ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา 2567 และกิจกรรมในวันเข้าพรรษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประวัติวันเข้าพรรษา ซึ่งปีนี้วันเข้าพรรษา ตรงกับ วันที่ 21 กรกฎาคม 2567 เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝนเป็นระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยได้บัญญัติไว้โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น โดยจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และจะสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

 

ประวัติและความเป็นมาของวันเข้าพรรษา ประวัติวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) มาจากคำว่า พรรษา ที่แปลว่า ฤดูฝน ส่วนคำว่า จำ นั้นแปลว่า พักอยู่ ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธที่สำคัญวันหนึ่งของประเทศไทย โดยมีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนในช่วงฤดูฝน ซึ่งวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) โดยพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้สืบทอดประเพณีการปฏิบัติและการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย

บทความที่น่าสนใจ : ประวัติวันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา 2567 กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา

 

 

ประวัติวันเข้าพรรษา นั้นเริ่มมาจาก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พอถึงฤดูฝนพระภิกษุส่วนใหญ่ก็อยู่ประจำที่ โดยมักถือเป็นประเพณีปฏิบัติอยู่จำพรรษามาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งที่เที่ยวเดินทางไปตามที่ต่าง ๆ

เนื่องจากตอนนั้นยังไม่ได้กำหนดให้ภิกษุอยู่จำพรรษา ทำให้ชาวบ้านพากันติเตียนถึงการเดินทางของท่านเพราะไปเหยียบข้าวกล้าในนาเสียหาย เมื่อรู้ไปถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามจนได้ความจริง แล้วทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน

 

ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้จำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น ก็เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักจากการเดินทางเผยแผ่ศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ที่จะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาส หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วยกันเอง

อีกทั้งในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอด 3 เดือนนั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้บำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และนับเป็นโอกาสพิเศษที่มากกว่าวันสำคัญอื่น ๆ โดยในวันเริ่มต้นพรรษานี้ จะมีการถวายหลอดไฟ หรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน แก่พระสงฆ์ เพื่อไว้สำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้ตลอดการอยู่จำพรรษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การเข้าพรรษาตามพระวินัย มี 2 แบบ ได้แก่

  • เข้าพรรษาตามปกติ เรียกว่า ปุริมพรรษา เริ่ม แรม 1 ค่ำ เดือน 8 หากมีเดือน 8 สองหนก็จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็จะมีสิทธิ์รับกฐิน
  • เข้าพรรษาหลัง เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา เริ่ม แรม 1 ค่ำ เดือน 9 และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ในกรณีที่พระภิกษุติดกิจต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัยให้ไม่สามารถเข้าพรรษาในรอบแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : บทสวดมนต์ประจำวัน ทำอย่างไรให้ชีวิตดีขึ้น ไร้อุปสรรคขัดขวาง

 

ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ถึงแม้ว่าการเข้าพรรษาจะถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรงที่ไม่สามารถละเว้นได้ แต่ในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้นอาจมีกรณีจำเป็นบางอย่างที่ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างแรมที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณีไป

ซึ่งข้อกำหนดนี้ได้ระบุไว้ในพระไตรปิฎก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนา หรือการดูแลบิดามารดา ทั้งนี้ ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า สัตตาหกรณีย พระพุทธเจ้าได้ทรงระบุเหตุต่าง ๆ เอาไว้ในกรณีจะออกจากที่จำพรรษาไปชั่วคราวได้ ดังนี้

  1. การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และบิดามารดา
  2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5
  3. ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น หาอุปกรณ์ซ่อมกุฏิ วิหารที่ชำรุดทรุดโทรมได้
  4. ไปเพื่อฉลองศรัทธาทายกที่เขาส่งตัวแทนมานิมนต์ไปร่วมบำเพ็ญบุญได้

 

ประเพณีแห่เทียนพรรษา 

การแห่เทียนพรรษาเกิดจากความจำเป็นที่สมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อพระภิกษุอยู่รวมกันมาก ๆ เพื่อปฏิบัติกิจวัตร เช่น การสวดมนต์ตอนเช้ามืดและพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม การบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน

ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันนำเทียนมาถวาย ซึ่งช่วงต้นก็คงจะถวายเป็นเทียนเล็ก ๆ ธรรมดา และต่อมาก็ได้มีการมัดเทียนเล็ก ๆ มารวมกันเป็นต้น คล้ายต้นกล้วยหรือลำไม้ไผ่ แล้วติดกับฐาน ที่เรียกกันว่า ต้นเทียน หรือ ต้นเทียนพรรษา และเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ จนเป็นเทียนพรรษาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

 

 

กิจกรรมวันเข้าพรรษา

  • ร่วมกิจกรรมหล่อเทียนจำนำพรรษา
  • ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร
  • ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
  • อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง :

100 คำคมธรรมะ คำคมสอนใจที่นำมาจากศาสนาพุทธ ให้จิตใจสงบ

ไหว้พระ 9 วัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา สายบุญอย่างเราไม่ควรพลาด

พากราบพระที่ วัดเชิงท่า วัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอยุธยา

ที่มา : Event.sanook, Thairath, Hilight

บทความโดย

watcharin