ลูกกินยาแล้วอาเจียนควรทำอย่างไร ฟังคำตอบจากคุณหมอ

เมื่อลูกไม่สบาย ลูกกินยาแล้วอาเจียนควรทำอย่างไร หากลูกอาเจียนหลังกินยาควรให้ยาซ้ำหรือไม่ เราสามารถป้องกันอาการอาเจียนหลังกินยาได้อย่างไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกกินยาแล้วอาเจียนควรทำอย่างไร

เมื่อลูกไม่สบาย นอกจากปัญหาเรื่องความเจ็บป่วยของลูกแล้วคุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจเคยประสบปัญหาลูกกินยาแล้วอาเจียน สงสัยใช่ไหมคะว่าเป็นเพราะอะไร และหาก ลูกกินยาแล้วอาเจียนควรทำอย่างไร?

ลูกกินยาแล้วอาเจียนเป็นเพราะอะไร?

หากลูกมีอาการอาเจียนหลังจากกินยาเข้าไปทันทีหรือภายในเวลาไม่นาน มักมีสาเหตุจากพฤติกรรมต่อต้านของลูกเอง หรือลูกไม่ชอบรสชาติของยาค่ะ  เนื่องจากเด็กเล็กวัย 1-3 ขวบเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบต่อต้านผู้ใหญ่อยู่แล้ว เวลาจะป้อนยาครั้งหนึ่งบางคนร้องไห้ และดิ้น หนี ไม่หยุด ต้องใช้คนช่วยจับกันรอบบ้าน บางคนเมื่อป้อนได้แล้วก็อาเจียน บ้วนออกมาทันที คุณพ่อคุณแม่บางท่านปวดหัวจนอยากให้คุณหมอฉีดยามากกว่าป้อนยาที่บ้านซะอีก ถ้าเด็กกำลังร้องไห้ขณะป้อนยาอาจทำให้เกิดการสำลักหรืออาเจียนยาออกมาได้ค่ะ แต่หากปกติลูกกินยาง่ายแต่มีอาเจียนทันทีหลังกินยาชนิดใดชนิดหนึ่งอาจเป็นเพราะลูกไม่ชอบรสชาติของยานั้นจึงบ้วนออกมาก็ได้ค่ะ

หากลูกมีอาการอาเจียนหลังจากกินยาเข้าไปนานสักระยะหนึ่ง อาจเป็นเพราะผลข้างเคียงของยาเองที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร หรือทำให้คลื่นไส้อาเจียนค่ะ

ลูกกินยาแล้วอาเจียนควรทำอย่างไร

หากลูกอาเจียนหลังกินยาควรให้ยาซ้ำหรือไม่?

ถ้าลูกมีอาการอาเจียนหลังจากกินยาเข้าไปทันที เราสามารถป้อนยาซ้ำได้เพราะยาที่เข้าไปแล้วถูกอาเจียนออกมาอย่างรวดเร็วจึงยังมิได้ดูดซึมเข้าไปในร่างกายค่ะ แต่หากให้ยาแล้วต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งจึงมีอาการอาเจียนก็ไม่ต้องป้อนยาซ้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับยาเกินขนาดเพราะอาจมีการดูดซึมของยาเข้าไปบางส่วนแล้วค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เราสามารถป้องกันอาการอาเจียนหลังกินยาได้อย่างไรบ้าง?

อาการอาเจียนที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมต่อต้านของลูกเองหรือรสชาติของยา คุณพ่อคุณแม่อาจป้องกันได้โดยผสมยากับน้ำหวานหรือน้ำผลไม้เพื่อให้มีรสชาติดีขึ้นค่ะ วิธีการป้อนให้ง่าย ๆ อาจลองใช้หลอดดูดยาค่อย ๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้มเด็กข้างใดข้างหนึ่ง หากลูกยังต่อต้านมากคงต้องขอแรงสมาชิกคนอื่นในบ้านช่วยกันห่อตัวหรือจับตัวเด็กไว้ไม่ให้ดิ้น แล้วจึงค่อย ๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้ม

ไม่ควรผสมยาหลายชนิดเข้าด้วยกันและป้อนในทีเดียวนะคะเพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาชนิดต่าง ๆ โดยยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเด็ก หรือยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์ลดลงทำให้การรักษาไม่ได้ผลค่ะ

อาการอาเจียนจากผลข้างเคียงของยาเองที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองของกระเพาะอาหารสามารถป้องกันได้โดยป้อนยาหลังอาหารทันทีหรือพร้อมกับอาหาร หากเป็นเพราะผลข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน คุณพ่อคุณแม่ควรแจ้งให้คุณหมอทราบเพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาหรือพิจารณาให้ยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าลูกกินยาไปสักพักแล้วอาเจียนต้องป้อนยาใหม่มั้ย

คำตอบคือ
1) ต้องป้อนซ้ำ กรณีหลังป้อนแล้วอาเจียนทันที (ไม่ใช่แหวะเพียงเล็กน้อย) ให้ป้อนยาในปริมาณเดิมซ้ำหลังลูกหายอาเจียนแล้ว
2) ไม่ต้องป้อนซ้ำ กรณีที่ลูกอาเจียนหลังป้อนยาผ่านไปนานเกินครึ่งชั่วโมง ให้งดยามื้อนั้นไป แล้วป้อนตามเวลาที่แพทย์กำหนดครั้งต่อไป
เพราะยาบางส่วนอาจดูดซึมไปบ้างแล้ว หากป้อนยาซ้ำ อาจทำให้ลูกได้รับยาเกินขนาดได้
#ทำไมเด็กถึงอาเจียนหลังกินยา

1) ไม่ชอบรสชาดของยา หรือกลิ่นของยา
2) เทคนิคการป้อนยาไม่ดี ทำให้รสยาสัมผัสกับบริเวณโคนลิ้น เกิดปฏิกิริยาการขย้อนและอาเจียนออกมา
3) บังคับหรือกดดันลูกมากเกินไปขณะป้อนยา
#เทคนิคการป้อนยาให้สำเร็จทุกครั้ง

1) เริ่มต้นจากพ่อแม่ ต้องมีความรู้สึกดีตั้งแต่ครั้งแรกที่ป้อนยา ให้ยาด้วยท่าทีที่สงบนิ่ง มั่นใจ ไม่ข่มขู่คุกคาม เพราะจะทำให้ลูกกลัวมากขึ้น
ถ้าเป็นเด็กที่พูดรู้เรื่องให้อธิบายว่า ทำไมต้องกินยา อาจให้เลือกว่าอยากกินจากช้อนหรือไซริงก์ อยากกินเองหรือไม่
2) วิธีป้อนยาด้วยไซรินจ์หรือหลอดฉีดยา
แนะนำให้อุ้มลูกในท่านั่ง หรือกึ่งนั่งกึ่งนอน เพื่อป้องกันสำลัก ฉีดยาเข้าไปตรงกระพุ้งแก้มครั้งละ 0.5-1 ซีซี
อย่าฉีดเข้าไปกลางปาก จะทำให้บ้วนออกมาง่าย และพยายามอย่าให้สัมผัสโคนลิ้น เพราะเป็นตำแหน่งรับรสขม และกระตุ้นให้ลูกอาเจียนหลังกินยาได้
3) เตรียมแก้วน้ำหรือเครื่องดื่มที่ชอบไว้ล้างยาที่ตกค้างในปาก.
4) ในกรณีที่เป็นเด็กโต (อายุ 5 ขวบขึ้นไป) การกินเป็นยาเม็ดอาจจะดีกว่า เพราะจะได้ไม่สัมผัสโดนรสขมของยา
.ปริมาณยาน้อยกว่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และที่สำคัญ ราคาถูกกว่าและเก็บรักษาง่ายกว่า
.สุดท้ายนี้ หมออยากบอกว่า ธรรมชาติของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนกินยาง่าย บางคนกินยายาก ไม่มีใครผิดปกติ
.เด็กที่กินยาง่าย ก็มีปัญหาอีกแบบหนึ่งค่ะ คือ ไม่ได้ป่วยแต่ร้องขออยากจะกินยา แบบนี้ก็อันตรายไปอีกแบบค่ะ
.ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ชื่นชมความร่วมมือของลูก แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย เพราะนี่จะเป็นกำลังใจให้ลูกทำได้ดีขึ้น และให้ความร่วมมือมากขึ้นในครั้งต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกกินยายากทำอย่างไรดี

ยากับเด็กมักจะเป็นเรื่องที่หนีกันไม่พ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่งเด็กก็ต้องมีโอกาสได้กินยาแน่ เด็กที่ไม่ค่อยป่วยก็ยังมีโอกาสต้องกินยาเหมือนกัน นั่นคือเด็กทุกคนต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตามเวลาที่กำหนด และหลังฉีดวัคซีนบางชนิด เด็กจะมีไข้อยู่ราว 1-2 วัน ซึ่งทำให้เขาต้องกินยาลดไข้ คุณพ่อคุณแม่บางคนที่มีลูกกินยาง่าย ก็นับว่าคุณพ่อคุณแม่โชคดี บางครั้งหมอได้มีโอกาสเห็นคุณแม่ป้อนยาลูก เห็นคุณแม่ดูดยาใส่หลอดฉีดยาที่ไม่มีเข็ม แล้วลูกก็อ้าปาก คุณแม่ก็ใส่ยาเข้าในปากลูก แล้วดูดน้ำอีกหนึ่งหลอดฉีดยาแล้วใส่ตามเข้าไป เท่านี้ก็เรียบร้อย หมอเห็นแล้วยังนึกอิจฉาคุณแม่ท่านนั้นจริงๆ ที่มีลูกกินยาได้ง่ายมาก แต่เด็กที่กินยาง่าย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวังอย่าวางขวดยาไว้ในที่ลูกหยิบถึง มิฉะนั้น ลูกอาจหยิบยามากินแทนขนมได้   สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ซึ่งกินยายาก หมอมีหลายวิธีที่จะแนะนำวิธีหนึ่ง อาจใช้ได้กับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจใช้ไม่ได้กับเด็กอีกคนหนึ่ง ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักเลือกวิธีป้อนยาที่เหมาะสำหรับลูกเรามากที่สุด    ในเด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน เราอาจใช้วิธีใส่ยาลงในจุกนมยางที่ลูกใช้ดูดนมหรือน้ำเป็นประจำ โดยถอดจุกออกจากขวด แล้วใส่ยาในปริมาณที่ต้องการลงไป แล้วนำจุกนมไปใส่เข้าในปากลูก ในเด็กเล็กๆ เวลามีอะไรอยู่ในปากเขาจะดูดเสมอ ลูกก็จะดูดยา และกลืนยาเข้าไป แต่เมื่อยาหมดแล้วต้องรีบเอาจุกนมออกจากปากลูกนะคะ มิฉะนั้นลูกอาจจะดูดลมเข้าไปในกระเพาะมาก ทำให้อึดอัดและแหวะนมได้    สำหรับเด็กที่โตขึ้นมา อายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ถ้าคุณแม่ใช้ช้อนยาป้อนลูกแล้วลูกไม่ยอมกิน อาจลองเปลี่ยนมาใช้วิธีป้อนยา โดยหลอดฉีดยาพลาสติกที่ไม่มีเข็ม ซึ่งมีหลายขนาด ให้ถูกกับปริมาณยาที่จะป้อน หลอดฉีดยาพลาสติกนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 1 ซีซี 2 5 ซีซี และ 10 ซีซี หรืออาจใช้หลอดหยดยาก็ได้ ซึ่งหลอดหยดยาหรือดรอฟเปอร์นี้ มักเป็นขนาด 1 ซีซี เท่านั้น ถ้าต้องกินยา 5 ซีซี 1 ช้อนชา ก็ต้องดูดมาป้อน รวม 5 ครั้ง เมื่อดูดยาเข้าหลอดเรียบร้อยแล้ว ก็จับลูกนอน คุยกับลูก อาจให้คุณพ่อถือของเล่นอยู่ข้างๆ แล้วค่อยๆ หยดยาในหลอดเข้าไป บริเวณกระพุ้งแก้มด้านใดด้านหนึ่งช้าๆ อย่าหยดยาเข้าปากอย่างเร็ว ลูกอาจขัดขืนได้ ลูกจะค่อยๆ กลืนยาเข้าไป การที่จะตั้งหน้าตั้งตาป้อนยาให้เสร็จอย่างรวดเร็วในเด็กเล็กๆ คงทำได้ยาก เพราะเด็กวัยนี้จะห่วงเล่น ถ้าเรายอมให้ลูกเล่นไปด้วย ป้อนยาไปด้วย เด็กจะยอมรับยาได้มากขึ้น ท่าทีของคนป้อนยาสำคัญมาก ต้องอดทนค่อยๆ ป้อน ถ้ามีการขู่บังคับเด็กจะขัดขืนมาก จะทำให้ป้อนไม่ได้ หรืออาจจะสำลักยาเข้าปอดหรืออาเจียนได้ หลอดฉีดยาแบบพลาสติกนี้ เมื่อใช้ไปนานๆ ตัวเลขอาจจะเลือนไปได้ ถ้าคุณแม่มองตัวเลขไม่ชัด ควรเปลี่ยนอันใหม่ดีกว่า มิฉะนั้นอาจจะให้ปริมาณยาแก่ลูกผิดได้ค่ะ  เด็กบางคนกินยาบางชนิดได้ แต่พอให้กินชนิดอื่นกลับไม่ยอมกิน ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสชิมยาของลูก จะพบว่า ยาที่ลูกยอมกินนั้นมักจะมีรสชาติ บางชนิดอร่อยมากเหมือนน้ำองุ่น แต่ยาบางชนิดจะรสชาติไม่ดี ซึ่งมักจะเป็นยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ หรือยาขยายหลอดลม ยาจำพวกนี้ตัวยาเองจะมีรสไม่อร่อย แม้ทางบริษัทยาจะปรุงแต่งรสให้อร่อยขึ้นอย่างไรก็จะไม่สามารถกลบรสเดิมของยาไปได้ ทำให้กลายเป็นยาที่ไม่อร่อย เด็กไม่ชอบกิน ซึ่งถ้าลูกของคุณไม่ยอมกินยาดังกล่าว เราอาจลองเจือจางยาด้วยน้ำต้มสุกเล็กน้อย เพื่อให้รสอ่อนลง แล้วอาจจะใส่ขวดให้ลูกดูดให้หมดในครั้งเดียว หรืออาจผสมในน้ำผลไม้ก็อาจจะกลบรส และกลิ่นของยาลงได้บ้าง สำหรับเด็กโตที่ไม่อยากให้ดูดจากขวด อาจเติมน้ำเขียว หรือน้ำแดงชนิดเข้มข้นลงไปสักเล็กน้อย เพื่อให้รสหวานขึ้น เด็กๆ มักชอบรสหวาน ฉะนั้น การเสริมรสหวานลงไปก็จะทำให้เด็กสามารถกินยานั้นได้

ที่มาจาก : https://www.facebook.com/hormoneforkids/photos/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เมื่อไหร่ถึงจะตีลูกได้ ลูกต้องอายุเท่าไร จึงทำโทษได้โดยการตี

กินยาอย่างไรถึงหายป่วย?

ลูกกลัวโรงพยาบาล ทำไงดี?