ลูกเดือนแรก ร้องไห้ทั้งคืน ไม่ยอมนอน งอแงจนแม่เหนื่อย เอาใจลูกเดือนแรกยังไงก็ไม่ถูก 

ช่วงแรก ๆ ไม่เท่าไหร่พอ ลูก 2 สัปดาห์ ไม่ยอมนอน ร้องไห้ทั้งคืน งอแงจนแม่เหนื่อย เอาใจลูกไม่ถูก จะกินนม จะนอน จะทำยังไงให้ถูกใจลูก มาดูกันดีกว่าว่าลูกร้องไห้ทั้งคืน ไม่ยอมนอน แม่ต้องทำยังไงถึงจะถูกใจลูกจ๋า แม่เหนื่อย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเดือนแรก ร้องไห้ทั้งคืน ไม่ยอมนอน

หมดปัญญาแล้ว! แม่เหนื่อยจะแย่ อุ้มก็แล้ว วางก็แล้ว เอาใจลูกไม่ถูก! ลูกเดือนแรก ร้องไห้ทั้งคืน ไม่ยอมนอน เมื่อไหร่จะดีขึ้น แม่มือใหม่ต้องทำยังไง เอาใจลูกไม่ถูกแล้วเนี่ย

ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย ของเด็กทารก หรือทารกแรกเกิด โดยเฉพาะลูกเดือนแรก ที่แม่ ๆ เอาไม่อยู่ ไม่รู้ต้องทำยังไง อย่างแรกคือ ทารกร้องไห้มาก โดยเฉพาะหลัง 2 สัปดาห์แรก ทารกจะร้องไห้หนักขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้แม่มือใหม่เอาใจไม่ถูก เพราะช่วงแรก ๆ ทารกแรกเกิดไม่ค่อยร้องกวน เอาแต่นอนยิ้มแฉ่งสบายใจ บางครั้งทำให้พ่อแม่และผู้เลี้ยงเกิดความวิตกกังวล

 

เมื่ออายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไปจะพบว่าทารกปกติอาจร้องไห้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน

โดยธรรมชาติ เมื่อทารกอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ จะร้องไห้โดยเฉลี่ยวันละ 2.75 ชั่วโมง ร้องจนเสียงแหบเสียงแห้ง ร้องจนแม่เครียด

หลังจากนั้น เมื่ออายุ 10-12 สัปดาห์ ทารกจะร้องไห้น้อยลงเหลือประมาณวันละ 1 ชั่วโมง

คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงนะคะ การร้องไห้นี้ไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อร่างกายหรือพัฒนาการของทารก แต่การร้องไห้ของทารกนั้น เป็นสัญญาณบ่งบอกความรู้สึก ความต้องการ อย่าลืมว่า ทารกยังพูดไม่ได้ การร้องไห้จึงเป็นการสื่อสารเดียวที่จะทำให้พ่อแม่เข้าใจได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สาเหตุของการร้องไห้ของทารก ตั้งแต่เดือนแรก

  • ลูกน้อยหิวนม
  • ทารกรู้สึกเหนื่อย มีอาการเพลีย และอยากนอน
  • ลูกอาจจะจุก เนื่องจากกินนมเข้าไป และเรอออกไม่หมด
  • ลูกรำคาญ รู้สึกไม่สบายตัว จากผ้าอ้อมเปียก หรือถุงมือรัดนิ้วได้
  • ทารกมีอาการเจ็บปวดหรือเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ไม่สบาย แม่ต้องสังเกตร่างกายลูก ดูอวัยวะต่าง ๆ ว่า แดงไหม ลูกอาจปวดหูจากหูอักเสบ หรือมีร่องรอยแผลจากแมลง มดกัด เป็นต้น
  • อยากให้แม่อุ้ม ลูกจึงร้องไห้อ้อนรู้สึกไม่พอใจ ลูกไม่ได้ดังที่ต้องการเนื่องจากพ่อแม่ไม่เข้าใจ
  • อย่าคิดว่า เด็กเล็ก ๆ ไม่รับรู้อะไร ลูกอาจได้รับความวิตกกังวล ซึ่งถ่ายทอดมาจากผู้เลี้ยงดูได้

 

พ่อแม่ต้องทำยังไง ลูกถึงจะหยุดร้อง

  1. พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมทารก และลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ของลูก เพื่อที่จะได้ตอบสนองให้ตรงกับความต้องการ ที่สำคัญ พ่อแม่ควรตอบสนองความต้องการของลูกในช่วงอายุ 6 เดือนแรกโดยทันทีตามที่ลูกต้องการ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะไว้ใจพ่อแม่ ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันที่มั่นคง เชื่อมั่นว่าพ่อแม่จะสามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาได้ การอุ้มและสัมผัสทารกอย่างสม่ำเสมอระหว่างวัน สามารถช่วยให้ทารกร้องไห้ลดลงได้
  2. สร้างบรรยากาศสบาย ๆ ในการเลี้ยงดูพ่อแม่ควรผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวลมากไป อาจหาคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลลูกบ้าง ผู้เลี้ยงดูควรผลัดกันดูแล อุ้ม ปลอบโยนเด็ก โดยเลือกคนที่ไว้ใจได้ หรือพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อความปลอดภัยของลูก อาจเปิดเพลงเบา ๆ ทำให้บรรยากาศดี หรือถ้าเด็กร้องอยู่นานจนเหงื่อแตกก็ให้เช็ดตัว หรืออาบน้ำให้สดชื่น
  3. ปรึกษาแพทย์หากสงสัยว่ามีความผิดปกติของร่างกาย เช่น หูอักเสบ ไม่สบาย สำหรับทารกแรกเกิดในเดือนแรก อาจมีอาการมากมายที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้ ใส่ใจ บางอย่างก็เป็นอาการธรรมดาที่เกิดกับทารกปกติทั่วไป แต่บางครั้ง ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการผิดปกติของทารกได้
  4. พ่อแม่ควรปรับอารมณ์ ไม่เครียดหรือวิตกกังวลมากไป ควรเข้าใจว่าการร้องไห้ของลูกเป็นเรื่องธรรมชาติของทารก หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงเดือนแรกของทารกแรกเกิด พ่อแม่มือใหม่ก็จะเหนื่อย ๆ หน่อย แต่มันคือการเรียนรู้ในทุก ๆ วัน เพียงแต่ต้องใส่ใจและหมั่นสังเกตอาการลูกรัก ถ้าทารกเดือนแรกร้องไห้มาก ประกอบกับเกิดความผิดปกติอื่น ๆ ทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ

 

ที่มา : https://www.thaipediatrics.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกติดอุ้มนอน หลับยาก วางไม่ได้เลย คุณแม่ไม่ไหวแล้วค่ะ ทำไงดี

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน แต่ละวันหนูทำอะไรบ้าง

อาบน้ําทารกวันละกี่ครั้ง อาบน้ำแบบไหนให้ลูกปลอดภัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya