ตลอดช่วงตั้งครรภ์ คุณจะรู้สึกอยากซื้อของเตรียมไว้ให้ลูกน้อย แต่ถ้าผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านห้ามไม่ให้คุณซื้อเพราะจะโชคร้าย แล้วควร ซื้อของให้ลูกตอนกี่เดือน วันนี้เราจะพามาดูกันว่า ซื้อของก่อนคลอดจะโชคร้าย? จริงหรือ มันมีความเป็นมาอย่างไร และความจริงแล้วแม่ควร ซื้อของให้ลูกตอนกี่เดือน
การซื้อของใช้เด็กทารกก่อนคลอดลูกทำให้โชคร้าย ข้อห้ามนี้มาจากไหน?
คุณอาจรู้สึกประหลาดใจ ที่ได้รู้ว่าข้อห้ามเรื่องการซื้อของ ใช้เด็กทารก ก่อนคลอดลูก ซื้อของเตรียมให้ลูกตอนกี่เดือน ไม่ได้มีอยู่แค่ในวัฒนธรรม เอเชียเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เชื่อกันในหมู่ชาวยิว และ อีกหลายวัฒนธรรมทั่วโลก รวมถึงในยุโรป และ อเมริกา เหตุผลเบื้องหลังความเชื่อนี้ อาจมีเหตุผลมากกว่าที่คุณคิด
ในอดีตก่อน ที่วิทยาศาสตร์การแพทย์จะได้รับการพัฒนา แบบในปัจจุบัน อัตราการแท้ง ทารกตายในครรภ์ตอนคลอด และ การตายของเด็กเล็กนั้น สูงมากกว่า ในปัจจุบันนี้มากนัก ธรรมเนียมต่าง ๆ ข้อปฏิบัติ และ ข้อห้าม เกี่ยวกับผู้หญิง ตั้งท้อง ก็เกิดมาจากความกลัว และ ความเสี่ยงที่จะสูญเสียเด็กไปนั่นเอง
แต่เหตุผล ที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อ ที่ว่าการซื้อของใช้เด็กทารกก่อนคลอด ลูกจะทำให้โชคร้าย นั้นอันที่จริงก็ค่อนข้างตั้งมั่น อยู่บนความจริง สำหรับผู้หญิง ที่คลอดลูกแต่ ลูกตายในท้อง นับเป็นเรื่องสะเทือนขวัญ พอควรที่จะต้องขาย หรือ บริจาคสิ่งของที่ซื้อ ๆ มาในระหว่างตั้งท้อง ผู้หญิงหลาย ๆ คนก็รู้สึกว่าการเก็บสิ่งของ เหล่านั้นไว้เป็น เรื่องทุกข์ใจ เพราะเป็นสิ่งของที่ทำให้ นึกถึงค วามทรงจำเลวร้าย
ห้ามซื้อของก่อนคลอด ฉันควรทำตามความเชื่อนี้หรือไม่?
หากคุณเข้าใจ คำอธิบาย ที่ว่ามาข้างต้น ก็นับว่าเป็นเรื่องที่พอมีเหตุผล ที่คุณไม่ควรซื้อของอะไร เยอะเกินไปก่อนที่ คุณจะคลอดจริง ๆ เพื่อเป็นการปลอดภัยไว้ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การทิ้งทุกอย่างไว้จนถึงนาทีสุดท้าย ก็ดูเป็นสูตรสำเร็จ สำหรับความหายนะ นอกเสียจากว่าคุณมี กองทัพผู้ช่วยคอยดูแล ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งสุดท้ายที่ คุณอยากทำหลังกลับบ้านพร้อมลูกน้อย คือการต้องรีบวิ่งไปซื้อข้าวของ จำเป็นจากห้างร้านนั่นเอง หากคุณกำลังประหยัดอยู่ คุณคงไม่อยากทำแบบนั้น เนื่องจากคุณจะจบลงที่ การจ่ายค่าสิ่งของต่าง ๆ ด้วยราคาเต็มแทนที่ จะมีโอกาสล่าของ ลดราคาหรือของมือสอง
วิธีการประนีประนอม ที่ดีคือการเตรียมของจำเป็น เอาไว้ให้พร้อม อย่างช้าคือในช่วงไตรมาส ที่สามของการตั้งครรภ์ จากนั้นค่อยซื้อ ของที่เหลือเมื่อลูกเกิดมาแล้ว อีกวิธี ในการจัดการเรื่องนี้คือ การซื้อของเหล่านี้ไว้ แต่อย่าเอาของ เหล่านี้เข้าบ้าน ไม่เป็นไรหรอกหาก คุณอยากเก็บของเหล่านี้ ไว้ที่ใดสักที่ ขอร้อง คุณพ่อ คุณแม่ คุณก็ได้ว่าขอเก็บของใช้เหล่านี้ ไว้ที่บ้านของท่านก่อนได้หรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : ความเชื่อของไทย กับเรื่องโภชนาการในช่วงตั้งครรภ์
ความเชื่อเรื่องอื่นๆ เริ่มซื้อของเตรียมคลอดตอนไหน
ในช่วงอยู่เดือน ห้ามพาทารกออกจากบ้าน
ความจริง : เด็กในช่วงเป็นช่วงที่ทารกยังอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังทำงานไม่เต็มที่ หากพาออกไปข้างนอกเสี่ยงติดเชื้อโรคได้
เด็กทารกที่บิดขี้เกียจอยู่เรื่อย ๆ หรือบิดขี้เกียจบ่อย ๆ จะทำให้เด็กโตเร็วมีเนื้อเยอะขึ้น
ความจริง : อาการบิดตัวมากพร้อมกับร้องเสียงเอี๊ยดอ๊าดนั้น เป็นอาการปกติของเด็กวัยทารกที่ยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ ก็อาจใช้อาการนี้สังเกตเด็กกลุ่มที่อ้วนมาก น้ำหนักขึ้นเร็วเกิน 35 กรัมต่อวัน เด็กบางคนหิวเก่งทำให้กินมากเกินไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า บิดเรียกเนื้อ
เด็กป่วยบ่อยหรือเลี้ยงยาก ต้องยกให้เป็นลูกคนอื่นแล้วจะหาย
ความจริง : การยกลูกให้คนที่มีจิตใจดีงาม และเคยเลี้ยงเด็กแล้ว เด็กเลี้ยงง่าย ร่าเริง สุขภาพร่างกายแข็งแรง เคล็ดนี้ทำกันแค่เป็นพิธี เท่านั้น ซึ่งเป็นการช่วยในเรื่องทางจิตใจของผู้เลี้ยงเอง ไม่เกี่ยวกับสุขภาพแต่อย่างใด
ทารกตากแดดตอนเช้าแก้ปัญหาตัวเหลือง
ความจริง : เด็กทารกส่วนใหญ่จะมีอาการตัวเหลืองเล็กน้อยเมื่ออายุ 3-4 วัน และจะหายภายในอายุ 5-7 วัน ซึ่งความเชื่อเรื่องแสงแดดตามธรรมชาติ ช่วยลดเหลืองในเด็กนั้นช่วยได้น้อยมาก เพราะว่าแสงแดดมีความยาวคลื่นที่มีทั้งสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ซึ่งแสงที่จะช่วยเรื่องตัวเหลืองนั้น คือแสงสีน้ำเงินเท่านั้น ถ้าลูกตัวเหลืองผิดปกติควรนำลูกมาเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาให้ทันท่วงที
เด็กทารกใส่กำไลข้อเท้าจะนำพาโชคลาภมาสู่ครอบครัว
ความจริง : ประโยชน์จริง ๆ ของการใส่กำไลหรือกระพรวนนั้น คือ การบอกว่าเด็กหลับอยู่หรือตื่นขึ้น หรือการบอกตำแหน่งของเด็ก เมื่อเด็กเคลื่อนที่ก็จะเกิดเสียงให้คุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกอยู่ตรงไหน
ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เพราะอาจล่อตาล่อใจโจร และต้องคอยเปลี่ยนขนาดตามข้อเท้าเด็ก เพื่อไม่ให้เกิดการรัดข้อเท้าจนเกิดการบาดเจ็บ
Source : insider
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
เคล็ดลับดูแลแม่ท้องอ่อน การดูแล คุณแม่ท้องอ่อน ดูแลตัวเองยังไง?