ในฐานะพ่อแม่ การปกป้องดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัยถือเป็นหน้าที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของเรา หลายครั้งเรามักเผลอปล่อยลูกคลาดสายตาเพียงชั่วครู่ โดยไม่ทันคิดว่าอันตรายอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เหตุการณ์ ลูกเล่นปลั๊กไฟ คว้าปลั๊กไฟเล่น เอานิ้วแหย่ปลั๊ก จนได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ถือเป็นอุทาหรณ์เตือนใจให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลลูกอย่างใกล้ชิด วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการปล่อยลูกคลาดสายตา พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางป้องกันดูแลลูกน้อยอย่างปลอดภัย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่านสามารถปกป้องลูกน้อยจากอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพกันค่ะ
แม่เตือนภัย! ลูกเกือบถูกไฟดูด เผยสาเหตุเกิดจากการ ลูกเล่นปลั๊กไฟ
เป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์เตือนใจสำหรับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มักปล่อยให้ลูกน้อยอยู่คนเดียว จนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น โดยเพจเฟซบุ๊ก เจ๊ม้อย v-news ได้โพสต์คลิปจากคุณแม่ท่านหนึ่ง พร้อมข้อความระบุว่า
“คุณแม่ท่านหนึ่งมาเตือนบรรดาคุณแม่ว่าอย่าปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว เพราะอาจจะเสียใจไปตลอดชีวิต คราวนี้เป็นคุณแม่ที่โดนไฟดูด”
ในเหตุการณ์นี้ คุณแม่กำลังทำข้าวต้มให้ลูกอยู่ในครัว ปล่อยให้ลูกน้อยนอนเล่นคนเดียว โดยไม่ได้สังเกตสายโทรศัพท์ที่ห้อยอยู่ใกล้ ๆ ในขณะเดียวกันเด็กน้อยดิ้นไปดิ้นมาจนไปเกี่ยวสายโทรศัพท์ ทำให้ปลั๊กไฟหล่นลงมา และเผลอไป คว้าปลั๊กไฟเล่น พอดี จากคลิปวิดีโอเราจะเห็นนาทีที่ลูกน้อยดิ้นไปมา ก่อนที่มือจะไปเกี่ยวเข้ากับปลั๊กไฟ ทำให้สายชาร์จพันเข้ากับตัวเด็ก จนกระทั่งคุณแม่เดินเข้ามาเห็นเหตุการณ์พอดี จึงรีบเข้าไปดึงปลั๊กไฟออกจากตัวลูก ทำให้เธอโดนไฟดูดเล็กน้อย ทั้งนี้ โชคดีที่เด็กไม่ได้รับอันตรายใด ๆ
หลังจากคลิปวิดีโอนี้ถูกเผยแพร่ ก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย หลายคนเตือนให้คุณแม่ไม่ควรปล่อยลูกไว้คนเดียว และควรเก็บปลั๊กไฟให้พ้นมือเด็ก
เหตุการณ์นี้เป็นบทเรียนสำคัญที่สอนให้คุณแม่ทุกท่านตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากปล่อยให้ลูกน้อยอยู่คนเดียว แม้จะเพียงชั่วครู่ก็ตาม
ระวังอันตรายใกล้ตัวคร่าชีวิตลูก
โดยทั่วไป แล้วเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการโดนไฟดูดมากที่สุด คือเด็กที่อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เด็กเล็กตั้งแต่วัยคลานขึ้นไปนั้น มักชอบที่จะใช้นิ้วเขี่ยอะไรไปทั่ว ชอบหยิบของที่ตกอยู่ตามพื้นและบางครั้งก็มักจะเอาพวกกิ๊บติดผม หรือของต่าง ๆ ที่เขาคว้าได้ แหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟตามผนัง ตามปลั๊กสามตา หรือปลั๊กต่อพ่วงที่เสียบไฟไว้ บางครั้งก็ คว้าปลั๊กไฟเล่น ไปกัดด้วยความมันเขี้ยว จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรงกับลูกได้ ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีป้องกัน ระวังอันตรายใกล้ตัวคร่าชีวิตลูก ไว้ก่อนจะดีกว่าครับ
#1 ใส่ตัวครอบปลั๊ก
หาซื้อตัวครอบปลั๊กไฟมาปิดรูปลั๊กที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งตัวครอบปลั๊กนั้นหาซื้อได้ง่ายมากตามแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้าง หรือตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
#2 ความสูงของปลั๊กไฟ
ควรติดตั้งปลั๊กไฟให้อยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร
#3 เก็บและม้วนสายไฟทุกครั้ง
เก็บและม้วนสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดหลังใช้งานเสร็จเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกัดสายไฟ
#4 ไม่ควรปล่อยให้สายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยหรือเสียบพาดอยู่ตามพื้น
เพราะเด็กเล็กอาจกระชากสายไฟเล่นจนทำให้เกิดไฟช็อต และอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่นกระติกน้ำร้อนร่วงตกลงมาใส่หัวเด็กจนเป็นอันตรายได้
#5 หมั่นตรวจสอบสายไฟ
อย่าปล่อยให้สายไฟเปื่อยหรือชำรุด หากเจอต้องเปลี่ยนทันที ไม่ควรนิ่งนอนใจ
#6 ระวังปลั๊กสามตา หรือปลั๊กต่อพ่วง
หากมีการใช้ปลั๊กสามตา หรือปลั๊กต่อพ่วง ควรไว้ในที่สูง และไม่ควรเสียบไฟมากจนเกินกำลังไฟ เพราะบางครั้งการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลายๆตัว ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟช็อตหรือไฟรั่วได้
#7 ระวังเสียบปลั๊กไม่แน่น
การเสียบปลั๊กไม่แน่น ไม่มิด มีเหล็กเสียบเลื่อนออกมาก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องคอยระวัง เพราะนอกจากจะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดประกายไฟที่หัวปลั๊กแล้ว ยังเสี่ยงต่อการที่เจ้าตัวเล็กจะไปจับเล่นจนโดนไฟดูดอีกด้วย
#8 ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ
คุณพ่อคุณแม่ควรหาซื้อและติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
#9 ตรวจดูต้นไม่ที่ปลูกไว้รอบบ้าน
ตรวจดูต้นไม่ที่ปลูกไว้รอบบ้าน ไม่ให้ไปเกี่ยวกับสายไฟ และหากพบเห็นก็ไม่ควรหักกิ่งตัดต้นเองนะครับ ควรโทรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะดีที่สุด
คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมสำรวจตรวจตราดูนะครับว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมีอะไรชำรุด หรือวางเกะกะตามพื้นบ้างหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยและคนในครอบครัวครับ
หากลูกถูกไฟช็อต หรือ ไฟดูด มีวิธีปฐมพยาบาลอย่างไร?
ถึงแม้เราอาจมีวิธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุไฟดูดแล้ว อย่างไรก็ตามอุบัติเหตุเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุขึ้นจริง ๆ เราควรมีวิธีรับมือกับเหตุการณ์นี้อย่างไรบ้าง มาดูกันครับ
1) เมื่อพบเห็นลูกถูกไฟดูด สิ่งสำคัญคือต้องตั้งสติและไม่ควรเข้าไปช่วยเหลือโดยประมาท เพราะกระแสไฟฟ้าอาจวิ่งเข้าสู่ร่างกายของเราได้ ขั้นตอนแรกคือรีบสับคัตเอาท์หรือตัดกระแสไฟให้เร็วที่สุด จดจำไว้ว่ายิ่งช้า อันตรายต่อชีวิตของลูกก็ยิ่งมากขึ้น เมื่อตัดแหล่งกำเนิดไฟฟ้าได้แล้ว จึงค่อยเข้าไปช่วยเหลือลูกตามลำดับ
2) หากเห็นว่ากระแสไฟฟ้ายังทำงานอยู่ ให้ใช้ไม้กวาด เก้าอี้ ผ้าผืนใหญ่ หรือพรมเช็ดเท้า มาช่วยดันตัวเด็กที่ถูกไฟช็อตให้ออกห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดการช็อต ในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ควรยืนอยู่บนพื้นที่แห้ง หรือมีผ้าหรือกระดาษหนังสือพิมพ์รองเท้าขณะที่เข้าช่วยเหลือ รวมถึงห้ามใช้อุปกรณ์ที่เป็นเหล็กหรือ เปียกน้ำ เพราะสิ่งเหล่านี่จะเป็นตัวนำไฟฟ้า
3) ตรวจสัญญาณชีพว่าเด็กยังหายใจอยู่ไหม หากสัญญาณชีพอ่อนแรง หรือหยุดหายใจ ควรทำการปฐมพยาบาล CPR ทันที
4) หากมีรอยแผลไหม้ ให้ถอดเสื้อผ้าชิ้นที่ถอดออกง่าย และใช้น้ำสะอาดรินล้างแผลไหม้จนกว่าอาการจะทุเลาลง
5) หากเด็กเป็นลม มีอาการตัวซีด หรือเกิดอาการช็อค ให้รีบวางตัวผู้ป่วยลง โดยควรให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัว ยกขาขึ้น และห่มด้วยผ้าห่ม คอยอยู่ดูแลเด็กจนกว่ารถพยาบาลจะมารับตัวไปรักษา
แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่อุบัติเหตุ ไฟช็อต และ ไฟดูด เป็นอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกที่ ทุกเวลา คุณพ่อคุณแม่จึงควรมีความรู้และเตรียมพร้อมรับมือ สิ่งสำคัญคือการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการประหยัดด้วยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก เพราะอาจเสี่ยงต่อการรั่วไหลของกระแสไฟและทำให้เกิดไฟดูดได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นตรวจสอบสภาพสายไฟ ปลั๊กไฟ และติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว เพื่อป้องกันอันตรายภายในบ้าน และสอนให้ลูกน้อยรู้จักอันตรายจากไฟฟ้า ไม่ให้เล่นใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า การใส่ใจดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ จะช่วยสร้างบ้านที่ปลอดภัย ปราศจากอันตรายกันครับ
ที่มา: BrightTV, DDproperty, Pobpad
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก
ใจสลาย! เด็กชาย 3 ขวบ เล่นซน แกะเทปพันสายไฟ ถูก ไฟดูด เสียชีวิต!