อาการเมารถ เมาเรือ ในเด็ก เป็นปัญหาที่พบได้ และบางครั้งอาจพบบ่อยในครอบครัวนักเดินทางที่มักชวนกันขึ้นรถลงเรือไปทำกิจกรรมสนุกๆ โดยเฉพาะการเดินทางออกต่างจังหวัด ซึ่งอาการเมานี้จะสร้างความไม่สบายตัวให้กับลูกน้ออย่างมาก คุณพ่อคุณแม่จึงควรทราบวิธีรับมือและบรรเทาอาการเหล่านี้อย่างถูกวิธี เพื่อให้การเดินทางของลูกน้อยราบรื่นและมีความสุขมากยิ่งขึ้น มาดูกันค่ะว่า วิธีแก้อาการเมาสำหรับเด็ก ลูกเมารถ เมาเรือ ต้องทำยังไง?
ทำไม? ลูกเมารถ
อาการเมารถ เกิดจากประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในมีการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับภาพที่ตามองเห็นค่ะ สมองจึงเกิดความสับสน เพราะได้รับสัญญาณภาพที่ขัดแย้งกัน ส่งผลให้เกิดเป็นอาการเมารถในที่สุด โดยอาการลูกเมานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างการนั่งรถ เรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะที่มีการเคลื่อนที่แบบโคลงเคลง คดเคี้ยว หรือเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาเป็นระยะเวลานานค่ะ
จากผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ใน PubMed.Gov อันเป็นบริการฐานข้อมูลด้านแพทยศาสตร์ และสถาบันสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา ทีมงานศึกษากลุ่มตัวอย่างในประเทศฝรั่งเศส พบว่า 31.1% ของเด็ก มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเมารถ เมาเรือ และเมาเครื่องบินได้ เมื่อต้องเดินทาง ในขณะที่ 7.9% ของผู้ใหญ่มีอาการนี้
ทั้งนี้ อาการลูกเมารถ เมาเรือ และเมาเครื่องบินมี ระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป แต่บางทีอาการเมาในเด็กก็สังเกตได้ยากเหมือนกัน เพราะส่วนใหญ่เรามักคิดว่าเด็กไม่ชอบอยู่เฉยๆ นอกจากอาการจะรุนแรงจริงๆ ค่ะ
บทความเกี่ยวข้อง: เทคนิคการขับรถเที่ยวกับลูก
เด็กกลุ่มไหน? เสี่ยงกับการเมารถ |
|
|
|
|
สังเกตอาการ ลูกเมารถ
อาการลูกเมารถ อาจดูได้จากอาการต่อไปนี้ ซึ่งบางครั้งก็เกิดร่วมกับอาการอื่นได้ด้วยเช่นกันค่ะ
- คลื่นไส้
- ตัวเย็น
- อาเจียน
- มึนศีรษะ
- เหนื่อยเพลีย
- ปวดศีรษะ
- น้ำลายเยอะ
- หน้าซีด
วิธีแก้อาการเมาสำหรับเด็ก ลูกเมารถ จัดการได้
อาการเมา ไม่ว่าจะเป็นของลูก หรือของคุณพ่อคุณแม่ อาจทำลายบรรยากาศการพักร้อน หรือวันหยุดของครอบครัวให้กลายเป็นเรื่องน่ากังวลทันที แต่เราก็พอมีแนวทางการป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ของลูกมาฝาก เพื่อการเดินทางพักผ่อนที่สนุกตลอดทริป ดังนี้ค่ะ
- ควรให้ลูกกินอาหาร ในปริมาณที่พอเหมาะ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารมัน และอาหารที่หนักท้องเกินไป หรือทำให้ลูกอิ่มเกินไป
- พาลูกเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำในคืนก่อนออกเดินทาง เพื่อให้ลูกหลักพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
- ปรับที่นั่ง หรือคาร์ซีทของลูกน้อยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่รถวิ่ง โดยปรับที่นั่งให้สูงพอที่ลูกจะได้ดูทัศนียภาพตลอดการเดินทาง กรณีเป็นการเดินทางโดยเรือและเครื่องบิน ควรเลือกที่นั่งแถวกลางให้ลูก เนื่องจากที่นั่งแถวกลางจะไม่ค่อยได้รับการกระทบกระเทือน หรือแรงที่โยกโคลงเคลงมากนัก
- เปิดเครื่องปรับอากาศในรถให้เย็นสบาย ในอุณหภูมิที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเท หรือเปิดระบบหมุนเวียนอากาศในรถ
- เตรียมของเล่นที่ลูกชอบติดรถไปด้วย เพื่อให้เป็นกิจกรรมภายในรถที่ดึงดูดให้ลูกสนใจ แต่ไม่ควรให้ลูกอ่านหนังสือ หรือเล่นวิดีโอเกมในรถเพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการเมาได้
- หากต้องการได้บรรยากาศที่สนุก ลองชวนกันเล่นเกมที่ใช้สายตาบนท้องถนน เช่น แข่งกันนับว่าเห็นรถสีต่างๆ กี่คัน เล่นเกมบวกเลขจากแผ่นป้ายทะเบียนรถ ทายปัญหาอะไรเอ่ย หรือเล่นต่อเพลงก็ได้ค่ะ
- หากมีการแวะตามจุดพักระหว่างทาง ควรให้ลูกลงจากรถเพื่อไปสูดอากาศบริสุทธิ์ภายนอก หรือผ่อนคลายอิริยาบถ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเมาสำหรับเด็กได้ค่ะ
- ให้ลูกดมยาดม หรือน้ำมันหอมระเหย จะสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการเมารถได้
วิธีเหล่านี้ เป็นแนวทางป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน สำหรับเด็ก นอกจากนี้ ยังมีวิธีที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งคือ การกินยาแก้เมา แต่ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ ก่อนใช้ยานะคะ ที่สำคัญคือ หากเลูกน้อยมีอาการรุนแรง หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้สูง หรือปวดท้องรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ
พาลูกเดินทางยังไงให้ปลอดภัยทุกทริป
นอกจากการดูแลและให้ความใส่ใจเรื่องอาการเมารถของลูกน้อยแล้ว การพาลูกเดินทางอย่างปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรพิถีพิถันดูแลเป็นพิเศษนะคะ เพื่อให้การเดินทางราบรื่นและลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เรามีคำแนะนำในการพาลูกเดินทางอย่างปลอดภัยมาฝาก ดังนี้ค่ะ
-
เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง
- ตรวจสอบยานพาหนะ
- หากเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ควรตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งาน ตรวจเช็กลมยาง น้ำมันเครื่อง และระบบเบรก
- กรณีเดินทางด้วยเครื่องบิน รถไฟ หรือเรือ ควรตรวจสอบตารางการเดินทางและข้อกำหนดต่างๆ ของสายการบินหรือบริษัทขนส่งให้ละเอียดถี่ถ้วน
- เตรียมอุปกรณ์จำเป็น
- ควรมีการติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็กที่ได้มาตรฐาน และติดตั้งอย่างถูกต้อง
- เตรียมยาประจำตัว ยาแก้เมารถ เมาเรือ และชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ตุนอาหารว่าง น้ำดื่ม และของเล่นที่ลูกชอบ เพื่อให้ลูกไม่เบื่อระหว่างเดินทาง
- เลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของสถานที่ที่จะไป
- วางแผนการเดินทาง
- วางแผนเส้นทางและจุดพักระหว่างทาง เพื่อลดความเหนื่อยล้าในการเดินทาง
- เผื่อเวลาในการเดินทางให้มากขึ้น เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
-
ระหว่างการเดินทาง
- การใช้คาร์ซีท
- เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าไปทางด้านหลัง
- เด็กอายุ 2-7 ปี ควรนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าไปทางด้านหน้า
- เด็กอายุ 8-12 ปี ควรใช้เบาะเสริม (booster seat) และคาดเข็มขัดนิรภัย
- การเดินทางด้วยรถยนต์
- คาดเข็มขัดนิรภัยให้ลูกทุกครั้ง ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นซนในรถ หรือยืนบนเบาะรถ
- ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวในรถ
- พักรถทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกได้ยืดเส้นยืดสาย
- การเดินทางด้วยเครื่องบิน
- ศึกษาข้อกำหนดของสายการบินเกี่ยวกับการเดินทางกับเด็ก
- เตรียมอุปกรณ์ที่ช่วยให้ลูกสบายตัว เช่น ผ้าห่ม หรือหมอนรองคอ
- เตรียมกิจกรรมให้ลูกทำระหว่างเดินทาง เช่น อ่านหนังสือ หรือดูการ์ตูน
- การเดินทางด้วยรถไฟหรือเรือ
- ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้ลูกวิ่งเล่นตามลำพัง
- ระวังบริเวณที่เป็นอันตราย เช่น ประตู หรือบันได
-
ความปลอดภัยที่สถานที่ท่องเที่ยว
- ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงสอนให้ลูกรู้จักชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง และต้องกำหนดจุดนัดพบ เผื่อกรณีฉุกเฉินพลัดหลงกับลูกด้วย
- ระมัดระวังอันตราย ทั้งจากยานพาหนะ สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นอันตราย โดยดูแลลูกไม่ให้เข้าใกล้แหล่งน้ำ หรือหน้าผา
- ควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน ครีมกันแดด หมวก และแว่นตากันแดด สำหรับป้องกันแสงแดด รวมทั้งยากันยุง สำหรับป้องกันแมลงด้วย
- เตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เบอร์โทรศัพท์ของสถานพยาบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Source : guavafamily
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
หน้าร้อนนี้พาครอบครัวไปเที่ยวไหนดี
พาลูกขึ้นเครื่องบิน แบบหมดห่วง ด้วยการวางแผนเที่ยวกับลูกน้อย เพื่อการเดินทางอย่างสบายใจ