ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ให้นมลูกได้ไหม ส่งผลกระทบถึงลูกหรือไม่

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ให้นมลูกได้ไหม ส่งผลกระทบถึงลูกหรือไม่ ปัจจุบันเริ่มมีการฉีดวัคซีนเพื่อโควิดบ้างแล้ว แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตรคงเป็นกังวลเกี่ยวกับฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ในครั้งนี้ว่าจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยหรือไม่ มาไขข้อสงสัยกันค่ะ

 

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด มีประโยชน์อย่างไร

เนื่องจากในขณะนี้ ประเทศของเราเริ่มมีการเปิดให้ฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อโควิด-19 แล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้ครอบคลุมถึงคนทุกคนกลุ่ม แต่เราก็ควรที่จะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันในครั้งนี้ โดยการฉีดวัคซีน มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ

เชื้อโควิด-19 นั้นคือการติดเชื้อที่เรียกว่า SARS-CoV-2 เมื่อฉีดวัคซีนไปแล้ว ตัววัคซีนจะทำงานร่วมกับการป้องกันตามธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน และช่วยให้เราลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากยิ่งขึ้น

  • ช่วยลดความรุนแรงของโรค และภาวะแทรกซ้อน

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในขณะนี้เชื้อไวรัสได้มีการกลายพันธุ์มากยิ่งขึ้น ในบางครั้งอาจไม่แสดงอาการ แต่บุคคลนั้นเป็นผู้ติดเชื้อ หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจก่อให้เกิดความเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ได้มากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่ายังไม่มีผลการวิจัยที่ออกมาอย่างแน่ชัดว่า ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แล้วจะอยู่ได้นานแค่ไหนก็ตาม

บทความที่น่าสนใจ : วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

 

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

ผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการให้ยาครั้งที่สอง ไม่มีรายงานผลข้างเคียงเกี่ยวกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรว่ามีอาการ หรือผลลัพธ์ของการฉีดวัคซีนแตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือบุคคลทั่วไป โดยหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนที่มีส่วนประกอบของ mRNA (พบใน Moderna และ Pfizer-BioNTech) หากคุณแม่มีไข้ หลังการฉีดวัคซีน คุณควรทานอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือในบางกรณีของคุณแม่หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด และถ้าหากคุณแม่ท่านใดที่เคยมีประวัติอาการแพ้อย่างรุนแรง (anaphylaxis) กับวัคซีนอื่น ๆ หรือการบำบัดแบบฉีด (เข้ากล้ามเนื้อทางหลอดเลือดดำหรือใต้ผิวหนัง) ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับการฉีดวัคซีน เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

การเลือกรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

คุณแม่หลายคนยังคงเป็นกังวลเกี่ยวกับการเลือกรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ว่าตนเองควรฉีดหรือไม่ ซึ่งคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรนั้นยิ่งมีความกังวลมากเข้าไปอีก ดังนั้นคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อทราบถึงเหตุ และผลต่าง ๆ ของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ไม่ว่าจะเป็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ความเสี่ยงของการได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ทั้งตัวคุณแม่และคุณลูก
  • แนวโน้มที่จะได้รับเชื้อไวรัส
  • ผลข้างเคียงของวัคซีน
  • ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

 

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ให้นมลูกได้ไหม?

คุณแม่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดสามารถให้นมลูกได้!! โดย American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) และ Academy of Breast feeding Medicine (ABM) แนะนำให้คุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร หรือไม่ได้อยู่ในช่วงนั้นให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดได้ โดยคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรนั้นไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมบุตรขณะได้รับวัคซีน ถึงแม้ว่าจะไม่มีการทดลองการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้กับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรก็ตาม แต่นักวิจัยเชื่อว่าการได้รับวัคซีนนั้นมีประโยชน์มากกว่าโทษ โดยอ้างอิงจากการวิจัยครั้งก่อนๆ ที่คุณแม่ได้รับวัคซีนไข้ทรพิษและไข้เหลือง ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นอย่างดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผลของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ส่งถึงลูกหรือไม่?

คุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่หมดกังวลได้เลยค่ะ เพราะทางนักวิจัยและพัฒนาได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีวิธีใดที่เป็นไปได้ที่วัคซีนนั้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกผ่านนมคุณแม่แน่นอน ถ้าจะมีผลก็เป็นผลลัพธ์ที่ดีมากกว่า เนื่องจาก ส่วนประกอบของ mRNA (พบใน Pfizer-BioNTech และ Moderna Vaccine) และวัคซีนของ Johnson & Johnson ไม่มีทางที่จะออกจากกระแสเลือดจากกล้ามเนื้อแขน และเดินทางไปยังเนื้อเยื่อเต้านมเข้าสู่ท่องส่งน้ำนมที่ทารกได้ทานเป็นแน่ อีกทั้งยังไม่สามารถเดินทางไปยังกระเพาะอาหาร และถูกดูดซึมเป็นสารอาหารได้ เนื่องจากความเป็นกรดในกระเพาะอาหารของเราจะย่อยมันเสียก่อน นอกจากนี้ยังมีการทดลองจากคุณแม่ที่ให้นมบุตร 6 คนที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ซึ่งผลออกมาแจ้งว่าไม่พบ mRNA ในนมแม่ นั่นแสดงว่าการฉีดวัคซีนไม่ส่งผลถึงทารกแน่นอน

 

 

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของคุณแม่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารกหรือไม่

ผลของการได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของคุณแม่ พบหลักฐานเกี่ยวกับแอนดิบอดี (antibody) ที่เรียกว่า Immunoglobulin A (IgA) และ Immunoglobulin G (IgG)  ซึ่งเป็นแอนดิบอดีที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน โดยตรวจพบได้เป็นจำนวนมากในนมของคุณแม่ภายหลังจากการที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มที่ 1 ในระยะเวลาเพียง 7 วันเท่านั้น แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะแอนดิบอดีเหล่านี้มีส่วนช่วยเรื่องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าได้

 

หากคุณแม่ให้นมบุตร ติดเชื้อโควิดควรได้รับวัคซีนหรือไม่

ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะเป็นคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร หรือไม่ได้ให้นมบุตรก็ตาม ก็หวังว่าคุณจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดนั้น มีการตอบสนองของแอนดิบอดีในผู้หญิง หรือคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรสูงกว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิดประเภทอื่น ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณแม่ก็ควรที่จะต้องป้องกันตนเองในระยะต้น เพื่อไม่ให้ทารกได้รับเชื้อจากทางอื่น (ไม่ใช่การผ่านน้ำนม) โดยต้องปฏิบัติตัวดังนี้

  • ล้างมือด้วยสบู่ และน้ำสะอาดอย่างน้อย 20 วินาที ก่อนอุ้มหรือใกล้ชิดทารก หากไม่มีสบู่ให้ใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือแทน โดยจะต้องมีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60%
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ให้นมบุตร

หากคุณแม่ที่กำลังเป็นกังวลหลังจากการได้รับเชื้อแล้วนั้นอยู่ระหว่างการรักษา คุณแม่สามารถเลือกที่จะใช้วิธีการปั๊มนมแทน ถึงอย่างไรก็ตามวิธีการและขั้นตอนการปั๊มนมให้บุตรต้องเป็นไปด้วยความสะอาด ถูกสุขอนามัย คุณแม่ควรทำการปั๊มนมคนเดียวภายในห้องกักตัว สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้งที่ทำการปั๊มนม

บทความที่น่าสนใจ : แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในตอนนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก เราขอให้คุณแม่สู้ ๆ นะคะ แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกันค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่ทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตรที่ประสบปัญหานี้อยู่ทุกคนนะคะ

 

ที่มา : rcog, cdc, chrichmond, parents

บทความโดย

Siriluck Chanakit