ระวัง!! ลูกตกเป็นเหยื่อของภัยออนไลน์

เมื่อลูกสาวต้องตกเป็นเหยื่อของภัยออนไลน์ มีหรือที่แม่จะนิ่งเฉย!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เร็ว ๆ นี้ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่าน น่าจะได้มีการทราบข่าวของคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่ได้โพสต์เตือนทุกคนให้ระวังภัยออนไลน์ ที่มันอาจใช้รูปลูกหลานของเราเป็นเครื่องมือ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว

และเพื่อเป็นการป้องกัน คุณแม่ท่านนี้จึงได้แชร์เรื่องราวประสบการณ์ตรงของตัวเองผ่านเฟสบุ๊คเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนได้ระวัง จากการสอบถาม คุณแม่เล่าว่า ถูกผู้ชายคนนึงหนึ่งในสมาชิกเฟสบุ๊คนามว่า คาสโนวา ภูธร ขโมยรูปลูกสาวของคุณแม่ไปแอบอ้างว่าเป็นหลานของตน และผูกเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อทำให้คนอื่นเชื่อว่า เป็นหลานของตัวเองจริง ๆ และแชร์ไปตามเพจต่าง ๆ มากมาย โดยที่ไม่มีใครทราบว่า ทำไปโดยมีจุดประสงค์อะไร หลังจากที่คุณแม่ได้แชร์เรื่องราวออกไปนั้น ก็ได้มีผู้ชายคนหนึ่งออกมาโพสต์แชร์ว่าตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของเพจเฟสบุ๊คนามว่า คาสโนวา ภูธร เพราะตนก็เป็นเหยื่อที่ถูกแอบอ้างเช่นเดียวกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ซึ่งตอนนี้คุณแม่ก็ได้รวบรวมหลักฐานทั้งหมดและกำลังให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาเบาะแสของผู้ร้ายรายนี้ต่อไป โดยคุณแม่ก็ได้ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ทุกคนว่า เพื่อเป็นการป้องกันภัยออนไลน์ที่อาจเกิดขึ้นกับครอบครัวและตัวเราเอง อย่าลืมที่จะตั้งค่าความเฟสบุ๊คเป็นส่วนตัวแทนการตั้งค่าแบบสาธารณะ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า จะมีใครแอบเอารูปรูปหรือรูปเราไปทำอะไรในทางเสื่อมเสียหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอขอบคุณคุณแม่ท่านนี้ที่อนุญาตให้เราแชร์เรื่องราวผ่านเพจ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณแม่จะสามารถหาตัวคนร้ายมาเอาผิดให้ได้โดยเร็วค่ะ และเพื่อเป็นการป้องกันลูกจากภัยออนไลน์ นี่คือ 5 สิ่งที่พึงระวัง

1. ไม่ควรแชร์ข้อมูลส่วนตัว คุณแม่ควรสอนลูกไม่ให้เปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ เพื่อความปลอดภัย ได้แก่ ชื่อ-นามสกุลจริง ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์
2. ไม่ควรเช็กอิน บอกลูกถึงอันตรายของการเช็กอินสถานที่ที่ลูกอยู่ในขณะนั้น ว่าอาจมีคนที่ไม่หวังดีติดตามไปถึงตัวลูกได้โดยง่าย
3. ไม่ควรให้ลูกจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นตามลำพัง ภัยบนโลกไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการส่งข้อความ อีเมล ข่าวลือ หรือการโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ลงในโซเชียลมีเดีย ทำให้ลูกเกิดความเสียหายและอับอาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้กับเด็ก เด็กมักไม่บอกผู้ใหญ่ ดังนั้น คุณควรสังเกตปฏิกิริยาของลูก เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ว่ามีอะไรที่ผิดปกติหรือลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ควรรีบเข้าไปช่วยลูกแก้ปัญหาโดยเร็ว
4. ไม่ควรเชื่ออะไรที่ได้มาโดยง่าย เด็กนั้นไร้เดียงสา และมักจะไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมผู้ใหญ่ คุณควรสอนลูกด้วยว่า ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย อย่าหลงเชื่อเวลาที่ลูกได้รับคำเชิญให้เล่นเกม เพื่อชิงรางวัลต่างๆ หรือได้รับข้อความว่า เขาชนะรางวัลใหญ่ อย่าคลิก และอย่ากรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ ลงไป เพราะลูกจะถูกขโมยข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด
5. ไม่ออกไปพบเพื่อนทางอินเทอร์เน็ตตามลำพัง จำเป็นมากที่คุณต้องทำข้อตกลงกับลูกอย่างจริงจัง ว่าจะไม่ออกไปพบเพื่อนทางอินเทอร์เน็ตตามลำพัง แม้เขาจะส่งรูปครอบครัวมาเพื่อยืนยันว่า มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย หรือแม้แต่การนัดหมายในกันที่สาธารณะก็ตาม อย่างไรก็ดีอย่าเพิ่งมั่นใจว่า เมื่อลูกรับปากแล้วเขาจะทำตามสัญญา คุณควรเฝ้าดูลูกอยู่ห่างๆ ด้วยเช่นกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth