ก้าวสำคัญในช่วง 12 เดือนแรกของหนู

คุณพ่อคุณแม่ย่อมตื่นเต้นกับพัฒนาการของลูกน้อยโดยเฉพาะในระยะ 12 เดือนแรกของชีวิต มาสำรวจกันค่ะว่าเจ้าตัวเล็กของคุณได้ผ่านก้าวสำคัญในช่วง 12 เดือนครบหมดแล้วหรือยัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ก้าวสำคัญในช่วง 12 เดือนแรกของทารก

เริ่มมีการเปรียบเทียบ

คุณกังวลว่าลูกน้อยวัย 12 เดือนของคุณมีพัฒนาการที่สมบูรณ์พร้อมอย่างที่คุณหวังหรือเปล่าคะ ยอมรับเถอะค่ะว่าคุณเคยแอบเปรียบเทียบลูกน้อยของคุณกับเด็กอื่น เพียงเพื่อจะดูว่าพัฒนาการของลูกสมวัยหรือไม่ วิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดความเครียดและความอิจฉาคือการเลิกเปรียบเทียบค่ะ ขอให้ระลึกเสมอว่าทารกแต่ละคนมีจังหวะเวลาทางพัฒนาการของตนเองและไม่ควรถูกเปรียบเทียบกับทารกอื่น ๆ

พัฒนาการเด็ก 0-1 ปี

พัฒนาการของทารก

พัฒนาการในช่วง 12 เดือนแรกของทารกประกอบด้วยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคม การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่

พัฒนาการด้านสังคมได้แก่การมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงและใบหน้าของผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การยิ้มและส่งเสียงอ้อแอ้ พัฒนาการด้านภาษาอาจเป็นไปในเชิงรับรู้ (การเข้าใจภาษา) หรือเชิงแสดงออก (การใช้ภาษา) ทั้งสองอย่างนี้นับเป็นพัฒนาการที่สำคัญสำหรับทารกในวัย 12 เดือน พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กรวมถึงความสัมพันธ์กันของประสาทตาและมือ การหยิบจับและเอื้อมไปหาสิ่งของ พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้แก่การคว่ำ เหนี่ยวตัวขึ้นยืนและเดิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านก้าวสำคัญในแต่ละเดือนหน้าถัดไป >>>

ก้าวสำคัญในแต่ละเดือน

ก้าวสำคัญในแต่ละเดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1 เดือน ทารกวัยนี้ มือมีกำลังในการจับของ ชอบกำมือแน่นตลอดเวลาและสามารถมองตามสิ่งที่เคลื่อนไปมาตรงหน้าได้

2 เดือน ทารกวัย 2 เดือนสามารถทำเสียงได้ ชอบผงกศีรษะไปข้างหน้าเมื่ออยู่ในท่านั่งและสามารถชันคอได้เล็กน้อยเมื่อนอนคว่ำ

3 เดือน ทารกในวัยนี้สามารถถือวัตถุสิ่งของและกำผ้าห่มไว้ในมือ ส่งเสียงร้องแหลมหรืออืออา จดจำหน้าตาและเสียงคนใกล้ชิดได้และสามารถหันมองตามทิศทางของเสียงได้

4 เดือน ทารกวัย 4 เดือนสามารถนั่งได้หากช่วยประคอง กลิ้งตัวไปด้านข้าง หัวเราะและเล่นกับมือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 เดือน ฟันของทารกมักจะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ 5 นี้ ทารกสามารถพลิกตัวเปลี่ยนจากท่านอนคว่ำเป็นนอนหงายหรือกลับกันได้ ทารกยังชอบเล่นของเล่นและรู้จักแยกแยะคนแปลกหน้า

6 เดือน ทารกวัย 6 เดือนจะเริ่มกัดและเคี้ยว ถือขวดนมด้วยตัวเอง จับเท้าและสามารถยกศีรษะขึ้นเองได้เมื่ออยู่ในท่านั่ง

7 เดือน ทารกในวัยนี้สามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง เริ่มทิ้งน้ำหนักลงเท้า มีการตอบสนองเมื่อได้ยินชื่อและเริ่มพูดอ้อแอ้

8 เดือน ในวัย 8 เดือน ทารกสามารถดึงเชือกได้ เกาะยืน เหยียดแขนไปหยิบของที่อยู่เกินเอื้อม และสามารถตอบสนองต่อคำว่า “ไม่”

9 เดือน การคลานมักเริ่มขึ้นในเดือนที่ 9 ทารกในวัยนี้หยิบจับสิ่งของได้และสามารถเหนี่ยวตัวลุกจากท่านั่งเป็นท่ายืน

10 เดือน ทารกในวัย 10 เดือนส่วนใหญ่จะพูดได้สองสามคำเช่น “หม่าม้า” หรือ “ปะป๊า” สามารถทรุดตัวลงนั่งและชอบไล่ดูภาพในหนังสือ

11 เดือน ทารกวัยนี้เริ่มเดินด้วยการเกาะเครื่องเรือนไปรอบ ๆ อยากรู้อยากเห็นไปหมดทุกสิ่งและมักจะพินิจพิจารณาสิ่งของก่อนจะเปลี่ยนไปวางที่อื่น

12 เดือน ทารกวัย 12 เดือนสามารถยืนด้วยตนเองและพอจะเดินได้หากจูงมือ ทารกวัยนี้เข้าใจคำพูดที่พ่อแม่พูดบ่อย ๆ ได้แล้ว

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก

ความวิตก

หากคุณห่วงว่าลูกน้อยวัย 12 เดือนของคุณมีพัฒนาการล่าช้า อย่าลังเลใจที่จะขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก แม้ว่าพัฒนาการที่ล่าช้าส่วนมากจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่การได้รู้ชัดว่าลูกน้อยมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลือกของเล่นช่วยพัฒนาการเรียนรู้

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team