เป็นช็อกโกแลตซีสต์ แล้วมีลูกได้หรือไม่?

ทำอย่างไรดีอยากมีลูก แต่เป็นช็อกโกแลตซีสต์ จะมีโอกาสท้องได้เหมือนคนอื่น ๆ ไหมนะ ร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปวดประจำเดือนทุกเดือน ปวดจนยืนแทบไม่ไหว เป็นลมบ้างก็มี พอไปหาหมอ ๆ บอกว่าเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ซีสต์ในรังไข่มีลูกได้ไหม หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า “โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่”

โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อกโกแลตซีสต์คืออะไร?

ปกติแล้วเยื่อบุมดลูกของเราควรอยู่ภายในมดลูก แต่กลับไปเจริญอยู่ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น รังไข่ เอ็นยืดมดลูก ผนังช่องท้องหรือลำไส้ เนื่องจากเซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์ที่มีชีวิต สามารถเจริญเติบโตได้จากการได้รับฮอร์โมนในร่างกายมากระตุ้น โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงหรือที่เราต่างรู้จักกันดีในชื่อของ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเมื่อเริ่มแรกที่มีการเกาะหรือฝังตัวของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกตามที่ต่าง ๆ  เซลล์ เหล่านี้จะมีขนาดเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลคล้ายจุดห้อเลือด ในแต่ละเดือนก็จะโตขึ้นและกลายเป็นถุงน้ำ ซึ่งภายในบรรจุด้วยของเหลวซึ่งก็คือเลือดนั่นเอง เมื่อมีการสะสมของเลือดนาน ๆ  สีเลือดจึงเปลี่ยนเป็นสีเข้ม และน้ำบางส่วนในก้อนถูกดูดกลับ จึงทำให้เกิดลักษณะของเหลวสีน้ำตาลเข้ม และข้น คล้ายสีและลักษณะของช็อกโกแลต จึงเป็นที่มาของชื่อ ช็อกโกแลตซีสต์นั่นเอง

เรียกได้ว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกับโรคนี้ โดยพบว่าร้อยละ 10-20 ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีประจำเดือน และพบบ่อยขึ้นร้อยละ 30-40 ในกลุ่มที่มีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่แต่งงานและมีเพศสัมพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ ในระยะ  1 ปี ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โรคนี้ที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวินิจฉัยที่เร็วและแม่นยำขึ้น เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ และคนไข้ส่วนที่เคยคิดว่าการปวดท้องประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ ตื่นตัวมารับการตรวจมากขึ้น

อะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคนี้? ซีสต์ในรังไข่มีลูกได้ไหม

พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อกโกแลตซีสต์นั้นได้แก่ พันธุกรรม หรือกลุ่มที่เกิดจากการทำงานของรังไข่มากเช่น กลุ่มที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย มีรอบเดือนสั้น หรือมีปัจจัยขัดขวางการไหลของประจำเดือน เช่น มีการปิดของเยื่อพรหมจรรย์ เลือดประจำเดือนไหลออกทางช่องคลอดไม่ได้ เลือดจึงไหลกลับเข้าช่องท้องมากขึ้น

อาการของโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

  1. ปวดท้องประจำเดือน โดยมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนปวดประจำเดือนทั่ว ๆ ไป และจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ เดือน เช่น เคยปวดและหายโดยไม่ต้องทานยาจนต้องทานยา หรือเคยใช้ยากินแต่กลับต้องเปลี่ยนเป็นยาฉีดแก้ปวด
  2. ปวดหรือเจ็บลึก ๆ ที่ช่องคลอดหรือท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธุ์ เนื่องจากพังพืดจากตัวโรค ยึดมดลูกไว้  ทำให้มดลูกไม่สามารถเคลื่อนไปมาได้อิสระ โดยเฉพาะพังพืดบริเวณเอ็นยึดมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดเวลามีแรงกระแทกที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์
  3. ภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากโรคนี้มักพบถุงน้ำบริเวณรังไข่ ทำให้ประสิทธิภาพในการตกไข่เสียไป หรือเกิดพังผืดบริเวณท่อนำไข่ทั้งสองข้าง ทำให้ไข่ไม่สามารถ เกิดการปฏิสนธิ หรือเดินทางมาฝังตัวที่มดลูกได้

ไม่ต้องกังวลไปนะคะ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่พบว่าตัวเองเป็นช็อกโกแลตซีสต์ เพราะโอกาสที่จะท้องนั้นมีเหมือนผู้หญิงทั่วไป แต่ก็มีบ้างร้อยละ 30-40 ในกลุ่มที่มีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่แต่งงานและมีเพศสัมพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ ในระยะ  1 ปี ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และถ้าหากคุณเป็นคนแม่ที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์แล้วตั้งครรภ์ ก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ โรคดังกล่าวจะดีขึ้นเอง เนื่องจากตลอดการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง ซึ่งจะไปต้านการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ช็อกโกแลตซีสต์ฝ่อเล็กลง หรือหายไปในระหว่างตั้งครรภ์ โดยคุณหมอจะคอยติดตามอาการ และขนาดของก้อนถุงน้ำจากการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นระยะ ๆ โดยถ้าก้อนขนาดเท่าเดิม หรือเล็กลง ก็จะติดตามขนาดของก้อนถุงน้ำต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าก้อนยุบลง หรือหายไปได้เอง แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือโตเร็ว ก็อาจพิจารณาเรื่องของการผ่าตัดเป็นราย ๆ ไป เพื่อป้องกันการแตกของก้อนกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร หรือสงสัยว่าเป็นเนื้องอกชนิดลุกลามในกรณีที่พบว่าก้อนโตเร็ว ซึ่งพบได้น้อยมาก

ดังนั้น หากพบว่าตัวเองเป็นโรคดังกล่าว ให้รีบทำการรักษานะคะ เพราะถ้าขืนปล่อยไว้โอกาสที่จะอยู่ในภาวะของการมีบุตรยากก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ

ขอบคุณที่มา: Haijai และ นพ.นิวัฒน์ อรัญญาเกษมสุข

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ไม่อยากเสี่ยง! อย่าทำสิ่งเหล่านี้ขณะมีประจำเดือน

ประจำเดือนผิดปกติ แบบไหนส่อมีบุตรยาก

อาหารที่มะเร็งชอบ การเลือกอาหารมีผลต่อความเสี่ยงมะเร็งหรือไม่? 

 

บทความโดย

Muninth