น้ำอัดลม เหมาะกับเด็กจริงหรือไม่? ควรให้หรือไม่ให้ลูกกิน?
น้ำอัดลม เราควรให้เด็ก ๆ ดื่มหรือเปล่า พวกเขาสามารถเริ่มดื่มได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่
น้ำอัดลม หรือที่เรามักเรียกกันว่าน้ำอัดแก๊ส ความจริงแล้วอันตรายต่อเด็กหรือไม่ แล้วความจริงแล้วผู้ปกครองอย่างเราควรให้เด็ก ๆ ดื่มหรือเปล่า พวกเขาสามารถเริ่มดื่มได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ และส่งผลกระทบอะไรต่อการเจริญเติบโตของพวกเขาหรือเปล่า มาหาคำตอบกันดูค่ะ
น้ำอัดลม คืออะไร?
น้ำที่ถูกอัดลม หรือน้ำที่ถูกผสมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbonated soft drinks) ที่ไม่ว่าจะเป็นการฉีดโดยใช้แรงดัน ซึ่งวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็ก ทำให้เวลาเราเทดื่มนั้นมีฟองฟู่ขึ้นมา และนอกจากการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว น้ำอัดลมบางชนิดยังมีการเติมแต่งสารชนิดอื่น ๆ เข้าไปด้วย เช่น โซเดียม คลอไรด์ โซเดียมคาร์บอนเนต เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วน้ำอัดลมนั้นจะมีรสหวาน และไม่มีแอลกอฮอล์ อย่างเช่น Coca-Cola, Pepsi, Mountain Dew, Sprite เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำอัดลม
- โปรตีน 0 กรัม
- ไขมันรวม 0 กรัม
- ไขมันอิ่มตัว 0 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 06 กรัม
- น้ำตาล 06 กรัม
- แคลเซียม 0 มิลลิกรัม
- ไฟเบอร์ 0 มิลลิกรัม
- โซเดียม 10 มิลลิกรัม
(อ้างอิงจาก Coca-Cola 100 มิลลิลิตร)
น้ำอัดลม เหมาะกับเด็กจริงหรือไม่?
เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่เหมาะสำหรับดื่มน้ำอัดลม ผู้ปกครองควรให้พวกเขาหลีกเลี่ยงการน้ำอัดลม เพราะข้างบรรจุภัณฑ์ของน้ำอัดลมนั้นเขียนไว้อย่างชัดเจน และสำหรับเด็กที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป สามารถทานได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอควร เพราะผู้ปกครองมักจะทราบกันเป็นอย่างดีกว่าเมื่อทานเข้าไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง แต่บางทีอาจจะอันตรายมากกว่าที่คุณรู้ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเหตุผลอะไร ที่เราไม่ควรให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำอัดลม
1. น้ำอัดลมทำให้เด็กฟันผุ และกระดูกพรุน
น้ำอัดลมนั้นเกิดจากการนำน้ำมาผสมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นกรดคาร์บอนิก ถึงแม้ว่าปริมาณกรดคาร์บอนิกที่มีอยู่ในน้ำอัดลมนั้นไม่ได้มีปริมาณที่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามการที่น้ำดื่มมีกรดนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะกรดเหล่านั้นจะไปทำลายฟลูออไรด์ที่เคลือบฟัน ทำให้ฝันของเด็ก ๆ อ่อนแอลง ซึ่งเสี่ยงต่อการทำให้เกิดฟันผุ และอาการเสียวฟัน แต่อย่างไรก็ตามกรดคาร์บอนิกไม่ได้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ ฟันผุ แต่เป็นน้ำตาลที่อยู่ในน้ำอัดลมต่างหากที่เป็นตัวทำลายฟันของเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าน้ำอัดลมนั้นมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของมวลกระดูกของมนุษย์ เนื่องจากในน้ำอัดลมมีฟอสฟอรัส ซึ่งทำให้ร่างกายของเรานั้นขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ และทำให้เราขาดแคลเซียมไปเสริมสร้างกระดูกนั่นเอง
บทความที่น่าสนใจ : ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย
2. โรคอ้วนในเด็ก
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในน้ำอัดลมนั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่มีสารชนิดอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเรา โดยน้ำตาลในน้ำอัดลมนั้นคือ ซูโครส (Sucrose) ซึ่งทำให้การดื่มน้ำอัดลมในแต่ละครั้งทำให้เด็ก ๆ บริโภคน้ำตาลมาเกินความจำเป็น โดยในแต่ละช่วงอายุมีค่าประมาณของน้ำตาลในแต่ละวัน ดังต่อไปนี้
-
- เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ไม่แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน จะดีมากที่สุด
- เด็กเล็กอายุ 4 ปี ถึง 6 ปี สามารถทานน้ำตาลได้ 19 กรัมต่อวัน
- เด็กอายุ 7 ปี ถึง 10 ปี สามารถทานน้ำตาลได้ 24 กรัมต่อวัน
- เด็กโตอายุ 11 ปี ขึ้นไป สามารถทานน้ำตาลได้ 30 กรัมต่อวัน
และนอกจากนี้การที่มีปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นจำนวนมาก และน้ำตาลเป็นสารที่ให้ความหวานและพลังงาน จึงทำให้การดื่มน้ำอัดลม 100 มิลลิลิตร นั้นจะได้รับพลังงานประมาณ 424 กิโลแคลอรี ซึ่งเด็กที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปจะต้องการปริมาณพลังงานต่อวันอยู่ที่ 1,00-1,400 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งการดื่มน้ำอัดลมมากจนเกินไป ทำให้พวกเขามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นเหตุทำให้มีน้ำหนักขึ้น และเกิดเป็นโรคอ้วนในเด็ก หรือเบาหวานได้ และนอกจากนี้การได้รับปริมาณน้ำตาลเป็นจำนวนมาก จะทำให้พวกเขารู้สึกอิ่ม และไม่อยากรับประทานอาหารอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นเหตุทำให้เขาได้รับปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายน้อยลงในวัยที่พวกเขากำลังเจริญเติบโตได้
3. น้ำอัดลมทำให้เด็กนอนไม่หลับ
หากคุณลองหมุนขวด หรือกระป๋องน้ำอัดลมดู คุณจะเห็นว่าในบางยี่ห้ออาจเขียนไว้อย่างชัดเจนว่ามีคาเฟอีนผสมอยู่ หรือในบางยี่ห้ออาจไม่ได้เขียนไว้ แต่ความเป็นจริงแล้วมีคาเฟอีนผสมอยู่จริง โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบคาเฟอีนในกาแฟ หรือชา ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายของเรารู้สึกตื่นตัว หรือกระปรี้กระเปร่า ลดความง่วงได้ ซึ่งสำหรับเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตนั้น การนอนหลับที่เพียงพอเป็นเรื่องที่สำคัญ อาจส่งผลทำให้พวกเขาโตช้า หรือมีการนอนที่ผิดแปลกไป ด้วยการที่พวกเขาจะง่วงนอนในเวลากลางวัน และตื่นในเวลากลางคืนนั่นเอง
4. มีก๊าซจำนวนมากในกระเพาะอาหาร
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่าการดื่มน้ำอัดลมนั้นจะทำให้เด็ก ๆ ของเราปวดท้อง หรือมีการระคายเคืองที่ระบบทางเดินอาหาร แต่การดื่มน้ำอัดลมนั้นไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน หรือ IBS (Irritable bowel syndrome) แต่น้ำอัดลมอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด หรือมีก๊าซในช่องท้องมากจนเกินไป นั่นเป็นเหตุมาจากในน้ำอัดลมที่ถูกอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ทำให้เป็นกรดคาร์บอนิก ที่เป็นเหตุทำให้น้ำอัดลมมีความซ่า และเป็นฟอง ซึ่งกรดคาร์บอนิกนี้สามารถย่อยสลายหินปูนได้ จึงสามารกัดกร่อนกระเพาะของเด็ก ๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีกรดฟอสฟอริกที่สามารถละลายตะปูได้ภายใน 4 วัน ซึ่งแน่นอนว่าหากเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต หรือเด็กเล็กที่ร่างกายยังไม่แข็งแรงได้ทานเข้าไปในปริมาณแล้วหละก็ กระเพาะของเขาจะต้องถูกทำลายด้วยกรดพวกนี้เป็นแน่
บทความที่น่าสนใจ : โรคกระเพาะเกิดจากอะไร แนวทางป้องกันรักษาโรคกระเพาะ
5. ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
สารกันบูดเป็นหนึ่งวิธีการเก็บรักษาอาหารที่สำคัญ และตอบโจทย์ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค จึงได้มีการใส่สารกันบูดในน้ำอัดลม เพื่อให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยในน้ำอัดลมนิยมใช้ กรดซิตริก (Citric acid) ที่สามารถผลิตได้จากน้ำผลไม้ หรือการหมัก และมีคุณสมบัติในการป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและยีสต์ นิยมใช้กันมากในการนำมาผสมอาหาร โดนกรดน้ำมีฤทธิ์ทำให้เรานั้นระคายเคืองที่ระบบทางเดินอาหาร และนอกจากในน้ำอัดลมจะมีสารกันบูดแล้วยังมีสารแต่งกลิ่น แต่รสชาติ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย
ทราบสาเหตุของการที่ผู้ปกครองอย่างเราไม่ควรให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำอัดลมกันไปแล้วอย่าลืมปฏิบัติตามกันด้วยนะคะ เพื่อลูกน้อยของคุณเอง ถึงแม้ว่าจะดื่มในปริมาณที่น้อยก็ตาม แต่หากลูกน้อยของคุณยังไม่ถึงวัยที่จะดื่ม หรือร่างกายไม่แข็งแรงมากพอก็อาจส่งผมกระทบต่อร่างกายของคุณได้นะคะ ทางที่ดีควรให้เข้าดื่มในวัยที่เหมาะสม และในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ
บทความที่น่าสนใจ :
คนท้องดื่มน้ำอัดลมได้ไหม มีโทษหรือประโยชน์ต่ออะไรต่อลูกในครรภ์บ้าง?
เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด
ที่มา : realmomnutrition, truesport, kids.kiddle, babycenter, thaihealth