อั๋น ภูวนาถ คว่ำบาตร ใส่น้องพอล เผยเคล็ดลับปรับพฤติกรรมลูกชาย ให้อยู่หมัด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อั๋น ภูวนาถ กับ พฤติกรรมของลูกชาย ที่เปลี่ยนไปอย่างน่าตกใจ เรียกได้ว่าไปกินข้าวนอกบ้านต้องอายยกครอบครัว อั๋น ภูวนาถ จึงตัดสินใจปรึกษาคุณหมอ

อั๋น ภูวนาถ

บทสัมภาษณ์จาก เพจเฟซบุ๊กวันบันเทิง โดยมีคุณอั๋น ภูวนาท คุนผลิน ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม ของน้องพอล ลูกชายวัย 2 ขวบ 7 เดือน ที่เรียกได้ว่าเกรี้ยวกราด หวีดเหวี่ยง จนน่าตกใจ ซึ่งในช่วง Stay Home อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ก็ทำให้มีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้น และในช่วง 2 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาที่ลูกต้องการเรามากจริง ๆ การเปลี่ยนแปลงของลูกในช่วงนี้ เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน ใครมีลูกจะเข้าใจเป็นอย่างดี

เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็น 2 สัปดาห์ที่ กลุ้มใจกับลูกเป็นอย่างมาก เพราะเขามีพฤติกรรมหวีดเหวี่ยง เขวี้ยงข้าวของ ไม่ยอมกินข้าว อั๋น รู้สึกว่าการกระทำนี้ เป็นการกระทำที่มากเกินไป และแสดงออกเกือบตลอดเวลา เลยเป็นความลำบากใจของทุกคนในครอบครัว จึงตัดสินใจโทรหาคุณหมอ และปรึกษาคุณหมอ เกี่ยวกับพฤติกรรมของน้องพอล

ซึ่งน้องพอล เริ่มมีพฤติกรรมหวีดเหวี่ยงในช่วง โควิด-19 ระลอกใหม่ ไปกินข้าวนอกบ้าน ต้องอายกันทุกครั้ง เพราะน้องพอลมีพฤติกรรมโยนจาน จานแตก อั๋นจึงไม่เข้าใจว่า พฤติกรรมเหล่านี้คืออะไร คุณหมอตอบมาแค่ว่า “อย่ายอม” ทำอย่างไรก็ได้แต่อย่ายอม และไม่ใช่การต่อสู้กลับ หากจำเป็นจะต้องทะเลาะกับลูกก็ทะเลาะไปเลย แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องขึ้นเสียง ทำเสียงดัง ดุ หรือต่อว่า

อั๋น ใช้วิธีโดยการ คว่ำบาตร คือ ไม่ยอมเล่นกับลูก ไม่ยอมใจดี ต้องทำให้ลูกรู้ว่าเราโกรธ และการคว่ำบาตร จะต้องสื่อสารกับคนในบ้าน ให้ทุกคนในบ้านทำพร้อมเพรียงกัน เมื่อน้องพอลรู้ว่า คุณพ่อโกรธ คุณแม่โกรธ พี่เลี้ยงโกรธ น้องพอลก็จะไปหาคุณย่า เพราะรู้ว่าคุณย่าชอบใจอ่อน เมื่อโดนว่าคุณย่าก็จะเข้ามาโอ๋ และน้องพอลก็จะอ้อนไปเรื่อย ๆ จึงต้องใจแข็ง ถ้าหากมีคนในบ้านที่ใจอ่อน หรือให้ความสนใจเขา ในช่วงที่เขามีพฤติกรรมแบบนี้ จะทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาได้

ครอบครัวไหนที่กำลังมีปัญหา หรือเจอพฤติกรรมลูก แบบนี้อยู่ ทางแก้ไขคือ “อย่ายอม” แต่ไม่ใช่ใช้คำพูดไม่ดี เช่น แกมันดื้อ ต้องพูดจาดีกับลูก และคว่ำบาตร โดยการที่ไม่คุยด้วย ไม่ใจอ่อน ปล่อยให้เขาร้องไห้ และเขาจะจดจำ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้คือ ลูกต้องการจะวัดว่า เขาไปได้แค่ไหน วัดอำนาจวัดขอบเขต การต่อรองของเขา และหากมีคนที่ใจอ่อนอยู่ในเหตุการณ์ หรือจุดเกิดเหตุ ควรให้คนนั้นไปอยู่อีกที เพราะถ้าอยู่ด้วยก็จะอยากเข้ามาโอ๋ ทำให้เด็กเคยชิน และจะทำให้ไม่สามารถ เปลี่ยนพฤติกรรมของลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอนนี้ น้องพอลก็มีการต่อรองอยู่ แต่ก็เริ่มรู้แล้วว่า อยู่ยังไง สบายตัว ต้องอยู่ให้เป็น และอั๋น ก็บอกพี่เลี้ยงเลยว่า อย่าเกร็งว่าแบบเป็นลูกของอั๋นนะ สามารถดุได้ หรือบางครั้งก็บอกพี่เลี้ยงเลยว่า อย่ายอมนะ เพราะพี่เลี้ยงเขาจะเกรงใจพ่อแม่ เพราะพ่อแม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าหากพ่อแม่ซีเรียสแล้วค่อว่าพี่เลี้ยงว่า เธอมาดุลูกฉันได้ไง อั๋นก็จะบอกว่าดุได้ แต่ไม่ได้ให้ตี ห้ามตี ห้ามเสียงดังโดยไม่มีเหตุผล

ประมาณ 10 วัน น้องพอลจะมีวันที่ร้องไห้หนักมาก ก็เข้าไปคุยกับลูกว่า จะกินข้าวมั๊ย จะไม่โยนอีกแล้ว สัญญานะ แน่ใจนะ จะไม่ตีใครอีกแล้วนะ พูดแล้วลูกก็ให้คำสัญญา แล้วเขาก็จะไม่ทำอีก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่ไม่คุยกับลูก นิ่งใส่ลูก ทำให้ลูกไม่มีตัวตน ลูกเรียกแล้วไม่ตอบ ไม่คุยด้วยนั่งเฉย ๆ แต่มองหน้าให้ลูกรู้ว่าโกรธ เด็กก็จะสามารถรับรู้ได้เอง ไม่ต้องไปต่อว่า หรือดุด่า การที่ทำแบบนี้ภายใน 1 สัปดาห์ น้องพอลไม่มีพฤติกรรมเช่นนั้นอีก กลายเป็นเด็กน่ารักไปเลย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : https://web.facebook.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

ลูกดื้อ พฤติกรรมนี้เกิดจากอะไร? คุณแม่ควรรับมือเจ้าตัวแสบด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลดี

5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5

พัฒนาการเด็กวัย 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ และเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong