ลูกสำลักนม เกิดจากอะไร จะเป็นอันตรายหรือไม่ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรดี
ลูกสำลักนมบ่อย อาการสำลักนมบ่อยๆ ของเด็ก เป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรชะล่าใจ เพราะการที่ลูกสำลักนมนั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ พ่อแม่จึงต้องระวังให้ดี
เวลาที่คุณแม่ให้นมลูกแล้วลูกสำลักนม คุณแม่หลายคนคงอดเป็นห่วงไม่ได้ กลัวว่ามันจะเป็นอันตรายต่อทารกน้อยหรือเปล่า ลูกเป็นแบบนี้บ่อย ๆ พ่อแม่ควรทำอย่างไร เพราะเมื่อถ้า ลูกสำลักนม อาจทำให้ทารกเกิดอาการไม่อยากกินนมอีกเลยก็ได้ เรามาดูวิธีแก้ปัญหากันค่ะ
ลูกสำลักนม ทำไมลูกถึงสำลักนม
สาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดอาการสำลักนม มีอยู่หลายสาเหตุค่ะ อาจเป็นที่ตัวลูกน้อยเอง หรือเป็นวิธีการให้ลูกดื่มนม ได้แก่
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับ อวัยวะการกลืน เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตัน สำลัก การไอ หรือการหอบ ขณะที่ลูกกินนม
- ลูกน้อยมีพัฒนาการล่าช้า หรือ มีปัญหาเรื่องของปอดและหัวใจ
- แม่ดึงเต้านมออก ขณะที่ลูกกำลังดื่มนม
- น้ำนมไหลเร็วเกินไป ลูกน้อยกลืนไม่ทัน
- ลูกน้อย มีแก๊สในท้องเยอะ
- แม่ให้นมผิดท่า ไม่ถูกวิธี ซึ่งคุณแม่ต้องเปลี่ยนเพื่อที่จะได้ดีขึ้น
- แม่ให้นมลูกกินเกินความต้องการ
- กรณีให้ดื่มนมจากขวด ลูกสำลักก็เพราะใช้จุกนมผิดขนาด ทำให้นมไหลออกมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นนมผงทารกก็สามารถสำลักได้
- จุกนมผิดขนาด มีรูที่ใหญ่เกินไป ไม่เหมาะสำหรับช่วงวัย ทำให้น้ำนมไหลออกมามากกว่าปกติ อาจส่งผลทำให้ ทารกเกิดอาการทางเดินหายใจอุดกั้นเฉียบพลัน และเสียชีวิตได้
อาการสำลักนมของทารกเป็นแบบไหน
ทารกจะมีอาการไอ จะพยายามคายนมออกมา หากสำหรับในปริมาณที่ไม่มาก อาจจะไอเพียงเล็กน้อย ก็สามารถหายได้เอง หากรุนแรง จะมีอาการไอมาก ติดต่อกันหลายครั้ง มีเสียงของการหายใจที่ผิดปกติ จนเกิดอาการทางเดินหายใจอุดตันเฉียบพลัน ตัวเขียว และหยุดหายใจ ทำให้ทารกเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนมบ่อย ๆ
เมื่อคุณแม่เห็นว่าลูกชอบสำลักนมบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นขณะที่ลูกกินนมจากอกแม่ หรือการกินนมจากขวดก็ตาม วิธีการคือ
- คุณแม่ต้องปรับการไหลของปริมาณนมให้เหมาะสม ในกรณีที่ลูกต้องกินนมจากอกแม่ อาจจะกดบริเวณลานนม เพื่อเบรกความแรงของนมที่ไหลไปให้ลูกกินค่ะ
- เปลี่ยนท่าให้นมลูกให้ถูกต้อง โดยให้ตัวน้องเอียง 45 องศาเวลาดูดนม โดยที่ให้เอาหมอนหนุนแขนแม่แล้วให้น้องนอนบนหมอนอีกที เวลาดูดควรมีฟองอากาศเล็ก ๆ ในขวดสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตรก็พอ ซึ่งก็คือ เป็นการดูดที่เป็นจังหวะพอดี
- อ่านท่าอุ้มให้นมลูกเพิ่มเติม
- จับลูกเรอทุกครั้งหลังจากดูดนมเสร็จแล้ว สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด จนถึง 2 เดือน ควรใช้วิธีอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังโดยการลูบขึ้นเบา ๆ โดยที่ให้อุ้มนั่งให้ตัวตรงหรือโน้มมาด้านหน้า และต้องประคองคอให้ดี สำหรับเด็กที่คอแข็งแล้ว ให้ใช้วิธีอุ้มพาดบ่าใช้มือประคอง ลูบหลังขึ้นเบา ๆ ค่ะ แล้วสังเกตอาการว่า มีเสมหะหรือไม่ เวลานอนมีเสียงจากคอหรือไม่ มีไข้หรือไม่ อ่านวิธีจับลูกเรอเพิ่มเติม
- หากปรับแล้วยังไม่ได้ผล แนะนำให้พาลูกน้อยไปหาหมอ เพื่อตรวจหาสาเหตุการสำลักต่อไปค่ะ
วิธีปฐมพยาบาลลูกเมื่อลูกสำลักนม
เมื่อลูกสำลักขณะดื่มนม แนะนำให้คุณแม่จับลูกน้อยนอนตะแคง ห้ามอุ้มลูกขึ้นเด็ดขาด จากนั้น ทำให้ศีรษะลูกต่ำลงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้นมค้างอยู่ในปากหรือลำคอ และป้องกันการไหลย้อนไปที่ปอด เพราะถ้าเกิดอาการสำลักบ่อย ๆ อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบได้
ทารกสำลักนมจนเสียชีวิต
การที่ทารก สำลักนมนั้น อาจทำให้เสียชีวิตได้ และอันตรายเป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการสำลักนมของทารก เนื่องจากเด็กทารกยังไม่สามารถบอกได้ และคุณพ่อคุณแม่เอง ก็ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด
บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 37 ลูกสำลักนม เพราะน้ำนมพุ่งแรง ทำอย่างไรดี ?
ปอดอักเสบในเด็กอันตรายแค่ไหน
โรคปอดอักเสบส่วนใหญ่ เกิดจากติดเชื้อ ซึ่งพบได้ ทั้งจากการติดเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย มักจะมีอาการเริ่มต้นโดย เป็นหวัดก่อน 2-3 วัน ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อรา พยาธิ หรือ อาจเกิดจากการแพ้ ซึ่งเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมเข้าไป หรือ การสำลักเข้าไป แล้วเชื้อโรคก็เกิดการแบ่งตัว และก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา
บทความที่เกี่ยวข้อง : เปิดพัดลมจ่อลูก ทารกปอดอักเสบ เตือนภัยใกล้ตัวสำหรับพ่อแม่มือใหม่!
ความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับ ลักษณะอาการ ได้แก่ มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ ตามมาด้วยอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบาน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกไม่ยอมกินนม หรือน้ำ ซึมมาก ปลุกตื่นยาก หายใจมีเสียงดัง หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม มีอาการขาดน้ำ ค่าความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งถือว่า เป็นภาวะป่วยหนัก ควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยเร็วค่ะ
ที่มา: newkidscenter, thaihealth
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงที่แม่กิน ผ่านทางนมแม่ อุทาหรณ์ที่อยากเตือนแม่ให้นม
คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ
ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ กินนมแม่อย่างเดียวจะเพียงพอสำหรับลูกหรือไม่