ทำไมทารกห้ามกินน้ำหลังกินนม และควรเริ่มให้ลูกเริ่มดื่มน้ำตอนไหน?

ทารกห้ามกินน้ำ ไม่ควรให้น้ำลูกตามหลังกิน เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้และควรเข้าใจ เพราะผลที่ได้นอกจากจะไม่มีประโยชน์ ยังส่งผลอันตรายต่อทารกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคยมั้ยคะ หลังให้นมลูกเสร็จใหม่ ๆ คนเฒ่าคนแก่มักจะบอกให้ป้อนน้ำทารกเพื่อล้างปากตาม หรือไม่ก็เป็นความเชื่อว่าถ้าทารกตัวเหลือง ให้กินน้ำจะได้หายตัวเหลืองนั้น แต่ความจริงแล้วเราไม่ควรให้ทารกแรกเกิดดื่มน้ำยกเว้นนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไร ติดตามต่อในบทความนี้ได้เลยค่ะ 

 

น้ำนมแม่สำคัญอย่างไร ทำไมทารกห้ามกินน้ำหลังกินนมแม่

จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ อาหารของทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนแรก มีเพียงอย่างเดียวที่เหมาะสมคือการที่ลูกน้อยได้กินน้ำนมแม่ ที่อุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตในทุกด้าน และให้พลังงานที่เหมาะสมกับความต้องการของทารก ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหรือฟื้นตัวได้เร็วเมื่อเจ็บป่วย ทั้งยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในทารกจากโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ หรือหูอักเสบ คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้แนะนำว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตลูกนั้นควรให้ลูกได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว ไม่ควรป้อนน้ำ และป้อนอาหารเด็ดขาด

 โดยสรุปแล้ว เหตุผลที่ว่า ทารกห้ามกินน้ำนั้นเป็นเรื่องจริง ซึ่งก็คือช่วงอายุ 6 เดือนแรก ที่เด็กควรได้รับโภชนาการจากนมแม่ล้วน ๆ เพราะในนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ซึ่งครบถ้วนและเพียงพอแล้วสำหรับการเจริญเติบโตของทารก โดยเฉพาะในช่วง 2 - 3 วันหลังคลอด แม่จะหลั่ง “โคลอสตรัม” (Colostrum) ออกมา คือน้ำนมใสสีเหลือง หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่านมน้ำเหลือง หรือหัวน้ำนม น้ำนมแม่ชนิดนี้จะมีภูมิคุ้มกันจากแม่สูงที่สุด และจะพบ “แลคโตเฟอร์ริน” ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานโรคหลายอย่าง เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคหูน้ำหนวก โรคทางเดินหายใจ และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีสารอาหารที่มีความสำคัญ ได้แก่ 

  • เอ็มเอฟจีเอ็ม (MFGM) สารอาหารสมองในน้ำนมแม่ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบล่าสุดว่า เมื่อกรดไขมันทุกชนิดรวมทั้งดีเอชเอและเออาร์เอ ถูกผลิตออกมาจากต่อมผลิตน้ำนม จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ เรียกว่า MFGM (Milk Fat Globule Membrane) ซึ่งนับเป็นสารอาหารในน้ำนมแม่ ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาท เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง
  • ดีเอชเอ (DHA หรือ Docosahexaenoic Acid) คือ สารอาหารในน้ำนมแม่ที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบสำคัญของไขมันในสมองและจอประสาทตา ซึ่งลูกจะได้รับโดยตรงจากน้ำนมแม่ ที่สำคัญ DHA ในน้ำนมแม่ยังเพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย
  • ทอรีน (Taurine) สารอาหารในนมแม่ที่ช่วยบำรุงสมองและช่วยพัฒนาเรื่องการมองเห็นของลูกได้ดี
  • ไลโซไซม์ (Lysozyme) เป็นเอนไซม์ที่มีในน้ำนมแม่มากกว่านมวัวถึง 3,000 เท่า มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียตัวร้าย ทำให้เชื้อตาย แถมยังเติมลงในนมผงไม่ได้ เพราะเอนไซม์ต่างๆ จะถูกทำลายด้วยความร้อนในขั้นตอนที่นำนมผงไปฆ่าเชื้อก่อนบรรจุกระป๋องด้วย 

เพื่อให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการอันล้ำค่านี้อย่างครบถ้วน แม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่คุณแม่สามารถให้ได้ แต่หากคุณแม่ไม่ได้เลี้ยงลูกเอง หรือมีปัญหาการให้น้ำนม แม่ก็ต้องเลือกโภชนาการอื่นทดแทน โดยยังคงต้องดูที่สารอาหารเป็นหลักว่ามีเหมือนในน้ำนมแม่หรือไม่ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ป้อนน้ำตามหลังกินนมก่อนอายุ 6 เดือนมีผลกระทบต่อทารกอย่างไร?

พ่อแม่หลายคนมักเข้าใจว่า ควรป้อนน้ำตามหลังทารกกินนมเสร็จแล้ว แต่ความจริงนั้นกระเพาะของทารกยังเล็กมาก การให้ลูกกินน้ำตามเข้าไปจะเป็นการให้น้ำเข้าไปแทนที่ของนมในกระเพาะ ทำให้ลูกอิ่มและไม่อยากกินนม ซึ่งมีการศึกษาพบว่าการให้น้ำในช่วง 6 เดือนแรกทำให้ทารกกินนมแม่ได้น้อยลง 11 % ทำให้ได้รับประโยชน์จากนมแม่น้อย เสี่ยงต่อการทำให้ลูกน้อยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลต่อการเติบโตและมีพัฒนาการล่าช้า อีกทั้งระบบลำไส้ ระบบการย่อยของทารกนั้นยังเคลื่อนตัวและทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่มีแรงขับย่อยอาหารอื่นที่นอกเหนือจากน้ำนมแม่ได้ ส่งผลทำให้ทารกท้องอืด และหากปล่อยให้ลูกกินน้ำตามหลังกินนมไปเรื่อย ๆ เมื่อลูกโตขึ้นก็จะมีระบบย่อยอาหารที่ไม่ดีตามไปด้วย นอกจากนี้การให้ทารกกินน้ำในระยะ 6 เดือนแรกยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคท้องเสียที่เกิดจากน้ำหรือภาชนะที่ไม่สะอาดด้วย

 

จะเริ่มให้ทารกกินน้ำได้ตอนไหน?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วง 6 เดือนแรก ทารกจะทานนมแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่เมื่อทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ร่างกายของทารกเริ่มต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น ก็สามารถให้ทารกทานอาหารเสริมอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย โดยอาหารเหล่านี้จะทำให้ทารกต้องการปริมาณน้ำมากขึ้น สำหรับการกลืนและย่อย ซึ่งก็สามารถให้ลูกดื่มน้ำได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ยังต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ในอีกระยะยาว การให้น้ำไม่ควรให้มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ปริมาณการกินนมแม่ลดลงนะคะ

 

ประโยชน์ของการดื่มน้ำที่จะช่วยเสริมสร้างร่างกายลูกน้อยให้ทำงานได้เต็มที่

ก่อนที่จะไปดูว่าเด็ก ๆ ควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร มาดูว่าทำไมเพียงแค่การดื่มน้ำให้เพียงพอ ถึงช่วยเด็ก ๆ มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ นั่นเพราะน้ำช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบไหลเวียนเลือดจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ช่วยส่งเสริมระบบการย่อยอาหาร น้ำจะช่วยไปคลุกเคล้ากับอาหารช่วยลำเลียงขนส่งอาหารไปที่กระเพาะ และเป็นส่วนประกอบในการย่อยอาหาร
  • ช่วยส่งเสริมระบบการขับถ่าย น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด โดยเลือดจะเข้าไปฟอกของเสียที่ไต และจะขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ และเหงื่อ และยังช่วยเสริมการทำงานในลำไส้ใหญ่ให้ของเสียเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น การดื่มน้ำน้อยจึงอาจทำให้เด็ก ๆ ท้องผูกได้
  • ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เมื่อร่างกายเจอสภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยน เช่น อยู่ในสภาพอากาศที่แดดร้อนจัด เล่นกีฬา น้ำจะเป็นตัวที่ช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปริมาณน้ำที่เด็กควรกินในแต่ละวัน

  • ทารกอายุ 6 - 9 เดือน ร่างกายต้องการน้ำประมาณ 700 - 900 ซีซี 
  • ทารกอายุ 9 - 12 เดือน ร่างกายต้องการน้ำประมาณ 800 - 1,000 ซีซี 
  • เด็กอายุ 1 – 3 ปี ร่างกายต้องการน้ำประมาณ 1,000 - 1,200 ซีซี

เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าเด็ก ๆ มีความต้องการดื่มน้ำปริมาณเท่าไร่ มากน้อยเพียงใดแล้ว ก็ต้องรู้จักเลือกน้ำดื่มสะอาด ที่ไม่มีสี บรรจุอยู่ในภาชนะสะอาด และปิดสนิท เมื่อดื่มแล้วไม่มีกลิ่น หรือรสชาติเตรียมให้เขาดื่มตลอดวัน 

 

เพื่อเป็นแนวทางให้คุณแม่เสริมโภชนาการลูกอย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

ที่มา : www.thaibreastfeeding.org

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไขข้อข้องใจ ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

5 สิ่งที่พ่อแม่ควรมี ถ้าอยากให้ลูกประสบความสำเร็จกัน ลองเช็คดู

มัดรวมประโยชน์ของ “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารยืนหนึ่ง เรื่องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

5 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกรักด้วยวิธีธรรมชาติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R