แก้ปัญหาอย่างไร? เมื่อ ลูกติดเพื่อน มากเกินไป สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ การที่ลูกของเรามีเพื่อนเยอะ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เพราะนั่นอาจหมายความว่าลูกของเราสามารถเข้ากับคนอื่นและสังคมได้เป็นอย่างดี แต่ถ้ากรณีที่ลูกของเราติดเพื่อนมากเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะส่งต่อลูกของเราได้เช่นกัน สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้และไม่รู้ว่าจะจัดการกับเรื่องนี้ยังไงบ้าง ตามมาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย
พฤติกรรมที่บ่งบอกว่า “ลูกติดเพื่อน”
1. ลูกอยากอยู่กับเพื่อนตลอดเวลา
มากันที่ข้อแรกที่เป็นสาเหตุบอกว่าลูกเราติดเพื่อนมากเกินไปแล้ว นั่นคือไม่ว่าลูกเราจะทำอะไร หรือไปที่ไหนจะต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกที่ทุกเวลา มันอาจเป็นเรื่องที่ดีถ้าเราจะบอกว่าลูกของเราจะได้ปลอดภัยและมีเพื่อนไปด้วย แต่หารู้ไม่ว่าไม่ว่าลูกเราจะทำอะไรก็ตามแล้วให้เพื่อนไปด้วยทุกครั้ง สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้เราลูกของเราขาดความมั่นใจในตัวเองและไม่กล้าลงมือทำอะไรเลย นอกจากเพื่อนคนนั้นทำแล้วลูกของเราค่อยจะทำตาม
2. เอาแต่ใจตัวเอง
แน่นอนว่าเมื่อลูกของเราโตขึ้น เขาก็ต้องได้ออกไปพบเจอกับสิ่งต่าง ๆ ภายนอกมากขึ้น และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจจะส่งผลทำให้เขามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนใจ อาทิเช่น ลูกมีนิสัยที่เอาแต่ใจมากขึ้น อยากได้อะไรก็ต้องได้ โดยเฉพาะเวลาที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่เขาอาจจะเอาแต่ใจตัวเองมากเป็นพิเศษ สิ่งที่ต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะว่าเขามีการเลียนแบบจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและอาจส่งผลไม่ดีต่อลูกเราได้ และถ้าครอบครัวไหนที่มีลูกหลายคนก็อาจส่งผลทำให้พี่น้องทะเลาะกันได้เลย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรต้องใส่ใจลูกและคุยกับเขาด้วยเหตุผลมากขึ้น
3. เพื่อนสำคัญกว่า
ส่วนมากจะเกิดขึ้นกับเด็กที่อยู่ในวัยโตขึ้นมาหน่อย แน่นอนว่าในช่วงที่เขาเป็นเด็ก เขาก็จะชอบเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกันมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่โรงเรียนเขาก็จะได้เจอกับเพื่อนคนอื่น ๆ และได้พูดคุยกับมากขึ้น ยิ่งถ้าคนไหนที่มีความชอบอะไรคล้าย ๆ กัน ก็จะยิ่งสนิทกันมากเป็นพิเศษ และเหตุผลนี้เองที่จะทำให้เขาติดเพื่อนมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราชวนเขาไปไหน หรือทำอะไร เขาก็จะไม่ค่อยอยากไปด้วย หรือถ้าให้เลือกระหว่างครอบครัวกับเพื่อน เขาก็อาจจะเลือกไปกับเพื่อนมากกว่านั่นเอง ดังนั้น เราควรต้องเปิดใจคุยกันกับลูกมากขึ้น เพื่อที่เขาจะได้เข้าใจและให้ความสำคัญกับคนในครอบครัวมากขึ้น
4. มีความหวงเพื่อน
อีกหนึ่งข้อสำคัญที่เรานไม่ควรมองข้าม นั่นคือลูกมีความหวงเพื่อนมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนและลูกของเราอาจจะไปทำเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้น แล้วเมื่อเพื่อนคนนั้นกับลูกของเราถูกแนะนำและตักเตือนในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ลูกของเรากลับโมโหและไม่พอใจที่เพื่อนของตัวเองโดนต่อว่านั่นเอง ดังนั้นถ้าใครที่กำลังพบเจอกับปัญหานี้อยู่เราก็อาจจะต้องอธิบายให้เขาฟังด้วยเหตุผล พร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูกให้เขาทำในสิ่งที่ดีและถูกต้องมากขึ้น
5. ไม่ค่อยอยู่บ้าน
อาจจะเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กที่เรียนพิเศษในวันเสาร์ – อาทิตย์ แต่อาจจะไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับเด็กที่ชอบออกจากบ้านมาเที่ยวกับเพื่อนอยู่บ่อย ๆ เพราะสิ่งนี้กำลังบ่งบอกว่าลูกของเราติดเพื่อนมากจนเกินไปแล้ว โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นผลมาจากการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก และชอบปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวก็เป็นได้ ดังนั้น ถ้าเราอยากให้ลูกติดบ้านและอยู่กับครอบครัวมากขึ้น เราก็ควรจะต้องมีเวลาให้ลูก และพาเขาทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากขึ้น
6. ไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน
เป็นอีกหนี่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะการที่ลูกของเราไม่กล้าปฏิเสธเพื่อนนั่นแสดงว่าลูกของเรากำลังติดเพื่อนคนนี้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าเพื่อนคนนี้จะชวนไปไหน ลูกของเราก็ไม่เคยจะปฏิเสธเพื่อนคนนี้เลยสักครั้ง และเมื่อไหร่ที่เราไปห้ามเขา เขาก็จะโกรธให้เราแบบที่ไม่มีเหตุผลอะไรเลย ดังนั้น เราก็ควรจะต้องค่อยๆ อธิบายให้เขาเข้าใจด้วยเหตุผลว่า ที่เราไม่อยากให้เขาไปเพราะอะไร แล้วเราต้องรู้จักปฏิเสธคนอื่นบ้างในบางครั้งเพราะอะไรนั่นเอง
7. อยากมีส่วนร่วมกับเพื่อน
อีกหนึ่งข้อที่ควรสังเกต นั่นคือลูกของเราชอบทำอะไรตามเพื่อน ไม่ว่าเพื่อนคนนี้จะทำอะไร หรือไปไหนลูกของเราก็จะมีส่วนร่วมด้วยเสมอ คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ไม่รู้ว่าจะต้องแก้ปัญหานี้ยังไง แน่นอนว่าช่วงแรกๆ เราอาจจะต้องค่อย ๆ คุยกับเขา ค่อยดึงเขาออกมาจากเพื่อนคนนั้นในบางครั้งก่อน เพราะถ้าเราไปบังคับเขาสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเรากลายเป็นเด็กที่ไม่มีเหตุผลเอาได้ ส่วนในกรณีที่เพื่อนและลูกของเราพากันไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดีและถูกต้อง เราก็ควรจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนเขาตามไปด้วย
รับมือยังไง “เมื่อลูกติดเพื่อน”
1. ให้ความสำคัญกับลูก
การที่เราจะทำให้ครอบครัวสมบูรณ์แบบและมีความสุขนั้น เราจะต้องให้ความสำคัญกับครอบครัวตัวเองมากขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่เราให้ความสำคัญกับครอบครัว พาลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลาว่าง ลูกก็จะมีความสุขและรู้สึกดีและสบายใจทุกครั้งเมื่อได้อยู่บ้าน สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เขาไม่อยากออกไหน อยากที่จะอยู่บ้านมากกว่านั้นเอง
2. รับฟังความคิดเห็นลูกมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่บางคนที่เมื่อเจอกับปัญหาเหล่านี้ ก็อาจจะมีช่วงที่ดุและตักเตือนลูกโดยไม่ได้ใช้เหตุผลในการตักเตือน หรืออาจจะไปบังคับลูกมากเกินไปจนส่งผลทำให้เขาเข้าใจเราผิด และไม่ได้คิดว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นเพราะเราเป็นห่วงเขา ดังนั้นถ้าเราอยากให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป เราก็ต้องเปิดใจและรับฟังความคิดเห็นของลูกว่าสิ่งที่เขาทำไปนั้น ทำไปเพราะอะไร และเหตุผลอะไร ถ้ากรณีที่ลูกทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราก็ต้องตักเตือนและแนะนำให้เขาทำในสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้น
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก
เมื่อรู้ว่าลูกของเรากำลังทำในสิ่งที่ไม่ดีและไม่ถูกต้อง จนทำให้คุณพ่อคุณแม่ผิดหวังและเสียใจเป็นอย่างมาก มันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเราที่ต้องพยายามเข้าใจลูกและไม่ต้องเสียใจในสิ่งที่ลูกทำลงไป แต่เมื่อไหร่ที่เขากำลังทำในสิ่งที่ผิดพลาด ใช่ว่าเขาจะไม่สามารถกลับมาเป็นคนดีได้อีกครั้ง ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าเขากำลังทำในสิ่งที่ผิดพลาด เราก็ควรที่จะต้องดูแลและใส่ใจเขาให้มากเป็นพิเศษ พร้อมคอยให้กำลังใจเขา ให้เขากลับมาทำในสิ่งที่ถูกต้องและเริ่มต้นได้ใหม่อีกครั้ง
4. ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ
เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ลูกของเราไม่ติดเพื่อนมากจนเกินไป นั่นคือการหากิจกรรมต่าง ๆ ให้ลูกทำ เพราะการที่เด็กได้ทำอะไรต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ เขาก็จะมีความสนใจในสิ่งนั้นมากขึ้น แถมยังจะช่วยให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองและมีความมั่นใจ กล้าแสดงออกมากขึ้นตามไปด้วย
สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังเจอกับปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะต้องดูแลและให้เวลากับเขามากขึ้น เพราะการที่เด็กติดเพื่อนมันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายเสมอไป ถ้าเราอธิบายและสอนเขาให้เข้าใจด้วยเหตุผล เชื่อว่าไม่ว่าเมื่อเขาเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่และได้ออกสู่สังคมภายนอกมากขึ้น ไม่ว่าเขาจะต้องเจอกับใครบ้าง หรือไม่ว่าแต่ละคนมีนิสัยอย่างไร เขาก็จะสามารถปรับตัวได้และอยู่ในสังคมได้ด้วยตัวเองอย่างแน่นอน
บทความที่น่าสนใจ : ลูกเล่นกับสัตว์เลี้ยง มีดีกว่าที่คิด ประโยชน์จากการให้ลูกเล่นหมาแมวที่พ่อแม่ควรรู้!
ชวนลูกเล่น กระตุ้นพัฒนาการ ได้ออกกำลังกาย ช่วยให้สบายท้อง