ผู้ชายใส่สีชมพูผิดตรงไหน? ทางการไต้หวันออกมาใส่หน้ากากอนามัยสีชมพู
เหตุการณ์ โคโรน่าไวรัส หรือ โควิด 19 ยังคงทวีความรุนแรง ไปทั่วทั้งโลก สาเหตุหนึ่ง อาจจะมาจาก ความไม่แน่ใจในสถานการณ์ เพราะยังไม่มีใคร ผลิตวัคซีนออกมาได้ อีกหนึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ ปัญหาการขาดแคลนหน้ากาก อย่างในประเทศไต้หวันเอง ก็มีการทำหน้ากากอนามัยสีชมพูออกมา ทำให้เด็กผู้ชายหลายคนออกมาแสดงออกว่าไม่พอใจ ผู้ชายใส่สีชมพูผิดตรงไหน? เรามาดูกันดีกว่าว่า ปัญหานั้นมาจากไหนกันแน่
ไต้หวันออกมาแถลงข่าวว่าผู้ชายก็ใส่สีชมพูได้
สืบเนื่องจาก ข่าวที่ออกมาเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า ประเทศไต้หวัน ได้มีการผลิต หน้ากากอนามัยสีชมพู ออกมาวางจำหน่าย ทำให้เด็กชายจำนวนมาก ออกมามาแสดงถ้าทีอิดออด ว่าไม่อยากจะใส่สีชมพู เพราะ สีชมพูเป็นสีของผู้หญิง ทำให้ทางการต้องออกมาแถลงการณ์ต่อสาธารณะเลยทีเดียว สร้างความ แปลกใจ และ ชื่นชมของหลายๆชาติ
เมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีการแถลงข่าวจาก Central Epidemic Command Centre (CECC) หรือ หน่วยควบคุมโรคกลางของประเทศไต้หวัน ออมายืนเรียงกัน ใส่หน้ากาก อนามัยสีชมพู เพื่อแสดงให้เห็นว่า สีชมพู ผู้ชายก็ใส่ได้ มันไม่ใช่สีของเพศใด เพศหนึ่ง
สีไม่มีเพศ ใครอยากใส่สีอะไรก็ใส่ได้
ต้นเรื่องนี้เลย มาจาก เด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ใส่หน้ากากอนามัยสีชมพูไปโรงเรียน แล้วโดนเพื่อนแกล้ง ทางกระทรวงสาธารณะสุข ของไต้หวัน เลยออกมาประกาศว่า
พวกเขาอยาก ให้ทุกคนได้รับรู้ว่า ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะใส่สีอะไรก็ตาม ทุกคนใส่สีชมพูได้หมด ผู้ชายก็ใส่สีชมพูได้ ไม่ผิดอะไรเลยแม้แต่น้อย
เขายังออกมาพูดให้กำลังใจด้วยอารมณ์ดีอีกว่า สีชมพูไม่ได้แย่เลยนะ คนอายุน้อยๆ อาจจะไม่รู้ก็ได้ ว่าสมัยก่อน มีการ์ตูนเรื่อง Pink Panther ซึ่งมันทำให้ทุกคนคลั่งไคล้สีชมพูมากๆ
เขายังย้ำเตือนอีกครั้งว่า หน้ากากอนามัย แบบไหน ใส่แล้วก็ช่วยป้องกันได้ทั้งนั้นแหละ
รู้หรือไม่เมื่อก่อนสีชมพูเป็น สีของผู้ชาย
ใส่สีชมพูแล้วผิดตรงไหน? รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วนั้น ในสมัยก่อน สีชมพู เคยเป็นสีของผู้ชาย อ้างอิงจากหนังสือเรื่อง Pink and Blue: Telling the Boys from the Girls in America ของผู้เขียน Jo B. Paoletti ศาตราจารย์จาก มหาวิทยาลัย Maryland กล่าวว่า ในสมัยก่อน การแต่งตัวของเด็กไม่ได้แยกเพศด้วยซ้ำ เด็กทุกคนเกือบจะใส่เดรสสีขาว กันทั้งหมด
จนเริ่มมีสีมาก็เมื่อ กลางศตวรรษที่ 19 และ ยังไม่มีใครมากำหนดสี จนถึงช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการตีพิมพ์ใน Earnshaw’s Infants’ Department ว่า สีของผู้ชายคือ สีชมพู เพราะเป็นสีที่ดูมีความเข้มแข็งมากกว่า และสีน้ำเงิน มีความเหมาะสม น่ารัก กว่าเด็กผู้หญิงมากกว่า
ในปี 1927 นิตยสารชื่อดังอย่าง Time ก็เคยถึงขึ้นผ่านการตีพิมพ์มาแล้วว่า สีไหนเหมาะกับเพศอะไร และ สีของเด็กผู้ชายก็ยังคงเป็นสีชมพู
จุดเปลี่ยนคือธุรกิจ
ส่วนเหตุผลที่มีการเปลี่ยน การสลับสีปนะจำเพศกันนั้น ก็มีจาก ธุรกิจ การขายของ ที่อยากจะขายของ แยกเพศ เพื่อที่จะมีอะไร ได้ขายมากขึ้น เพื่อจำนวนคนซื้อ จากความนิยมที่ได้รับจากทั้งสินค้า เช่น สีเสื้อ หรือ ของเล่น ทำให้คนมีความเชื่อนี้ กันต่อๆมาว่า สีฟ้าเป็นของผู้ชาย และ สีชมพูเป็นของผู้หญิง
การกำหนดสีไม่ใช่สิ่งที่ดี
ประเด็นหลักของบทความนี้ ก็เพื่อจะมาบอกว่า การกำหนดสี หรือ การกำหนดว่า เด็กผู้ชาย หรือ เด็กผู้หญิง ควรทำอะไร หรือ ไม่ควรทำอะไร ตั้งแต่เด็กนั้น มันจะส่งผลไปถึงตัวเด็กในระยะยาวได้ อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
คนเป็นผู้ปกครองอาจจะห้าม หรือ ปลูกผังสี กลายเป็นว่า ลูกอาจจะไม่กล้าคิดกล้าทำ ไม่กล้าเดินออกจากกรอบ ที่ถูกตั้งไว้ตั้งแต่แรกในสังคม ถ้าเด็กต้องโตมาในสภาพแวดล้อม หรือ กระบวนการคิดแบบนี้ มันก็ยากที่จะต่อยอดได้
ถ้าเด็กคิดว่าเขาสามารถเป็นได้เพียงแต่สิ่งๆเดียว เด็กก็จะไม่กล้าคิด ไม่กล้าฝัน เมื่อเขาไม่กล้าที่จะฝัน มันก็บอกได้เลยว่า ในอนาคต เส้นทาง หรือ ลู่ทางต่างๆ ที่เขาคิดว่าตัวเองทำได้ จะยิ่งน้อยลงไป เขาอาจจะกลายเป็นเด็กที่ ขี้กลัว ไม่กล้าเลือก หรือ ไม่มีความมั่นใจก็เป็นได้
Source : mothership, smithsonianmag
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
อัพเดตความน่ารักของ สายฟ้า-พายุ ลูกแม่ชมพู่ จะครบเดือนแล้ว!
วิจัยจีนเผย เลือดกรุ๊ป A เสี่ยงติดโควิด มากกว่าเลือดกรุ๊ปอื่น กรุ๊ป O เสี่ยงน้อยสุด
สีรถมอเตอร์ไซค์ถูกโฉลกตามวันเกิด 2563 สีรถเรียกทรัพย์ เสริมดวงโชคลาภ