น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

เพื่อป้องกันปัญหาการ สูญเสียการได้ยินในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกต หากพบความผิดปกติต้องรีบรักษาโดยเร็ว เพราะจะมีผลต่อพัฒนาการเด็กทุกด้านในอนาคต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาของการ สูญเสียการได้ยินในเด็ก และเด็กแรกเกิด เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษาแข่งกับเวลาที่เด็ก ๆ เติบโต เนื่องจากมีผลต่อพัฒนาการสมอง โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองของเด็ก ๆ มีการพัฒนามากที่สุด 

ปกติแล้ว ระบบการได้ยิน ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยอวัยวะรับเสียงต่าง ๆ มีหน้าที่แตกต่างกันไป ได้แก่ “หูชั้นนอก” ทำหน้าที่รับคลื่นเสียง และส่งต่อไปยังชุดกระดูกหูชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ใน “หูชั้นกลาง” จากนั้น “เซลล์ขน” ใน “หูชั้นใน” จะทำการเปลี่ยนการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงเป็นสัญญาณประสาท เพื่อส่งต่อไปยังสมอง เพื่อแปลงผลจนเกิดเป็นการรับรู้ หรือที่เราเรียกว่า การได้ยิน หากอวัยวะใดทำงานผิดปกติ อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินได้

เมื่อพบความผิดปกติในกระบวนการได้ยิน แต่ไม่รีบเข้ารับการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งพัฒนาการสมอง และร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พัฒนาการด้านการสื่อสารและภาษา คิดตามง่าย ๆ คือ หากลูกได้ยินไม่ชัดเจนก็จะทำให้พูดไม่ชัด แต่หากโชคร้าย สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงมาก นอกจากจะพูดไม่ได้แล้ว ยังจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังพัฒนาการด้านอื่น ๆ แบบโดมิโนอีกด้วย 

สามารถศึกษาผลกระทบต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ในบทความ การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด

เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ของการเช็กพัฒนาการการได้ยินของลูกตั้งแต่แรกเกิด และเพิ่มโอกาสการกลับมาได้ยินเสียงของคนที่เรารักอีกครั้ง คุณพ่อกิตติพนธ์ และคุณแม่รุ่งนภา ได้ถือโอกาสนี้ ถ่ายทอดประสบการณ์การรักษาตัวของ น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ลูกชายฝาแฝด ที่มีปัญหาสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงตั้งแต่เด็ก แม้จะสร้างความกังวลใจให้ทั้งคู่อย่างมาก แต่ทั้งสองท่านก็พยายามหาหนทางทุกอย่าง เพราะต้องการให้ลูกกลับมาได้ยินเสียงของพ่อแม่อีกครั้ง 

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หัวอกของพ่อแม่ เมื่อได้รับข่าวร้ายว่าลูกชายฝาแฝดกลายเป็น “ผู้พิการทางการได้ยิน”

คุณพ่อกิตติพนธ์ และคุณแม่รุ่งนภา เริ่มเห็นความผิดปกติของน้องนดลต์ และน้องนภนต์ ลูกชายฝาแฝด เมื่ออายุน้องได้ 1 เดือน จากการนัดตรวจสุขภาพตามปกติที่โรงพยาบาล ซึ่งในช่วงที่น้องคลอดใหม่ ๆ จะไม่ได้รับการตรวจในเรื่องของการได้ยิน โดยตอนที่ตรวจพบนั้น คุณหมอได้แจ้งว่า น้องอาจมีความผิดปกติทางการได้ยิน แต่แนะนำให้รอตรวจอีกครั้งเมื่อน้องอายุ 3 เดือนขึ้นไป เนื่องจากอาจเกิดจากการที่แก้วหูข้างในของเด็ก ๆ ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ขออย่าเพิ่งกังวลใจไปก่อน

แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณแม่รุ่งนภา ก็เริ่มสังเกตถึงความผิดปกติของลูกชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่ออยู่มาวันหนึ่ง คุณพ่อกิตติพนธ์ เจาะกำแพงบ้านดังมาก แต่น้องนดลต์ และน้องนภนต์ กลับนอนหลับนิ่งสนิท ไม่ผวา หรือร้องไห้จ้า ในแบบที่เด็กทารกแทบทุกคนเป็นกัน นั่นคือวันแรกที่ทั้งสองคนเริ่มตระหนักว่า ลูกมีความผิดปกติบางอย่างแน่ ๆ  ถึงแม้ว่าคุณหมอจะบอกว่าแก้วหูข้างในอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ แต่หัวอกคนเป็นพ่อแม่ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจ จึงรีบพาเด็ก ๆ ไปตรวจพัฒนาการการฟังอย่างละเอียดที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ซึ่งผลออกมาว่า เด็ก ๆ มีความผิดปกติทางการได้ยินในระดับที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด

เพื่อความมั่นใจ ทั้งคู่ยังพาเด็ก ๆ ไปตรวจซ้ำอีกครั้ง ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งตอนนั้น น้องนดลต์ และน้องนภนต์ อายุ 6 - 7 เดือนแล้ว และก็ได้ผลสรุปเช่นเดียวกันว่า น้องทั้งสองคนไม่ได้ยินในระดับสูงกว่า 110 เดซิเบล โดยการรักษาในขั้นต้น คุณหมอแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟังแบบธรรมดาไปก่อน แต่ถ้าหากมีความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย ก็สามารถผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมได้ทันที ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักแสนต่อเครื่อง และต่อหู 1 ข้าง พร้อมกับแนะนำให้ยอมรับ และทำใจตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่า เด็ก ๆ สูญเสียการได้ยิน 100% แล้ว จากเด็กฝาแฝดวัยกำลังน่ารัก กลับกลายเป็นผู้พิการที่ได้รับสิทธิ์สวัสดิการ (เครื่องช่วยฟัง) จากรัฐบาลในทันที ซึ่งการใช้เครื่องช่วยฟังเอง ก็ไม่อาจช่วยให้เด็ก ๆ ได้ยินเสียงมากขึ้น เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับน้อยเท่านั้น ต่างจากการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ที่เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงแบบเด็ก ๆ ทั้งคู่

ทว่าข่าวร้ายก็ไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ เพราะคุณพ่อกิตติพนธ์ และคุณแม่รุ่งนภา ยังพบว่า ลูกทั้งสองคนมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการที่เด็ก ๆ สูญเสียการได้ยินในระดับสูงสุด ทุกครั้งที่หันไปมองลูก ก็จะยิ่งเครียดหนัก หัวอกพ่อแม่ก็อยากให้ลูกกลับมาได้ยินอีกครั้ง เพราะนั่นหมายความว่า เด็ก ๆ จะได้มีโอกาสเติบโต มีความใฝ่ฝัน มีอนาคตที่ดีเหมือนกับเด็กทั่วไป นาทีนั้นทั้งคู่ก็ได้แต่ยอมรับว่า “มืดแปดด้านจริง ๆ”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ตั้งสติ คิดหาหนทางรักษาอย่างมีความหวัง เพื่อให้ลูกกลับมาได้ยินอีกครั้ง

ในครอบครัวนี้ คุณพ่อกิตติพนธ์เป็นคนทำงาน ส่วนคุณแม่รุ่งนภารับหน้าที่ดูแลลูก ๆ ทั้งสองคนเดียว เมื่อรู้ว่าลูกทั้งสองสูญเสียการได้ยิน และต้องการรักษา ก็พบว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ลำพังราคาประสาทหูเทียมก็ข้างละ 550,000 แล้ว มีลูก 2 คน แปลว่าต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 2 ล้าน ไหนจะค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ อีก ถึงกับปรึกษากันว่าต้องขายบ้านเพื่อเอาเงินมาเป็นทุนในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมให้กับเด็ก ๆ ท่ามกลางความมืดมนก็ยังมีแสงสว่าง เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับโครงการ “หนูอยากได้ยินเสียงแม่” ภายใต้ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ให้การสนับสนุน ทุนผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแก่ครอบครัวผู้สูญเสียการได้ยินในประเทศไทย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทำความรู้จัก โครงการหนูอยากได้ยินเสียงแม่ ของ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์

หลังจากที่คุณพ่อกิตติพนธ์ และคุณแม่รุ่งนภา ทราบว่ามีโครงการที่ให้ทุนในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ก็ได้ลองติดต่อมายัง มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (โรงเรียนเศรษฐเสถียร) และได้เข้าพบ อาจารย์มลิวัลย์ ธรรมแสง เลขาธิการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ประธานฝ่ายวิชาการ) เมื่อได้พบเด็ก ๆ อาจารย์มลิวัลย์เห็นว่าเป็นฝาแฝด ก็รู้สึกเอ็นดูในทันที ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงพิจารณาทุนพอดี จึงมีการนัดน้องฝาแฝดทั้งคู่มาตรวจใหม่อีกครั้ง เนื่องจากทางมูลนิธิฯ จะพิจารณาผลการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นหลัก ว่าแพทย์แนะนำให้มีการผ่าตัดหรือไม่ ซึ่งหลักการวินิจฉัยของแพทย์ นอกจาก การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (ASSR) แล้ว เด็ก ๆ ยังต้องเข้ารับการตรวจ CT Scan เพื่อดูลักษณะของหูชั้นในว่า มีความผิดปกติที่อาจส่งผลกระทบต่อการฝังประสาทหูเทียมหรือไม่ ซึ่งผลการตรวจออกมาว่าเข้าเกณฑ์การผ่าตัดได้ทั้งสองคน

นอกจากนี้ ในกระบวนการก่อนเข้ารับการผ่าตัด เด็ก ๆ ยังต้องเข้ารับการตรวจพัฒนาการ เพื่อให้มั่นใจว่า มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดี หลังจากการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเรียบร้อยแล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องติดต่อขอ ใบรับรองการประเมินผลพัฒนาการ จากทางสถาบันราชานุกูล นำมายื่นประกอบด้วย เพื่อรับรองว่าเด็ก ๆ มีพัฒนาการตามเกณฑ์ที่ทดสอบหรือไม่

คุณพ่อกิตติพนธ์ ให้รายละเอียดในขั้นตอนนี้ว่า “เนื่องจากต้องใช้ใบประเมินนี้แนบไปเพื่อยื่นประกอบการผ่าตัดด้วย ตอนนั้น ลูกเราอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ในการเข้ารับฝึกกระตุ้นพัฒนาการแบบผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากเด็กที่เข้าฝึกจะต้องเป็นเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือนขึ้นไป แต่ในเวลานั้น น้องนดลต์ และน้องนภนต์ เพิ่งอายุได้ 1 ปี 3 เดือน แต่ทั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ได้พยายามขอร้อง เพราะต้องใช้ประกอบในการขอทุน จนในที่สุดก็ได้รับการประเมิน แต่มีข้อแม้ว่า ตลอดการทดสอบนี้เด็ก ๆ ต้องมีผู้ปกครองมาด้วยทุกครั้ง ซึ่งพ่อกับแม่เองก็ทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับน้องทั้ง 2 คนอย่างเต็มที่”

ท้ายที่สุดแล้ว ขั้นตอนการดำเนินการขอทุนเพื่อผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมก็ลุล่วงด้วยดี โดยน้องทั้ง 2 คน ได้ทุนฟรีคนละข้าง และทางบ้านก็ร่วมสมทบทุนค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือกันอีกคนละ 1 ข้าง ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะน้องทั้งคู่ถือเป็นเด็กแฝดคู่แรกที่ได้ทุนผ่าตัดฟรี และได้ผ่าตัดฝังอุปกรณ์พร้อมกันทั้ง 2 ข้างด้วย โดยเด็ก ๆ ได้ผ่าตัดวันเดียวกัน คนพี่ผ่าตัดเช้า คนน้องผ่าตัดตอนบ่าย โดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด คือ นายแพทย์เกียรติยศ โคมิน นายแพทย์ที่ปรึกษา ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี

 

ขั้นตอนฟื้นฟูการได้ยินหลังการผ่าตัด และสิ่งที่น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ต้องทำในชีวิตประจำวัน

หลังการผ่าตัดสำเร็จลุล่วงด้วยดี เด็ก ๆ ทั้ง 2 คน ต้องมีการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด ได้แก่ เข้ารับการฝึกพูด โดยใช้ทักษะการฟัง หรือ Auditory Verbal Therapy (AVT) ซึ่งเป็นวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้ “ฟัง” และ “พูด” โดยใช้การได้ยินที่ยังเหลืออยู่ ร่วมกับการใช้อุปกรณ์การได้ยิน ได้แก่ ประสาทหูเทียม โดยการฝึกฟื้นฟูนี้จะเน้นการสอนให้ผู้ปกครองกระตุ้นให้เด็กฟังและพูดในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาภาษาและการพูดให้ทันเพื่อน ๆ โดยมีเป้าหมายให้เด็กเรียนในโรงเรียนปกติ และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปกติได้อย่างเต็มศักยภาพ

ภายหลังเปิดเครื่องประสาทหูเทียมเรียบร้อยแล้ว ทางคุณครูที่ดูแลการเรียน AVT จะให้คำแนะนำ และพูดคุยกับผู้ปกครอง เพื่อกำหนดเป้าหมายในการสอน และติดตามความก้าวหน้าของเด็ก ซึ่งโดยทั่วไป จะมีการนัดเด็ก ๆ และผู้ปกครอง เพื่อเข้าเรียน AVT สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 - 2 ปี ขึ้นอยู่กับอายุ พัฒนาการของเด็ก และความคาดหวังของผู้ปกครอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คุณพ่อคุณแม่ปลื้มใจ เมื่อลูกรักมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

ในช่วงหลังเข้ารับการผ่าตัดใหม่ ๆ ทั้งสองยอมรับว่า มีความกังวลตลอดเวลาว่า ลูก ๆ จะมีพัฒนาการตามเด็ก ๆ คนอื่นทันหรือไม่ แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณแม่สังเกตเห็นว่า แม้พัฒนาการด้านการพูดของน้องทั้ง 2 คนจะยังตามไม่ทันเด็กคนอื่น ๆ แต่พัฒนาการด้านร่างกาย ก็เริ่มมีพัฒนาการดีขึ้นแบบก้าวกระโดด จากเดิมทีที่ทำได้แค่คลาน ก็เริ่มเดิน วิ่ง กระโดด ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเลยว่าเด็ก ๆ มีพัฒนาการร่างกายที่ดีขึ้นสืบเนื่องมาจากการได้ยินเสียงรอบข้าง

ทั้งคู่ทราบดีว่า เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน น้องทั้งสองถือว่ามีพัฒนาการช้ากว่าเด็กคนอื่นบ้าง เช่น เด็กคนอื่นพูดคำนี้ได้แล้ว แต่ลูกเรายังพูดไม่ได้เลย หรือเด็กบ้านอื่นปั่นจักรยานกันแล้ว แต่ลูกเรายังหัดเดินอยู่เลย สุดท้ายแล้ว ถึงแม้ว่าน้องทั้งสองจะพัฒนาการช้า แต่ก็เริ่มต้นได้ดี และปัจจุบันนี้เด็ก ๆ ก็สามารถดูแลตัวเองได้ดีมากขึ้น

เช่นเดียวกับการฝึกพูด น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ยังคงต้องเรียนรู้อยู่ทุกวัน เพราะบางคำเด็ก ๆ จะยังเรียงประโยคไม่ถูกต้อง ยังพูดสลับกันอยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็มีหน้าที่ปรับคำให้ถูกต้อง คำไหนผิดเราก็สอนเขาเดี๋ยวนั้นเลย เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ จดจำ และพัฒนาให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

 

 

สิ่งเดียวที่พ่อแม่คาดหวัง คือ อยากให้ลูกใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ

เมื่อได้สอบถามถึงความคาดหวังของ คุณพ่อกิตติพนธ์ และคุณแม่รุ่งนภา แอบตั้งไว้กับลูกชายทั้ง 2 คน คุณพ่อคุณแม่บอกกับเราว่า “อยากให้ลูก ๆ ใช้ชีวิตกับทุกคนในสังคมได้ตามปกติ เพราะทุกวันนี้ตอนพาลูกออกมาข้างนอก ก็มักถูกจ้องมองว่าใส่อะไรอยู่ตรงหู หรือบางครั้งลูก ๆ เองก็ถามพ่อแม่ด้วยความสงสัย ว่าทำไมเด็กคนอื่นไม่ใส่หูเหมือนเขา ซึ่งพ่อแม่เองก็ไม่เคยปิดบังลูก แต่ใช้วิธีบอกเขาตรง ๆ ว่าที่น้องต้องใส่เพราะน้องไม่ได้ยิน แม้ว่าในตอนนี้ลูกทั้ง 2 คน อาจจะไม่เข้าใจอะไรได้มากนัก แต่เมื่อโตขึ้น ก็เชื่อว่าจะเข้าใจ  และใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี”  

 

ขั้นตอนการดูแลรักษา อุปกรณ์ประสาทหูเทียม ในชีวิตประจำวัน 

การดูแลรักษาอุปกรณ์ประสาทหูเทียม มีขั้นตอนหลัก ๆ ที่ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลให้น้อง ๆ ทั้ง 2 คน ดังนี้

  • ก่อนนอน ต้องปิดเครื่องแปลงสัญญาณ และอุปกรณ์เสริมทั้งหมด แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม เพื่อกำจัดคราบสกปรก และความชื้นที่เกิดจากเหงื่อ หรือละอองฝน 
  • เก็บเครื่องแปลงสัญญาณไว้ใน กล่องเก็บอุปกรณ์เสมอ 
  • ทุก 1 เดือน ต้องถอดแบตเตอรี่ออกมาตรวจสอบความสะอาด 
  • ในทุก 2 เดือน ต้องเปลี่ยนก้อนดูดความชื้น
  • ทุก 3 เดือน ต้องเปลี่ยนฝาครอบไมโครโฟน

นอกจากนี้ การนำอุปกรณ์มาล้างทำความสะอาดแบบ Deep Clean ซึ่งจะเป็นการถอดชิ้นส่วน ทำความสะอาดทีละชิ้นจนถึงด้านในตัวเครื่องตามกำหนด จะช่วยทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นของประสาทหูเทียมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นอีกด้วย

 

รู้เร็ว รักษาไว ดูแลด้วยความรัก และความใส่ใจ คือ หัวใจสำคัญ ที่ช่วยให้ลูกรักมีชีวิตที่ดีได้ในวันข้างหน้า

คุณพ่อกิตติพนธ์ และคุณแม่รุ่งนภา ทิ้งท้ายฝากถึงพ่อแม่ และผู้ปกครองที่มีแนวโน้มว่าลูกอาจมีความผิดปกติทางการได้ยิน ไว้อย่างน่าสนใจว่า “สำหรับพ่อแม่อย่างเรา การดูแลเอาใจใส่ทั่วไปยังไม่พอ สิ่งสำคัญ คือ ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ อยู่เสมอ หากพบว่า ลูกมีพัฒนาการแตกต่างจากเกณฑ์ปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองว่าลูกมีปัญหาจริงหรือไม่ โดยเฉพาะความผิดปกติทางการได้ยิน คุณหมอย้ำเสมอว่า ยิ่งพบเร็ว ก็ยิ่งมีโอกาสรักษาและฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ไว เพราะบางกรณี คุณพ่อคุณแม่มารู้ว่า ลูกมีปัญหาทางการได้ยินตอนที่ลูกอายุครบเกณฑ์เข้าโรงเรียน เพราะคุณครูมาบอกว่าเด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบรับใด ๆ ซึ่งหากปล่อยให้ถึงขั้นนั้น อาจจะสายไปแล้ว สำหรับการฟื้นฟูพัฒนาการของลูกให้ทันเด็กคนอื่น ๆ 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการการสนับสนุน เรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาความบกพร่องทางการได้ยินของเด็ก ๆ ก็สามารถขอความอนุเคราะห์จากโครงการ หรือหน่วยงานดี ๆ ที่คอยให้ความช่วยเหลืออยู่หลายหน่วยงาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ขออย่าถอดใจ หรือตัดพ้อท้อแท้กับโชคชะตา จงมีกำลังใจ และจับมือกันเพื่อต่อสู้กับปัญหาเคียงข้างกัน คอยทุ่มเทความรัก ความใส่ใจให้ลูกมากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้ลูกมีอนาคตที่ดีในแบบที่เขาต้องการในวันข้างหน้า”

 

 

มารู้จัก Cochlear ประสาทหูเทียมที่ น้องนดลต์ และน้องนภนต์ สวมใส่

Cochlear (คอคเคลียร์) เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีประสาทหูเทียม ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ประกอบด้วย ประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมแบบนำเสียงผ่านกระดูก และประสาทหูเทียมแบบอะคูสติก โดยมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้ประสาทหูเทียมทุกเพศทุกวัยมากกว่า 600,000 รายทั่วโลก ได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนิวเคลียส ซึ่งได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX)

ในปัจจุบันนี้ คอคเคลียร์มุ่งมั่นในการส่งเสริมให้ประสาทหูเทียม เป็นมาตรฐานในการดูแลรักษา ผู้ที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินในระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับรุนแรง พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการได้ยินอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ “Hear now. And always” (ได้ยินตอนนี้ และตลอดไป) เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถได้ยินเสียงตลอดชีวิต ด้วยการสนับสนุนที่ดีที่สุดจาก คอคเคลียร์

 

ทำความรู้จักกับคอคเคลียร์ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Cochlear Thailand

หรือทาง Line Official Account @CochlearThai

 

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team