เช็คเงินสงเคราะห์บุตร ปี 2567 เข้าตอนไหน เช็คได้ยังไง ?

“เงินสงเคราะห์บุตร” หากผู้ประกันตนคนไหนมีลูกและมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด และไม่ควรพลาดอย่างยิ่งในการขอรับเงินก้อนนี้ แล้วเงินที่ว่า คืออะไร มีเงื่อนไขยังไง จะเข้าเช็คเงินสงเคราะห์บุตรได้ที่ไหน ไปหาคำตอบกันในบทความนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับคุณแม่ผู้ใช้สิทธิที่ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม เมื่อคลอดบุตรแล้วสามารถใช้สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบได้ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม เงินประกันสังคมที่หลายๆ คนจ่ายไว้ นอกจากจะยังคุ้มครองคนจ่ายแล้ว ยังให้สิทธิถึงลูกๆ ด้วย หรือที่คุ้นหูกันว่า “เงินสงเคราะห์บุตร” หากคุณแม่ผู้ประกันตนคนไหนมีลูก ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งในการขอรับเงินก้อนนี้ แล้วเงินที่ว่า คืออะไร มีเงื่อนไขและจะ เช็คเงินสงเคราะห์บุตร ได้ยังไงนั้น ไปหาคำตอบกัน

 

เงินสงเคราะห์บุตรคืออะไร

เงินสงเคราะห์บุตร คือสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างประจำ) มาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3) ที่จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยจะได้รับเป็นเงินช่วยเหลือเด็กเดือนละ 800 บาท จากประกันสังคม และสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 3 คน และคุณแม่สามารถเข้าเช็คเงินสงเคราะห์บุตรได้เอง

 

 

เชื่อว่า พ่อแม่หลายคน โดยเฉพาะ “พ่อแม่” มือใหม่ น่าจะมีความสงสัยว่า ระหว่าง “เงินสงเคราะห์บุตร กับ เงินอุดหนุนบุตร เหมือนกันไหม” เป็นสิทธิประโยชน์ อันเดียวกันหรือไม่ ซึ่งจริงๆ แล้วสำหรับทั้ง 2 โครงการ จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยเงินสงเคราะห์บุตรนั้นจะได้เดือนละ 800 บาท ส่วนเงินอุดหนุนบุตรนั้นจะได้เดือนละ 600 บาท นอกจากนี้ เงื่อนไขในการขอรับสิทธิ ที่เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน

ความแตกต่างระหว่าง เงินสงเคราะห์บุตร VS เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

เงินสงเคราะห์บุตร เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
ผู้ที่ได้สิทธิ ผู้ประกัน ม.33, ม.39, ม.40 (ทางเลือกที่ 3) ประชาชนทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อคน

ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
จำนวนเงิน 800 บาท (200 บาทสำหรับผู้ประกันตน ม.40 /

ทางเลือกที่ 3)

600 บาท
จำนวนบุตร ที่ขอใช้สิทธิ / 1 ครั้ง 3 คน/ครั้ง ไม่จำกัด
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3)
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
  • มีบุตรตามกฏหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • มีบุตรแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน
  • หากพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร ได้เพียง 1 สิทธิ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เงินสงเคราะห์บุตร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  • กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
  • กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ใช้สำเนาสูติบัตรบุตร จำนวน 1 ชุด
  • กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ใช้สำเนาสูติบัตรบุตร พร้อมสำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตรที่ชอบด้วยกฏหมาย จำนวน 1 ชุด 
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
  • กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ

*เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

วิธีการยื่นเรื่องขอเพื่อรับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

  • กรอกแบบฟอร์ม สปส.2-01 แล้วลงลายมือชื่อ เสร็จแล้วให้นำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน หรือส่งผ่านไปรษณีย์ (หากต้องการยื่นคำขอสำหรับบุตร 3 คนพร้อมกัน สามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
  • รอเจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและอนุมัติ
  • รอหนังสือแจ้งผลการพิจารณาส่งกลับจากสำนักงานประกันสังคม
  • เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว จะมีการจ่ายเงินเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • สามารถยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Self service กองทุนประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th เมนู “บริการด้วยตนเองผ่านระบบ e-Self Service” (ยกเว้น การยื่นขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมไม่สามารถยื่นเรื่องผ่านระบบe-Self serviceได้)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

เช็คเงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่ไหนบ้าง

สามารถ เช็กเงินประกันสังคม ได้ทั้งทางแอปพลิเคชัน SSO Connect และเว็บไซต์ของประกันสังคม หรือแอปพลิเคชันธนาคารที่ใช้ยื่นรับสิทธิ

1. เว็บไซต์ประกันสังคม

  • ล็อกอินเข้าสู่ระบบสมาชิก ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม
  • จากนั้นไปที่เมนู การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
  • จะพบหน้าจอแสดงรายการการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร

2. แอปพลิเคชัน SSO Connect (iOS / Google play)

  • ดาวโหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect แล้วเข้าสู่ระบบประกันสังคม
  • ไปที่เมนู เบิกสิทธิประโยชน์
  • หน้าจอจะแสดงรายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร

3. แอปพลิเคชันธนาคาร

  • เช็กเงินเข้าจากแอปพลิเคชันธนาคารที่แจ้งไว้ เมื่อเงินเข้าก็จะได้รับแจ้งเตือนทันที

 

เมื่อคุณแม่ผู้ประกันตนได้ทราบถึงเงื่อนไข คุณสมบัติ ขั้นตอนการขอยื่นรับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร รวมถึงมีความเข้าใจถึงความแตกต่างของเงินสงเคราะห์บุตรและสวัสดิการเด็กอื่น ๆ แล้ว ก็เตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อที่จะไม่พลาดการรับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรไป หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่รับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรแล้ว สามารถลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตร เช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตร และตรวจสอบเงินอุดหนุนบุตรเพิ่มเติมได้ หากครอบครัวมีฐานะยากจนและมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์โครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดเพิ่มเติมได้

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม , Info Protal

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์เด็ก ต่างกันยังไง ฉบับอัปเดต 2567

ออมเงินให้ลูก ปี 2567 ธนาคารไหนเด็ด! ดอกเบี้ยสูง

10 อันดับ โรงเรียนมัธยมต้นในกทม. ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ปี 2567

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

yaowamal