ลูกเป็นสิว มีวิธีรักษาอย่างไร ทั้งสิวเด็กเล็ก สิวเด็กในวัยเรียน

ลูกเป็นสิว ทำอย่างไรดี เด็กบางคนเป็นสิวตั้งแต่เกิดหรือสิวทารก แต่จริงๆ แล้วสิวสามารถเกิดได้กับเด็กทุกช่วงวัย ทั้งวัยเด็กเล็ก วัยรุ่น จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเป็นสิว ปัญหาผิวหนังของลูกที่คุณแม่กังวลใจ ทั้งสิวในเด็กทารก วัยอนุบาล หรือชั้นประถม จบเติบโตไปจนถึงชั้นมัธยม เชื่อว่า ยิ่งลูกอายุน้อยเท่าไร ยิ่งสร้างความหนักใจให้คุณแม่ยิ่งนัก เพราะไม่น่าจะเกิดขึ้นกับผิวที่บอบบาง ลองไปดูกันว่า สิวประเภทต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

 

ลูกเป็นสิว ได้อย่างไร

จริงๆ แล้ว ลูกเป็นสิว เป็นเรื่องปกติมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงอายุระหว่าง 11 - 30 ปีตั้งแต่วัยแรกรุ่น แต่อย่างไรก็ตาม สิวสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย บางคนวัย 40 ขึ้นไปยังมีอากาสเป็นได้ ทั้งนี้สิวมีหลายประเภทที่ส่งผลต่อทารกแรกเกิด เด็กเล็ก เด็กโตและวัยรุ่น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: สิวในทารกแรกเกิด ใช่โรคผิวหนังหรือเปล่า?

สิวทารก (Neonatal Acne)

เราได้ยินถึงสิวประเภทนี้บ่อยๆ เมื่อคุณแม่ค้นหาว่าทำไมลูกน้อยจึงเกิดมามีสิวทั้งที่ยังแบเบาะอยู่ จริงๆ แล้วเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 สัปดาห์ ก็มีโอกาสเป็นสิวได้ เพียงแต่พบน้อยมากๆ อันมีสาเหตุมาจาก การอุดตันของไขมัน พบได้ทั้งสิวหัวขาวและหัวดำ บริเวณหนังศีรษะ ช่วงอกใต้ลำคอและแผ่นหลัง บางคนอาจเกิดสิวบริเวณแก้มคางและหน้าผากคล้ายผดร้อน ซึ่งจะหายได้เองไม่เกิดอันตรายต่อผิวหนังแต่อย่างใดค่ะ ที่น่าสนใจคือ

  • ต่อมไขมันนั้นตอบสนองต่อแอนโดรเจนหรือ ฮอร์โมนเพศชาย เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เพศชายในวัยรุ่นมีสรีระที่เปลี่ยนแปลงไป
  • แอนโดรเจนยังช่วยกระตุ้นต่อมไขมันและทำให้เกิดความมันส่วนเกินมากขึ้นส่งผลให้เกิดสิวฮอร์โมน
  • ปริมาณแอนโดรเจนจะค่อยๆ ลดลงในช่วงที่ทารกมีอายุครบ 1 ปี และร่างกายจะเริ่มมีการผลิตแอนโดรเจนอีกครั้งในช่วงอายุ 7 ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิวเด็กน้อย (Infantile Acne)

เมื่อลูกอายุประมาณเดือนครึ่งไปจนถึง 1 ขวบ อาจจะมีสิวอุดตัน สิวอักเสบ ทั้งตุ่มใหญ่ตุ่มเล็ก บริเวณแก้ม ซึ่งสิวประเภทนี้จะอักเสบเป็นหัวหนองเล็กๆ ถ้าไปแกะเกาอาจจะทิ้งรอยแผล แต่จะหายไปเองตามการเจริญเติบโตของผิวหนัง อย่างไรก็ตาม สิวประเภทนี้เด็กบางคนอาจเป็นไปเรื่อยๆ จนถึงวัยรุ่นทีเดียว

 

สิวช่วงวัยประถม (Mid-Childhood Acne)

เด็กอายุประมาณ 5-10 ขวบ พวกเขาจะมีสิวเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งคุณแม่มักจะเข้าใจว่าเป็นอาการอักเสบของผิวหนังหรือผดผื่น ทำให้การรักษาเบี้องต้นเป็นไปอย่างผิดวิธี ถูกต้องที่สิวชนิดนี้พบยากมากๆ ในเด็กวัยนี้ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาฮอร์โมนภายในร่างกาย คุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับการมีฮอร์โมนแอนโดรเจนมากกว่าปกติหรือไม่

  • แอนโดรเจนมากผิดปกติหรือภาวะขนดกในเด็กผู้หญิง และประจำเดือนมาเร็วในเด็กผู้หญิง
  • สัญญาณของการเจริญเติบโตที่ไวผิดปกติ พัฒนาการทางเพศก่อนวัย
  • สิวที่เกิดขึ้นนั้นมีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาในเด็กวัยนี้ เพราะเกิดจากฮอร์โมนเจริญพันธุ์อาจต้องเป็นสิวเรื้อรังไปถึงช่วงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิวเด็กมัธยมต้น (Preadolescent Acne)

เด็กนักเรียนช่วงมัธยมต้น หากมีสิวจะคล้ายกับเป็นเรื่องปกติ เด็กบางคนที่ไม่มีจะรู้สึกแปลกด้วยซ้ำว่าทำไมไม่มีสิวเหมือนเพื่อน เพราะการมีสิวในเด็กวัยนี้ คือสัญญาณในการเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ จะเกิดในลักษณะของสิวอุดตัน สิวหัวเปิด (ตอดำ) สิวอักเสบหัวหนอง ชำๆ แดงๆ มักจะขึ้นบริเวณแก้ม ส่วนสิวอุดตันสีขาวคล้ายๆ ผด จะเกิดบริเวณ T-Zone คือหน้าผาก ลงมาตามจมูกและคาง ยกเว้นช่วงแก้ม

  • สิวอักเสบทำให้เกิดตุ่มแดง เจ็บแผลที่อาจติดเชื้อแบคทีเรีย
  • มีตุ่มหนอง ซึ่งแบคทีเรียทำให้รูขุมขนอักเสบ ตุ่มหนองฝังอยู่ในผิวมากขึ้น
  • เลือดคั่งบนผนัง สังเกตว่ารูขุมขนจะระคายเคือง เกิดเลือดแดงๆ อยู่ลึกใต้ผิวหนังเป็นดวงๆ
  • สิวหัวแข็ง สิวอุดตันเป็นสิวหัวแข็งๆ ที่ไม่ผุดออกมาเอง ต้องกดหรือเจาะเท่านั้น
  • อาจเกิดซีสหรือตุ่มไขมัน ต้องให้แพทย์ผิวหนังผ่าออก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: ผื่นแดงที่หน้าทารก ทำอย่างไรให้หาย จะแยกอย่างไรว่าเป็นผดผื่นหรือเป็นสิว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเกิดสิวในช่วงวัยรุ่นต่างจากช่วงวัยเด็กต่างๆ อย่างไร

เราจะเห็นว่า เด็กบางคนไม่เคยเป็นสิวเลย ไม่ว่าจะเป็นช่วงประถมศึกษาหรือมัธยมต้น แต่พอถึงช่วงมัธยมปลายจนเข้ามหาวิทยาลัย หรือเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเต็มตัว เด็กๆ จะมีสิวเกิดขึ้นอย่างน่าแปลกใจ และมาทราบว่าจะรักษาอย่างไรดี ซึ่งแท้จริงๆ แล้วเด็กวัยรุ่นช่วงนี้มีการเกิดสิวหลายสาเหตุจากปัจจัยภายนอกมากกว่าฮอร์โมนหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

1. การเปลี่ยนแปลงช่วงเข้าสู่วัยรุ่นเต็มตัว

เด็กผู้หญิงบางคนมีประจำเดือนตอนมัธยมต้น และไม่มีสิวเลย แต่มาปรากฏว่ามีสิวตอนมัธยมปลาย หรือในเด็กผู้ชายจะมีระดับฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นๆ เนื่องจากเซลล์ผิวหนังและต่อมไข่มัน

 

2. การใช้เครื่องสำอาง

ปัจจุบันมีการผลิตเครื่องสำอางสำหรับเด็กวัยมัธยมมากขึ้น และเด็กช่วงนี้จะสนุกกับการออกไปเที่ยววันหยุดตามสถานที่เก๋ๆ ต่างๆ ถ่ายรูปลงโซเชียล ซึ่งเกี่ยวแน่นอนกับการที่พวกเขาต้องแต่งหน้าและใช้เครื่องสำอาง อย่างการใช้ครีมกันแดดซึ่งเป็นสกินแคร์ที่ก่อให้เกิดความอุดตันง่ายมากๆ รวมไปถึงเครื่องสำอางต่างๆ

 

3. การดูแลความสะอาด

ต่อเนื่องจากข้อ 2 ในการใช้สกินแคร์ เครื่องสำอาง หากล้างไม่สะอาดย่อมทำให้เกิดการอุดตันของสารเคมีในผิวหนัง เด็กๆ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ล้างเครื่องสำอางอย่างสะอาดหมดจด เช่น ใช้ Makeup Remover ให้เหมาะสมกับสภาพผิว ถึงจะใช้แค่ครีมกันแดดก็ควรทำความสะอาดขั้นตอนนี้ก่อนจะใช้คลีนซิ่งล้างให้สะอาดอีกครั้งด้วย ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายวัยรุ่นเลยค่ะ

 

4. การดูแลเสื้อผ้า

เด็กวัยรุ่นมักชอบการแต่งตัวตามเทรนด์ แต่ในวันที่อากาศร้อนจัด ไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่รัดและระคายเคืองต่อผิวหนัง เพราะจะทำให้เหงื่อออกมากเกินไปจนเกิดความอับชื่น ควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่รู้สึกสบาย หากอาการร้อนมาก อาจจะหาเสื้อคลุมไปสวมระหว่างวัน

 

5. การใช้ยาบนผิวหนัง

ยาที่เด็กๆ วัยรุ่นต้องระวังคือ คอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นยาประเภทที่ให้ผลดีต่อผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือควรใช้ยานี้ในการดูแลของแพทย์ เพราะเป็นยาอันตรายหากใช้จนติด อาจก่อให้เกิดสิวได้ง่ายมากกว่าการใช้เพ่อดูแลแก้ปัญหาผิว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หากอาการไม่รุนแรง แพทย์จะรักษาอย่างไร

1. แพทย์จะแนะนำให้ใช้เบนซอยล์เพอรอกไซด์

ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ล้างหน้า เจลแต้มสิว ครีมหรือโลชั่นทาทั่วใบหน้า จะเป็นสารที่ทำงานโดยละลายหัวสิวใต้ผิวหนังซึ่งหากผิวมีอาการแพ้ง่ายให้ใช้ในปริมาณความเข้มข้นต่ำประมาณ 2.5% โดยการใช้ยาชนิดนี้ในความเข้มข้นสูงอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองและผิวแห้งได้

2. ยารักษาสิวที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

คนท้องห้ามใช้ยากลุ่มนี้เด็ดขาด คือ ยากลุ่มเรตินอยด์ เช่น เทรทินอยด์และอะดาพาลีน มีส่วนผสมของสารสกัดจากวิตามินเอ โดยหากผิวมีอาการแพ้ง่ายและแห้งสามารถใช้ร่วมกับมอยซ์เจอไรซ์เซอร์ที่ปราศจากน้ำมันได้ โดยทาลงบนบริเวณที่มีอาการให้ทั่ว ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วจึงค่อยเพิ่มปริมาณ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าไม่จำเป็นไม่แนะนำให้เด็กๆ ใช้เลยค่ะ

 

หากสิวของลูกวัยมัธยมมีอาการอักเสบมากขึ้น

มาถึงตรงนี้แพทย์อาจจะต้องให้รับประทานยาควบคู่ไปกับการรักษาในระดับการใช้ครีมและโลชั่นเบื้องต้น โดยรับประทานยาไอโซเทรโทโนอินซึ่งเด็กๆ สามารถใช้ยาชนิดนี้ในประมาณโดส 0.2 - 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ใช้ได้ตั้งแต่เด็กทารกอายุ 5 เดือนขึ้นไปที่มีอาการสิวรุนแรง นอกจากนี้สิวอักแสบแดงที่ฝังลึกสามารถรักษาได้โดยการฉีดไทรแอมซิโนโลน แอซิโทไนด์ความเข้มข้นต่ำ 2.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรได้เช่นเดียวกัน

 

ช่วยคุณแม่อ่านฉลากยารักษาสิวลูก

หากคุณหมอหรือเภสัชกรแนะนำผลิตภัณฑ์รักษาสิวให้ลูก คุณแม่ควรรู้จักชื่อยาเหล่านี้เบื้องต้นนะคะ

  • เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียทำให้ผิวแห้ง ส่งผลให้น้ำมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวถูกชะล้างออกจากใบหน้าได้ง่าย
  • เตรทติโนอิน (Tretinoin) ระงับการเกิดสิวอุดตันเล็กๆ ใหม่ กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวใหม่และขจัดสิวเสี้ยนเป็นยากลุ่มกรดวิตามินเอหรือยาเรตินอยด์ ออกฤทธิ์ต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง
  • อะดาพาลีน (Adapalene) สิ่งนี้ช่วยหยุดการเกิด comedones ใหม่เป็นยาในกลุ่มเรตินอยด์ ออกฤทธิ์ช่วยฟื้นฟูผิวหนังให้กลับมามีสุขภาพดีอีกครั้ง ช่วยปรับเซลล์ผิวให้เจริญเติบโตอย่างสมดุล
  • ไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin) รักษาสิวรุนแรงที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ช่วยป้องกันสิวใหม่และรอยแผลเป็น อีกทั้งยังกดการทำงานของต่อมไขมัน ที่ทำให้ผลิตสารที่เป็นไขมันลดลง ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย และลดการอักเสบของสิว

 

 

การดูแลรักษาสิวเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

สิวเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นอาจเป็นอาการระยะยาว หากการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยป้องกันหรือลดการเกิดสิวรุนแรงของลูกคุณได้โดย

  • เตือนลูกอย่าสัมผัส บีบ หรือเจาะสิวเอง ซึ่งอาจติดเชื้อและทำให้เกิดแผลเป็นได้
  • พาลูกไปพบแพทย์ผิวหนัง รักษาแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป
  • อย่าหยุดรักษาปุบปับ ค่อยๆ ลดการรักษาลงแม้จะหายดี
  • ยังคงรักษาผิวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ก่อน จนกว่าคุณหมอจะให้หยุดการรักษาเอง
  • ดูแลความสะอาดอย่างอ่อนโยนที่สุด

 

เวลาเราไปพบแพทย์แล้วไม่หายทันที หรือคุณหมอยังนัดไปตรวจผิวหน้าแม้จะหายดีแล้ว คุณแม่มักจะเข้าใจว่า คุณหมอเลี้ยงไข้หรือเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้ว การดูแลรักษาสิวควรทำสม่ำเสมอแม้ผิวหน้าจะกลับมาดีแล้วก็ตาม จนแน่ใจว่าผิวแข็งแรง และไม่ต้องไปรักษาโดยการใช้ยาหรือรับประทานยาอีกแล้ว แต่ทั้งนี้ ด้วยสภาพอากาศ ฝุ่นละอองในบ้านเรา คุณแม่จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในเรื่องความสะอาดของเสื้อผ้า ฝุ่นที่เกาะตามผิวหน้า ผิวหนังของลูก นอกจากปัจจุยภายในอย่างเรื่องฮอร์โมนแล้ว ปัจจัยภายนอกจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยค่ะ

 

 

บทความที่น่าสนใจ:

เครียดไปอีก หน้าพังหมดแล้ว คนท้อง สิวขึ้น หน้าพัง สิวบุก ทำไงดี

อาหารควรระวังถ้าไม่อยากเป็นสิว 7 สิ่งที่ควรงดกินสิ่งนี้หน้าใสไร้สิว

ขมิ้นรักษาสิว วิธีรักษาสิวแถมหน้าใส ด้วยขมิ้นชัน สมุนไพรก้นครัวสารพัดประโยชน์

ที่มา: hopkinsmedicine , motherhood , sanook

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan