ลูกกินแต่ขนมไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี
ลูกกินแต่ขนมไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี เพราะลูกไม่ยอมกินข้าวแบบนี้ เล่นเอาพ่อแม่ปวดหัวกันอย่างมาก การเลือกกินเป็นเรื่องปกติของลูกน้อยวัยหัดเดิน และมักจะชอบแสดงพฤติกรรมปฎิเสธอาหาร ไม่ยอมกินข้าว ไม่กล้าลองอาหารใหม่ ๆ ไม่สนใจอาหารที่ชอบ อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร มีวิธีแก้อย่างไรบ้าง เรามีเคล็ดการเลี้ยงลูกวัยหัดเดินมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ
สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าว
เด็กวัยนี้ เริ่มที่จะจู้จี้จุกจิกมากขึ้น เนื่องจากพวกเราเริ่มที่จะเรียนรู้การควบคุมตนเอง เริ่มมีความคิดของตัวเองมากขึ้น และเริ่มเรียนรู้การทำอิสระตามใจ ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่า ลูกน้อยวัยนี้เอาใจยากมากขึ้นนั้นเองค่ะ สิ่งเดียวที่พ่อแม่จะทำได้ คือ การเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ให้ลูกน้อยได้ลองทาน และฝึกลักษณะนิสัยที่ดีต่อการกินให้กับลูกน้อย เพราะอาหารและโภชนาการที่ลูกน้อยกินเข้าไปนั้น ย่อมส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีในอนาคตอย่างแน่นอน
ทำอย่างไรให้ลูกกินข้าว
พ่อแม่หลาย ๆ คนพยายามทุกวิธีทาง เพื่อให้ลูกกินข้าว แต่ลูกน้อยกลับไม่ยอมกินข้าวแม้แต่น้อย หรือบางคนกินแค่ 2-3 คำก็อิ่มแล้ว จากนั้น ก็หันไปกินขนมขบเคี้ยวแทน หากบ้านไหนที่ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกยอมกินข้าวได้ ดังวิธีต่อไปนี้
1. ใจเย็น ๆ ให้ลูกได้ลองอาหารใหม่ไปเรื่อย ๆ
จากงานวิจัยระบุว่า พ่อแม่อาจจะลองอาหารเมนูอาหารใหม่ๆ 10 – 15 ครั้ง เด็กถึงจะยอมรับ เพื่อดูว่าลูกน้อยชอบกินอะไร ไม่ชอบกินอะไร กฎง่าย ๆ คือ ให้ลูกได้ลองอาหาร 1 ช้อนโต๊ะสำหรับอาหารใหม่ 1 ชนิด สำหรับเด็กเล็ก หากเด็กโตก็ให้ทานอาหารในปริมาณที่มากขึ้นค่ะ
2. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร
เวลาที่พ่อแม่ไปจ่ายตลาด หรือไปเลือกซื้อของ อาจจะให้ลูกน้อยได้เห็นอาหารแบบต่าง ๆ ให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร พยายามให้ลูกน้อยมีส่วนร่วมในการทำอาหารของตนเองให้ได้มากที่สุด วิธีนี้จะทำให้ลูกน้อยอยากกินอาหารฝีมือตัวเองได้ค่ะ
3. เติมความสนุกให้อาหาร
คุณอาจจะลองใส่ความคิดสร้างสรรค์ หรือจินตนาการลงไปที่จานอาหาร เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสนใจที่จะกินอาหาร อย่างเช่น ทำอาหารแต่ละมื้อให้มีสีสันสดใส ใช้จาน ใช้ช้อนน่ารัก ๆ หรือจะแต่งอาหารตามตัวการ์ตูนที่น้อง ๆ ชื่นชอบค่ะ หรืออาจตั้งชื่อเมนูอาหารพิเศษสำหรับหนูน้อย
4. ลองให้ลูกได้มีทางเลือก
บ่อยครั้งที่พ่อแม่มักจะทำอาหารเมนูเดียวให้ลูกทาน บางคนพอรู้ว่าลูกกินอะไรได้ ก็จะทำแต่เมนูนั้นซ้ำ ๆ ทำให้กลายเป็นว่าลูกเบื่ออาหารที่กินประจำไปอีก ซึ่งเมื่อไหร่ที่ลูกไม่ทานอาหารขึ้นมา คุณอาจทำอาหาร 2 เมนู เพื่อให้ลูกได้เลือกทานอาหารที่อยากทานได้ค่ะ
5. เติมอาหารใหม่ ใส่รวมกับอาหารเก่า
สำหรับวิธีนี้ พ่อแม่อาจนำอาหารใหม่ ๆ ที่อยากให้ลูกได้ทาน นำไปเสิร์ฟควบคู่กับอาหารที่ลูกทานประจำ หรือเมนูอาหารจานโปรด เพื่อให้ลูกน้อยได้ลิ้มลองรสอาหารใหม่ ๆ ดูบ้าง โดยค่อย ๆ เริ่มทีละนิด ๆ ค่ะ
6. ปล่อยให้ลูกน้อยเลอะเทอะบ้าง
สำหรับคุณแม่บ้านที่ต้องดูแลทั้งงานบ้าน ลูกน้อย และยังต้องดูแลสามีอีก ถือว่าเป็นงานหนักพอสมควร หากปล่อยให้ลูกกินเลอะเทอะ ก็เหมือนจะเป็นการเพิ่มงานให้คุณแม่ แต่การที่ให้ลูกได้ทานเลอะเทอะ อาจช่วยให้ลูกกินข้าวได้มากยิ่งขึ้น เช่น พ่อแม่อาจนำผัก หรือ ผลไม้ให้ลูกได้จิ้มกับโยเกิร์ต หรือน้ำซอสสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าสนุกกับการกินมากขึ้นค่ะ
7. กินให้ดูเป็นตัวอย่าง
เด็กบางคนชอบที่จะเลียนแบบผู้ใหญ่ บางครั้งเขารู้สึกว่า อาหารตัวเองไม่เหมือนกับพ่อแม่ จึงอยากกินตาม หากพ่อแม่ไม่ยอมกินผักก็มักจะส่งผลให้ลูกไม่ยอมกินผักตาม ดังนั้น ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นคนกินง่าย ต้องกินเป็นตัวอย่างให้กับลูกค่ะ
8. บอกให้ลูกเตรียมตัวกินข้าว
เด็กบางคนติดเล่น พอเล่นจนเหนื่อยก็ไม่ยอมทานข้าว ดังนั้น พ่อแม่อาจต้องให้ลูกหยุดเล่นก่อนจะถึงเวลามื้ออาหารประมาณ 15 นาที เพื่อที่ให้ลูกได้เตรียมตัวกินข้าวในแต่ละมื้อค่ะ
9. พยายามให้ลูกกินตรงเวลา
เมื่อพ่อแม่ให้ลูกทานข้าวตรงเวลาทุกครั้งจนติดเป็นนิสัย เด็ก ๆ ก็จะรู้สึกหิวเองว่า ถ้าถึงเวลานี้ คือเวลากินข้าวแล้วนะ ที่สำคัญ ก่อนกินข้าวอย่าให้ลูกกินขนมขบเคี้ยวก่อนเป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้ลูกอิ่มขนม และไม่อยากทานอาหารมื้อหลัก ซึ่งเป็นมื้อที่สำคญต่อสุขภาพของลูก ๆ มากกว่า
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา: familydoctor
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ตารางอาหารทารกขวบปีแรก ลูกน้อยในแต่ละวัยควรกินอะไร เท่าไหร่ ถึงจะพอดี?
แพ็กเกจวัคซีนเด็ก 2561 ราคาวัคซีนเหมาจ่าย ของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ
ปราพยศวัยทอง 2 ขวบ ใช้ time out ทำไมไม่ได้ผล? จับลูกเข้ามุม ทำไมลูกยิ่งดื้อ