แบบทดสอบ
พ่อแม่ยุคนี้สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กทารกแรกเกิดได้มากมายยิ่งกว่ายุคไหน ๆ แต่คุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากแค่ไหน? ลองหากระดาษปากกาเพื่อจดคำตอบ แล้วทำแบบทดสอบ 10 ข้อนี้ดู
1. เมื่อทารกอายุครบ 2 เดือน เด็กควรจะสามารถทำสิ่งใดต่อไปนี้?
ก. จดจ่ออยู่กับวัตถุซึ่งอยู่ห่างออกไป 2-3 ฟุต ได้
ข. ตอบสนองต่อสีโทนพาสเทลมากกว่าสิ่งที่มีลวดลายสีสันสดใส
ค. มองตามสิ่งของที่กำลังเคลื่อนไหว
ง. มือและสายตาเคลื่อนไหวประสานกัน
2. คุณควรทำอย่างไรหากทารกที่อ่อนกว่า 4 เดือนคัดจมูกหรือมีน้ำมูกไหล?
ก. ใช้ลูกยางดูดเมือกออกจากจมูก
ข. ใช้ยาพ่นจมูก
ค. ช่วยให้เด็กสั่งน้ำมูก
ง. ให้เด็กกินยาแอสไพริน
3. เมื่อคุณสงสัยว่าเด็กอาจติดเชื้อในหู คุณควรใช้ยาหยอดหู ถูกหรือผิด?
ก. ถูก
ข. ผิด
4. อาการใดต่อไปนี้ไม่ใช่อาการของภาวะโคลิค?
ก. ร้องไห้ไม่หยุด
ข. ง่วงนอนตลอดเวลา
ค. ท้องป่อง
ง. ระบายลม
5. เด็กแรกเกิดต้องมีอุณหภูมิร่างกายเท่าไหร่จึงจะถือว่าเป็นไข้?
ก. 37.5° เซลเซียส (99.6° ฟาเรนไฮต์)
ข. 37.8° เซลเซียส (100.2° ฟาเรนไฮต์)
ค. 38.5° เซลเซียส (101.4° ฟาเรนไฮต์)
ง. 39.4° เซลเซียส (103° ฟาเรนไฮต์)
ข้อ 6-10 หน้าถัดไป
6. คำกล่าวใดเกี่ยวกับวัคซีนต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง?
ก. ควรให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ A เฉพาะกับเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น
ข. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นอันตรายต่อเด็กที่แพ้ไข่
ค. ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจำเป็นต้องฉีดเพียง 5 เข็มเท่านั้น (แทนที่จะต้องฉีดมากกว่า 12 ครั้ง) และมีผลข้างเคียงเล็กน้อย
ง. วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบขาดแคลน จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะกับเด็กที่เสี่ยงเป็นโรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือดเท่านั้น
7. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน?
ก. ให้เด็กนอนในเปลที่ไม่มีเครื่องนอน เช่น หมอน ผ้าห่ม ที่กันกระแทก และตุ๊กตา จำนวนมาก
ข. ไม่ปล่อยให้เด็กห่างสายตาเมื่อเด็กนอนคว่ำ
ค. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ที่มีควันบุหรี่
ง. ปรับอุณหภูมิในห้องนอนของเด็กให้พอดี
8. อาหารชนิดใดต่อไปนี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกหากทำเองที่บ้าน?
ก. ซอสแอปเปิ้ล
ข. แครอทบด
ค. ลูกแพร์บด
ง. ถั่วลันเตาบด
9. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบมักเป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาล ถูกหรือผิด?
ก. ถูก
ข. ผิด
10. คุณควรทำอย่างไรหากเด็กเป็นชันนะตุหรือหนังศีรษะเป็นเกล็ด ๆ?
ก. หลีกเลี่ยงการถูกระหม่อมเด็ก
ข. สระผมเด็กและแปรงเกล็ดบนหนังศีรษะออก
ค. หลีกเลี่ยงการสระผม
ง. ทาเบบี้ออยล์บนศีรษะของเด็ก
เฉลยหน้าถัดไป
เฉลย:
- ค. ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด เด็กอาจยังไม่สามารถจดจ่อกับวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมาตรงหน้าได้ แต่เด็กควรจะเริ่มจ้องตามได้หลังจาก 1-2 เดือน
- ก. การใช้ลูกยางดูดเมือกออกเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุด โดยเฉพาะก่อนให้นม หรือก่อนนอน ซึ่งเป็นเวลาที่อาการคัดจมูกจะทำให้เด็กไม่สบายตัวที่สุด บีบกระเปาะลูกยางแล้วค่อย ๆ สอดเข้าไปในจมูกของเด็ก และคลายที่บีบช้า ๆ แพทย์อาจให้น้ำเกลือมาหยอดจมูกร่วมด้วยเพื่อละลายน้ำมูก และทำให้ดูดออกได้ง่ายขึ้น
- ข. ถ้าคุณคิดว่าเด็กอาจมีอาการติดเชื้อในหู ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการหงุดหงิด โยเย นอนไม่หลับ ไม่กินอาหาร หรือมีไข้ คุณควรพาเด็กไปพบแพทย์ แพทย์อาจให้ยาฆ่าเชื้อหรือยาหยอดหูมาเพื่อลดอาการปวด
- ข. อาการร้องไห้ไม่หยุด ท้องป่อง ระบายลมอย่างต่อเนื่อง ทำท่าแอ่นหลัง หรือดึงทึ้งขา เป็นอาการของภาวะโคลิค ซึ่งเป็นภาวะที่ใช้เรียกเด็กที่ร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน อาการง่วงนอนนั้นไม่ใช่อาการของโคลิค เพราะเด็กที่มีอาการนี้มักจะโยเยจากความไม่สบายตัว
- ข. คุณต้องโทรหาแพทย์ทันทีหากเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน มีไข้ 37.8° หรือสูงกว่า ถ้าเด็กอายุ 3-6 เดือนมีไข้สูงกว่า 38° หรือเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนมีไข้ถึง 39°
- ง. ในช่วงระหว่างสิงหาคม 2001 และพฤษภาคม 2003 มีการขาดแคลนวัคซีน PCV ซึ่งป้องกันโรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงของภาวะติดเชื้อในหู แพทย์จึงงดการให้วัคซีนตามปกติ แต่หลังจากนั้นก็มีการผลิตทดแทน และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
- ข. เด็กไม่ควรนอนคว่ำเด็ดขาด คุณควรจับให้เด็กนอนหงาย แม้ว่าสาเหตุของภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน (SIDS) จะยังไม่แน่ชัด แต่งานวิจัยหลายชิ้นก็ชี้ว่าเด็กที่นอนคว่ำมีโอกาสประสบปัญหามากกว่า
- ข. แครอท เช่นเดียวกับหัวบีต และผักโขม ซึ่งอาจมีสารประกอบไนเตรต ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดลดต่ำ (ภาวะเลือดจาง) ในเด็ก แต่อาหารเด็กอ่อนประเภทนี้ที่ซื้อจากร้านค้าจะไม่เป็นอันตรายเพราะผู้ผลิตสามารถลดปริมาณไนเตรตลง ซึ่งคุณไม่สามารถทำเองได้ที่บ้าน
- ก. เกสรดอกไม้บางชนิด มลภาวะ และสารอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศอาจทำให้เด็กระคายเคืองจนทำให้คันตา น้ำมูกไหล และจาม คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบสม่ำเสมอ
- ข. สำหรับโรคชันนะตุซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่ส่งผลต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง การสระผมอาจช่วยบรรเทาอาการได้ โดยปกติโรคชันนะตุมักจะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน ในบางกรณี คุณอาจต้องใช้ยาสระผมสูตรเฉพาะช่วย
คุณได้คะแนนเท่าไหร่?
9-10 : เราขอคารวะ! ขอให้คุณสนุกสนานกับการเลี้ยงเจ้าตัวเล็กในช่วงขวบปีแรก
6-8 : ใช้ได้ทีเดียว! ลองหาหนังสือเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดมาอ่านเพิ่มเติมสักนิด คุณก็จะกลายเป็นพ่อแม่มือโปรแล้วล่ะ
3-5 : เราแนะนำให้คุณลองอ่านหนังสือเกี่ยวกับเด็กตามช่วงอายุ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของเราก็ได้นะ
ต่ำกว่า 3 : นอกจากหนังสือและข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต คุณอาจจะลองคุยกับคุณหมอมากขึ้น คุณหมอจะช่วยไขข้อข้องใจให้คุณได้เป็นอย่างดี