ตอนนี้มีคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนเริ่มแยกห้องนอนกับลูก ๆ แล้วบ้างคะ ถ้าใช่ แล้วละก็ กำลังประสบปัญหาอะไรกวนใจอยู่หรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น”ปัญหาลูกไม่ยอมนอนคนเดียว” เป็นต้น
ปกติแล้ว การพาลูก ๆ เข้านอนย่อมเป็นเป็นหน้าที่ของคุณพ่อและคุณแม่อยู่แล้ว และกิจกรรมสุดโปรดก่อนนอนก็คือ การอ่านหนังสือ อ่านนิทาน หรือร้องเพลงให้ลูกฟัง จริงไหมคะ
แต่หลังจากนั้นละ !! “โถ่ ลูกนอนเสียทีเถอะ … พ่อแม่ง่วงเหลือเกินแล้ว นอนคนเดียวไม่น่ากลัวอย่างที่คิดหรอก” ถ้านี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เคยคิดหรือพูดกับลูกทุก ๆ คืนแล้วละก็ ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เรามีคำแนะนำดี ๆ ที่มีประโยชน์มาฝากกัน
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนเลยค่ะ ว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรทำและไม่ควรทำ ในช่วงเวลาที่เราต้องการฝึกให้ลูกนอนคนเดียว
1. หากเป็นไปได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ล็อคประตูห้องนะคะ เพราะถ้าหากเราล๊อค นั่นจะเป็นสิ่งที่ทำให้พวกรู้สึกกลัวมากขึ้น
2. หากลูกของคุณร้องไห้งอแง เพราะไม่อยากนอนคนเดียว สิ่งที่คุณไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ทำโทษลูก ๆ
3. วิธีนี้ไม่แนะนำมากเท่าไร เพราะถ้าคุณทำ แน่นอนว่าเดือนนึงคุณจะต้องสูญเสียเงินจำนวนมากแน่ ๆ ก็ลองคิดดูสิคะ การติดสินบนลูก ๆ ทุก ๆ วันตลอดสามสิบวัน อะไรจะเกิดขึ้น
4. ในบางครั้งการบอกลูกไปตรง ๆ ว่านอกจากแม่จะต้องดูแลลูกแล้ว แม่ก็ต้องทำหน้าที่ภรรยาที่ดีให้กับพ่อของลูกด้วยเหมือนกัน ลูก ๆ โตแล้ว ต้องสามารถที่จะนอนคนเเดียวเองได้แล้ว จริงอยู่ที่การพูดในลักษณะนี้อาจจะดูแรง แต่เราก็ควรที่จะทำบ้าง เพื่อตัวของเขาเอง
5. ถ้าหากวันไหนคุณรู้สึกเหนื่อยมาก ๆ ก็นอนกับลูก ๆ เลยก็ได้นะคะ ลูกก็จะได้รู้สึกดีใจไปด้วย อย่าลืมนะคะว่าเราก็เป็นมนุษย์คนนึงเหมือนกัน
คลิกเพื่ออ่านบทความได้ที่น่าถัดไปค่ะ
อีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรทำในทุก ๆ คืนก่อนนอนก็คือ
– การบอกลูก ๆ ว่า “คุณไม่ได้ทิ้งพวกเขาไปไหน คุณจะกลับมาอีกภายในสิบห้านาที” และคุณก็ต้องทำเช่นนั้นจริง ๆ ในครั้งแรก ลูก ๆ จะได้รู้สึกว่า แม่ของเพวกเขากลับมาจริง ๆ พวกเขาจะได้รู้สึกปลอดภัย “และหลังจากนั้นฉันก็จะบอกกับลูก ๆ ว่า ไม่ต้องห่วงนะจ้ะ เพราะแม่จะกลับมาหาลูก ๆ อีกครั้งในตอนเช้า หรือเมื่อขึ้นมาลูก ๆ จะเห็นแม่เป็นคนแรกแน่ ๆ จ๊ะ”
– และทุก ๆ วัน ในตอนเช้า ประโยคแรกที่คุณควรใช้สำหรับทักทายกับลูก ๆ ก็คืออ “พวกหนูเก่งมาก ๆ เลยจ้ะรู้ไหม แม่เห็นน๊า พวกหนูนอนหลับกันปุ๋ยเลยละ”
การฝึกให้ลูก ๆ เข้านอนได้เอง โดยการนอนแยกห้อง เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ โดยวิธีการที่กล่าวมาในข้างต้น อาจจะไม่ได้สามารถใช้ได้กับเด็กทุก ๆ คน นั่นเป็นเพราะเด็กแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน และคนที่จะเข้าใจลูก ๆ มากที่สุดก็คือคุณนั่นแหละค่ะ
และถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหน มีวิธีการดี ๆ ก็สามารถแบ่งปันให้กับคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นบ้างก็ได้นะคะ
ที่มา: Washington Post
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
7 สิ่งที่คุณแม่ทำได้ เมื่อลูกหลับ
ลูกนอนไม่เป็นเวลาจะส่งผลเสียอย่างไร