ผลวิทยาศาสตร์ยืนยัน...หลับดี มีโอกาสต่อยอด พัฒนาสมองเด็ก

คุณแม่หลายท่านคงสงสัยในใจว่า ลูกน้อยของเราเอาแต่นอนและนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ช่วงอายุ 3 เดือนแรก เด็กนอนมากถึง 16-18 ชม ต่อวัน เมื่อพออายุลูกถึง 1 ขวบ ลดชั่วโมงการนอน เหลือ 12-13 ชม. ต่อวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลับดี มีโอกาสต่อยอด พัฒนาสมองเด็ก ได้จริงหรือ?

พัฒนาสมองเด็ก

มีอะไรซ่อนอยู้ในการนอนของลูกเรานะ  และ อะไรหนอ ทำให้ลูกน้อยนอนได้มากมายขนาดนี้ มีผลต่อการ พัฒนาสมองเด็ก ไหมนะ

จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมีคุณค่าอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การนอนถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าต่อการ พัฒนาสมองเด็ก

  1. โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพราะสมองมีพัฒนาการเร็วที่สุด โดยขนาดสมองโตถึง 80% ของสมองผู้ใหญ่
  2. ช่วงเวลานอน เป็นช่วงที่มีความสำคัญในการเก็บสะสมข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาในแต่ละวัน พร้อมเป็นเป็นคลังข้อมูลที่จะเรียกเก็บกลับมาเรียกดู เรียกใช้ในเวลาต่อมา
  3. การนอนหลับที่ดีเป็นช่วงเวลาสำคัญเพื่อสุขภาพของสมอง และสุขภาพกาย ตระเตรียมสะสม ลบล้างข้อมูล เพื่อวันใหม่ที่มาถึง

 

รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการนอนที่ดี เริ่มตั้งแต่คืนนี้กันเลยนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การพาลูกเข้านอนไม่ใช่เรื่องง่ายดาย ยอมรับเถอะว่า ไม่ว่าลูกรักจะโตแค่ไหน ก็ยังมีทีท่างอแง หรือรบเร้าจะเล่น ไม่ยอมเข้านอนเสียแต่โดยดี โดยเฉพาะทารกที่ร้องโยเย ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกหลับ ก็ต้องหาสารพัดวิธีมากล่อมลูก ทำไปซ้ำๆ หลายครั้ง ลูกก็จะชิน แล้วไม่ยอมเข้านอนง่ายๆ อย่างที่เคย เราเลยมาแนะนำ 11 วิธีกล่อมลูก ให้สลับสับเปลี่ยน ใช้มันทุกวิธี ต้องมีที่ได้ผลบ้างล่ะ

 

ตบหลังเบาๆ กล่อมลูกนอน และ นวดอย่างอ่อนโยนที่หลังคอ

การกล่อมลูกนอนอย่างง่ายๆ คือ ตบหลังเบาๆ จะช่วยให้ลูกผ่อนคลาย กระทั่งเคลิ้มหลับ เป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกสงบได้ง่ายๆ เพียงใช้มือนวดเบาๆ บริเวณคอของลูกรัก จะทำให้ลูกเคลิ้มหลับได้อย่างง่ายดาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เปิดเสียง White Noise และ อุ้มลูกแล้วขยับไปมา

ใช้เสียงธรรมชาติกล่อมลูกรัก ด้วยการเปิดเสียง White Noise ไม่ว่าจะเป็นเสียงฝนพรำ เสียงพัดลม หรือเสียงธรรมชาติอื่นๆ ก็ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้น โดยลูกจะเพลิดเพลินกับการถูกอุ้มแล้วโยกตัวไปมา ทำให้เคลิบเคลิ้ม เพียงโยกเบาๆ เดินไปเดินมา ลูกก็จะเริ่มสัปหงกแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พูดเสียงในลำคอให้ลูกฟัง

ลองนึกภาพในคลาสโยคะ ที่มีเสียง ohm พูดด้วยเสียงสั่นๆ ในลำคอ ฟังคล้ายกับเสียงธรรมชาติ จะช่วยให้ลูกผ่อนคลายได้

ใช้ผ้าห่อทารกเพิ่มความอบอุ่น และถูอย่างเบามือที่ใบหูลูก

การใช้ผ้าห่อทารกหรือถุงนอนทารก จะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและสบายใจ ทำให้นอนหลับได้ง่าย ใช้นิ้วชี้ และ นิ้วโป้ง ค่อยๆ ถูหูลูกอย่างเบามือ จะช่วยให้ลูกสบาย เป็นการนวดง่ายๆ ทำให้เพลิน

 

ร้องเพลงโปรดกล่อมลูก และนวดเท้าลูกก็ช่วยได้

ไม่ว่าพ่อแม่จะร้องเพลงเพราะหรือไม่ แต่ ทุกเสียงผ่านท่วงทำนองจะลึกซึ้ง คุ้นหู ฟังแล้วสบายใจ และ ทำให้ลูกเคลิ้มหลับได้ การนวดตัวทารกมีประโยชน์มากมาย ที่สำคัญ ช่วยให้ลูกผ่อนคลาย ลดความรู้สึกตึงเครียดของลูกได้ไม่ต่างกับพ่อแม่

 

ลูกท้องว่างอยู่หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อีกเหตุผลที่ทำให้ลูกไม่ยอมหลับคือ ลูกกำลังหิว แม่จึงต้องหาของว่างให้ลูกทานหากเป็นเด็กโต แต่ถ้าเป็นทารกก็ต้องให้ดื่มนมแม่สักหน่อยก่อนนอน

 

นอนให้นมลูก

ทางรอดสุดท้าย คือ การให้นมลูก แม่ลองเอาลูกเข้าเต้าแล้วนอนให้นม แต่เมื่อลูกดูดช้า และ เริ่มผลอยหลับ ก็อย่าลืมจับลูกเรอ ก่อนวางลูกลงนอนนะคะ

เรามีมาฝากถึง 11 วิธี กล่อมลูกรักให้หลับปุ๋ย รับรองว่าต้องมี สักวิธีที่ใช้ได้ผลกับลูกของคุณแม่อย่างแน่นอน

ข้อมูลอ้างอิง :

[1] Born J, Wilhelm I. System consolidation of memory during sleep. Psychological Research (2012) 76:192–203

 

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

วิธีทําให้ลูกหลับง่ายตอนกลางคืน พร้อมคาถากล่อมลูกนอน แก้ปัญหาลูกนอนกลางวันนาน ตารางการนอนของทารก

7 วิธีลดความเสี่ยงจากการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (SIDS)

ลูกนอนหลับยากทำยังไง? วิธีทําให้ลูกหลับง่ายตอนกลางคืน แม่จะได้นอนสักที!

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team