ทำอย่างไรดี ยังไม่พร้อมมีลูก ?? สารพัดวิธีคุมกำเนิด ที่ช่วยคุณได้
ถ้าหากว่าคุณยังไม่พร้อมมีลูก อย่ารอช้า!!! คุณกำหนดเลยค่ะ มาดูสารพัดวิธีคุมกำเนิด ทั้ง 7 วิธี ที่เราคัดสรรมาในบทความนี้ เพื่อช่วยให้คุณวางแผนครอบครัวเรื่องการมีลูก ที่ได้ประสิทธิภาพ
วิธีการคุมกำเนิด สำหรับครอบครัวที่ยังไม่พร้อม ที่จะมีลูก
1. การนับวันตกไข่ วิธีนี้ ถือว่าเป็นวิธีที่ basic มาก ๆ แต่จะเหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ เพราะพบอัตราการตั้งครรภ์จากวิธีนี้ ถึงร้อยละ 9 – 15.5 การนับวันนั้น สามารถทำได้โดย วันแรกที่มีประจำเดือน ให้เป็นเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน และนับไปถึงวันที่ 14 ของรอบเดือน วันนั้นแหละคือวันที่ “ไข่ตก” จึงทำให้มีโอกาสท้องได้มาก ที่สำคัญ ให้เหลื่อม ๆ ไว้สักวัน หรือสองวันก็จะดีนะคะ เพราะช่วงนั้น ถือเป็นช่วงเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มาก ๆ ค่ะ
2. การหลั่งข้างนอก การหลั่งข้างนอกนั้น ถือว่าเป็นวิธีการของตุณพ่อล้วน ๆ ค่ะ และต้องใช้ความสามารถ และความพยายามให้มาก ๆ เพราะ ตัวคุณพ่อเองเท่านั้น ที่จะรู้ว่า ในขณะนั้นน้ำเชื้อใกล้จะออกแล้ว จึงต้องรีบ เอาอวัยะเพศออกมาจากช่องคลอด ก่อนที่น้ำเลี้ยงเชื้อใส ๆ จะออกด้วยซ้ำ ซึ่งวิธีนี้ มีอัตราเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ถึงประมาณร้อยละ 4 – 27 เลยที่เดียว
3. การใช้ถุงยางอนามัย การใช้ถุงยางอนามัย ถือว่าเป็นวิธี ที่มีอัตราการเสี่ยงตั้งครรภ์ ประมาณร้อยละ 2 – 15 การใช้ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธุ์นั้น นอกจากจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ยังมีข้อดีในการ ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย แต่ก็อาจมีข้อผิดพลาดได้ในหลาย ๆ กรณี เช่น การฉีดขาดของถุงยางอนามัย หรือ ถุงยางอนามัยรุ่น เมื่ออวัยวะเพศมีการอ่อนตัวลงหลังจากถึงจุดสุดยอดแล้ว หากนำอวัยวะเพศออกมาไม่ทัน ก็อาจจะทำให้ท้องได้
4. การใส่ห่วงอนามัย การใส่ห่วงอนามัยในปัจจุบัน มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบทองแดง และโอร์โมน ซึ่งการใส่ห่วงอนามัยต่อ 1 ครั้งนั้น มีอายุการใช้งานประมาณ 3 – 5 ปี ไม่ควรเกินกว่านั้น การใส่ห่วงอนามัย อาจทำให้มีอาการปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อยบ้าง เพราะกลไกการทำงานบ้างอย่างของห่วงอนามัย ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการรัดตัว การใส่ห่วงแบบทองแดงพบกว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ ประมาณร้อยละ 0.6 – 0.8 โดยที่แบบฮอร์โมนนั้น มีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.1
5. ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาเม็ดสำหรับคุมกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบบฮอร์โมนรวม และแบบฮอร์โมนเดี๋ยว แบบฮอร์โมนรวมนั้น ยังแบ่งออกเป็นอีก 2 แบบ ได้แก่ แบบ 21 เม็ด และแบบ 28 เม็ด อัตราความเสี่ยงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 8 โดยที่อีกชนิดหนึ่งนั้น คือยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมเพื่อคุมฉุกเฉิน ต้องทานยาภายใน 72 ชั่วโมง โดยอัตราความเสี่ยงตั้งครรภ์จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-7
สำหรับยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี๋ยวนั้น จะช่วยลดผลข้างเคียงของยาคุมกำหนิดได้ดี กรณีที่คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และต้องการคุมกำเนิดไปด้วย จะใช้ยากลุ่มนี้ อัตราความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8
6. แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ให้ใช้แปะผิวหนังในรอบ 1 เดือน โดยรอบเดือนปกติของผู้หญิงจะมีระยะเวลาประมาณ 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์ ให้แปะแผ่นยาคุมกำเนิด 3 สัปดาห์ติดต่อกัน สัปดาห์ละ 1 แผ่น และหยุดแปะ 1 สัปดาห์จึงเริ่มแปะแผ่นใหม่ การแปะแผ่นแผ่นยาแบบนี้มีผลในการคุมกำเนิดทันทีที่แปะ ไม่ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย อัตราความเสี่ยงในการตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 8
7. การฝังยาคุมกำเนิด ในอดีต การฝังยาคุมกำเนิดต้องใส่ถึง 6 หลอดเลยที่เดียว แต่ในปัจจุบันนั้น ใช้แค่เพียง 1 – 2 หลอดเท่านั้น อายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 3 – 5 ปี อัตราความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ประมาณ 0.1 ตัวยาที่ใช้ฝังคุมกำเนิดนี้ เป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เช่นเดียวกับยาตุมกำเนิดและห่วงแบบฮอร์โมน นอกจากนี้ ฤทธิ์ข้างเคียงของยา สามารถใช้รักษาภาวะอื่น ๆ เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากจะเลือกคุมกำเนิด ควรเลือกที่เหมาสมกับตัวเอง หากไม่มั่นใจ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำจะดีที่สุดค่ะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th
ภาพยาฝังคุมกำเนิด จาก https://universalmedicalny.com/birth-control/norplant/
วารสารวิชัยยุทธ สุขภาพสตรีและเด็ก ปีที่ 9 ฉบับที่ 42
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หยุดยาคุมกำเนิดนานแค่ไหนก่อนมีลูก?