ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง? นัดตรวจครรภ์ทุกไตรมาส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับเหล่าคุณแม่ด้วยนะคะ แน่นอนว่าคุณแม่ก็ต้องไปตรวจร่างกายเพื่อดูแลสุขภาพของเราและลูกน้อยกันต่อไป ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ครบทุกไตรมาส คนท้องต้องตรวจอะไรบ้าง ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด แม่ท้องต้องตรวจให้ครบ เพื่ออะไร? และมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามไตรมาสอย่างไรบ้าง? ไปดูพร้อมกันเลย

 

ทำไมต้อง ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ?

ในการดูแล และการฝากครรภ์นั้น คุณแม่จะได้รับการตรวจสุขภาพ ตรวจเช็กภาวะแทรกซ้อนทั้งของคุณแม่และทารก และการสแกนรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของการแท้งบุตร และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และหลังการตั้งครรภ์ได้ โดยการตรวจร่างกายนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ตรวจเพื่อคัดกรอง ซึ่งเป็นการแจ้งให้คุณแม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องของทารกในครรภ์ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ หรือมีภาวะผิดปกติหรือไม่ เป็นเพียงการคาดการณ์เบื้องต้น ผลอาจไม่แน่นอนนัก
  • การตรวจเพื่อวินิจฉัย เป็นการตรวจเพื่อเข้าถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับทารก หรือกำลังเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ซึ่งการตรวจแบบนี้จะมีความแม่นยำสูง

 

 

 

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส หมอตรวจอะไรบ้าง?

หลังจากที่คุณทราบแล้ว หรือมีความมั่นใจว่าคุณนั้นกำลังตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือเข้าพบแพทย์เพื่อยืนยันผลที่ถูกต้องและแม่นยำ หลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่กระบวนของการเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัวคือการฝากครรภ์นั่นเอง โดยหลังจากที่คุณฝากครรภ์แล้ว คุณหมอที่ดูแลจะนัดตรวจร่างกายในทุก ๆ ไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยการตรวจแต่ละไตรมาสมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การฝากครรภ์ และพบหมอครั้งแรก

    • ทำการยืนยันว่ากำลังตั้งครรภ์จริง
    • คำนวณอายุครรภ์ว่าน่าจะประมาณกี่สัปดาห์ และจะครบกำหนดคลอดเมื่อไหร่ ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณอาจจะได้รับการอัลตร้าซาวนด์ แต่จะไม่ได้อายุครรภ์ที่แน่ชัด
    • ตรวจความดันโลหิต ส่วนสูง และน้ำหนัก
    • แพทย์จะสอบประวัติการรักษา และโรคประจำตัวของคุณแม่ และครอบครัว
    • ตรวจเลือด เป็นการตรวจหากรุ๊ปเลือด และตรวจหาโรคโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส คลามัยเดีย และ HIV
    • ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่าคุณมีภาวะกระเพาะปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือติดเชื้อหรือไม่
    • คัดกรองดาวน์ซินโดรม
    • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV (human papillomavirus) และ/หรือสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูก
    • แพทย์จะสอบถามถึงความต้องการในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กับคุณแม่
    • แพทย์จะแนะนำเรื่องอาหารเสริม วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารที่คุณสามารถทานได้ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 19-20

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • อัลตร้าซาวนด์ เพื่อตรวจดูพัฒนาการทางร่างกายของทารก การเจริญเติบโต และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หากต้องการทราบแพทย์ของทารก คุณสามารถทราบได้แล้วจากการพบแพทย์ในครั้งนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 26-27

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือคุณแม่ที่เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 28

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • คุณหมอจะเริ่มพูดคุยเรื่องของการคลอดบุตร
    • ตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง และระดับเกล็ดเลือด
    • ฉีดวัคซีนไอกรน
    • ตรวจปัสสาวะ หากคุณมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความดันโลหิตสูง

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 32

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจปัสสาวะ หากคุณมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความดันโลหิตสูง

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 28

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 34-36

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจปัสสาวะ หากคุณมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความดันโลหิตสูง
    • ตรวจหาโรค Group B Streptococcus (GBS)
    • ตรวจสอบท่าของทารก ว่าทารกอยู่ในท่าทางใด และตำแหน่งใด ศีรษะของทารกเคลื่อนที่ไปยังบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือยัง และระยะห่างแค่ไหนกับปากช่องคลอด

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 38-39

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจสอบท่าของทารก ว่าทารกอยู่ในท่าทางใด และตำแหน่งใด ศีรษะของทารกเคลื่อนที่ไปยังบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือยัง และระยะห่างแค่ไหนกับปากช่องคลอด

 

  • ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 40-41

    • ตรวจความดันโลหิต
    • วัดขนาดหน้าท้อง คลำหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารก
    • สอบถามเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และอุปสรรคของการตั้งครรภ์
    • ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารก
    • ตรวจสอบท่าของทารก ว่าทารกอยู่ในท่าทางใด และตำแหน่งใด ศีรษะของทารกเคลื่อนที่ไปยังบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือยัง และระยะห่างแค่ไหนกับปากช่องคลอด เพื่อเตรียมตัวคลอด
    • ตรวจสอบปริมาณของน้ำคร่ำ และประเมินการคลอด หรือให้คุณแม่เตรียมตัวคลอดหากมีภาวะน้ำเดินเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

 

ปัจจัยของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องเข้ารับการตรวจมากกว่าปกติ?

ในบางครั้งการนัดตรวจครรภ์ของคุณแม่อาจมีความถี่มากกว่าปกติ เพราะคุณแม่แต่ละคนก็มีอาการ หรือข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป โดยคุณแม่ที่คุณหมออาจนัดตรวจบ่อยกว่าคุณแม่ที่แข็งแรง หรือมีการตั้งครรภ์ที่ปกติ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โดยจากการวิจัยพบว่าคุณแม่ที่อยู่ในช่วงวัยนี้เมื่อมีการตั้งครรภ์ ทารกมีโอกาสที่จะพิการตั้งแต่กำเนิดสูง และอาจมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า
  • คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน ส่วนใหญ่แล้วโรคที่จะเป็นปัญหากับการตั้งครรภ์คือโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จึงทำให้คุณหมอมีความจำเป็นที่จะต้องนัดตรวจครรภ์คุณแม่บ่อย ๆ เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าคุณแม่ และทารกในครรภ์นั้นยังอยู่เกณฑ์ที่ปลอดภัย
  • การเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คุณหมอจะทำการนัดตรวจบ่อย ๆ เพื่อว่าภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
  • ความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่จะต้องทำการคลอดก่อนกำหนด ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์กับคุณแม่บ่อยครั้งมากขึ้น เพื่อเช็กให้แน่ใจว่า หากทารกออกมาแล้วจะปลอดภัย

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับความรู้เรื่องการตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ที่เรานำมาฝากกัน โดยการตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน ตามแต่สภาพร่างกายของแม่ท้อง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสูติแพทย์ อายุครรภ์และบริบทในแต่ละโรงพยาบาล ที่สำคัญคือ คนท้องควรไปตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งยังต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หากรู้สึกถึงความผิดปกติ แม่ท้องควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อหาสาเหตุและป้องกันการเกิดปัญหาให้ดีที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยของเราค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รวมแพ็กเกจฝากครรภ์ ปี 2566 จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องฝากครรภ์?

หมอสูตินรี ที่ไหนดี ? รวม 10 สูตินรีแพทย์ ฝีมือดีที่คนไข้ต่างก็ยกนิ้วให้ ปี 2564

คลินิกสูตินรีเวชใกล้ฉัน ปี 2566 ที่ไหนดี? คลินิกสูตินรีเวช ทั่วประเทศไทย

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตรวจครรภ์ ได้ที่นี่!

ตรวจครรภ์ตอนไหน ควรตรวจร่างกายในทุก ๆ กี่เดือนคะ

ที่มา : Pregnancybirthbaby, Webmd

บทความโดย

Tulya