมอน หรือหยดใส่ผ้าวางไว้ใกล้ๆ ทำให้จมูกโล่งเวลาเป็นหวัด หรือแบบสเปรย์ฉีดในห้องนอนช่วงที่ลูกคัดจมูก

9.เบตาดีน และ พลาสเตอร์ติดแผล

ลูกวัยหัดเดิน อาจจะมีการหกล้มได้รับบาดเจ็บกันได้บ่อยครั้ง จึงควรมียาใส่แผลไว้ติดบ้าน ก่อนใส่ยาทาแผล อย่าลืมที่จะล้างแผลให้สะอาดก่อนทุกครั้ง จากนั้นอาจติดพลาสเตอร์ลายการ์ตูนให้ลูกอารมณ์ดีขึ้นได้

เป็นอย่างไรบ้างคะ กับรายการยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อยที่เรานำเสนอให้มีติดบ้านไว้เพื่อความอุ่นใจยามฉุกเฉิน แต่หากลูกน้อยแข็งแรงดีไม่เจ็บป่วยบ่อย คุณแม่อาจลองตรวจสอบยาเป็นระยะว่าหมดอายุหรือยังด้วยนะคะ

  10.น้ำเกลือล้างจมูก

สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกไม่เป็น ควรมีน้ำเกลือล้างจมูกไว้ติดบ้าน น้ำเกลือล้างจมูกมีให้เลือกหลายแบบ ปัจจุบันแบบที่ไม่ต้องใช้ไซริงจ์ ก็ช่วยให้การล้างจมูกลูกง่ายขึ้นมาก

ที่มา : 1

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

รู้ไหม? เก็บรักษายาสำหรับเด็กอย่างนี้แหละถูกวิธี

โรค Stevens-Johnson อาการแพ้ยาที่อาจรุนแรงถึงชีวิตลูกรัก

https://www.parentsone.com