แพ้วัคซีน Astrazeneca ขั้นรุนแรง ตั้งแต่เข็มแรก

ข่าวไวรัล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากการที่ทางกรุงเทพฯ ได้จัดให้มีการจองออนไลน์เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และมีการกระจายศูนย์ฉีดวัคซีนไปทั่วประเทศ เพื่อให้ทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่มโดยเริ่มฉีดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีความเสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้เกิดเคส แพ้วัคซีน Astrazeneca ขั้นรุนแรง ตั้งแต่เข็มแรก ที่ศูนย์ True Digital Park

โดยช่วงค่ำของวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา ได้มีเฟสบุ๊คหนึ่งได้โพสต์รีวิวการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 โดยเธอได้ลงทะเบียนผ่านทางแอปเป๋าตัง โดยได้กำหนดการฉีดในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 เวลา 11:20 น. โดยประมาณ แต่หลังฉีดได้มีการนั่งรอดูอาการ ก็เกิดอาการต่าง ๆ จนทำให้แพทย์ได้ลงความเห็นว่า เป็นการ แพ้วัคซีน Astrazeneca ขั้นรุนแรง และให้งดรับวัคซีนของยี่ห้อนี้ในเข็มถัดไป

ใบเอกสารการเข้ารับการฉีดวัคซีน พร้อมข้อปฏิบัติ

ทางเฟสบุ๊คนั้น ได้ทำการรีวิวหลังจาก ฟื้นไข้ และได้เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับว่าเธอนั้น ได้ทำการลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนในกลุ่มบุคคลทั่วไป ผ่านแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง โดยเธอได้ฉีดในวันแรกของการเปิดโครงการ ที่ True Digital Park ในเวลา 11:20 น.

โดยคุณจี ได้กล่าวว่าเธอเป็นคนหนึ่งที่มีประวัติการแพ้ยามาก่อน โดยเธอได้มีเอกสารประวัติการแพ้ยาจากทางโรงพยาบาล มายื่นให้กับทางเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ฉีดวัคซีน ซึ่งแพทย์ และพยาบาลที่มาประจำอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้ เป็นบุคลากรจากทางโรงพยาบาลศิริราช

เมื่อมีการเช็คประวัติแล้ว แพทย์ได้ลงความเห็นสมควรที่จะได้รับการฉีดวัคซีนได้ตามปกติ จึงได้เข้ารับการฉีดวัคซีน แล้วมานั่งพัก ในจุดที่เตรียมไว้ โดยตำแหน่งที่เจ้าของเคสนั่งพักนั้น จะอยู่ใกล้กับกลุ่มแพทย์ฉุกเฉิน เนื่องจากถือว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วัคซีน Sinovac จากจีน ถึงไทยแล้ว 5 แสนโดส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณเป็นผู้ที่มีประวัติการแพ้ยา หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง จะได้รับสติ๊กเกอร์ เพื่อการเฝ้าระวังเป็นพิเศษจากเจ้าหน้าที่

อาการที่เกิดขึ้นตามลำดับ

โดยเจ้าของเคส ได้อธิบายอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเธอเองตามลำดับว่า

1. ผ่านไปช่วง 10 นาทีแรก ตนเองนั้นเริ่มมีอาการแน่นที่หน้าอก

2. 10 นาทีถัดไป เริ่มมีอาการ อาเจียน ตามมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. และเมื่อผ่านไปอีก 30 นาที ก็เกิดอาการ “ไม่มีแรง แขน-ขาสั่น อ่อนเพลีย ความดันเริ่มตก” ทางแพทย์ฉุกเฉินจึงรีบเข้าดูอาการ ซึ่งในขณะนั้นร่างกายยังสามารถต้านมือคุณหมอได้ แต่ไม่ 100%  และมีอาการตัวสั่นอย่างต่อเนื่อง ทางแพทย์จึงตัดสินใจ

  • ฉีดอะดินารีน เข้าไปบริเวณขา เป็นเข็มที่ 1
  • ฉีดยาแก้แพ้ ให้เป็นเข็มที่ 2
  • ฉีดยาแก้อาเจียน เป็นเข็มที่ 3
  • และฉีดยาอีกตัว ซึ่งตนเองไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นตัวยาชนิดใด เป็นเข็มที่ 4

หลังจากนั้นจึงนำส่งขึ้นรถฉุกเฉิน Ambulance โดยจะมีนางพยาบาลคอยตบที่แขนอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้หลับ

4. ลิ้นเริ่มชา และไม่ได้สติ และเมื่อถึงห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาล ก็ทำการเจาะเลือดตรวจ นับเป็นเข็มที่ 5 เพื่อทำการตรวจโควิด มีการเช็คชีพจร เช็คคลื่นหัวใจ และเอ็กซเรย์ปอด สุดท้ายคือการให้น้ำเกลือ เป็นเข็มที่ 6

5. ประมาณ 5 ชั่วโมง หลังทำการฉีดยาต่าง ๆ เข้าไป ก็เริ่มมีผดขึ้น ซึ่งมีอาการคันแต่ไม่มากนัก และมีไข้ขึ้นสูงถึง 38 องศา ความดันยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ค่อนข้างไปทางต่ำ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิจัยชี้ ! หลังหายโควิด เกินกว่าครึ่งมีอาการผิดปกติระยะยาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เข้าสู่สถานการณ์ฉุกเฉิน แม้ตอนนี้จะติดตลกได้ว่า ฉีด 1 เข็ม แถมอีก 6 เข็ม แต่ ณ เวลานั้น คงไม่มีใครยิ้มออกเป็นแน่

การวินิจฉัย และการเบิกจ่าย

ซึ่งจากอาการทั้งหมดทำให้ทางแพทย์ได้ลงความเห็นว่า เป็นการ “แพ้วัคซีนอย่างรุนแรง” เพราะผลตรวจทุกอย่างเป็นปกติดี ทั้งผลไขมัน ผลเลือด ซึ่ง ณ ขณะนี้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการ โดยทางแพทย์ยังได้ระบุอีกว่า การฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นั้น จำเป็นจะต้องฉีดเพียง Moderna หรือ Pfizer เท่านั้น

นอกจากนี้ทางเจ้าของเคส ยังได้ระบุถึงการเบิกจ่ายในเคสที่เกิดขึ้นว่า ทางโรงพยาบาลจะให้เบิกตามประกันที่คนไข้มีก่อน ส่วนที่เหลือก็จะสามารถเบิกกับทางรัฐบาลได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ดำเนินการให้ แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า จะสามารถเบิกได้หมด 100% ทั้งนี้ เราอาจจะต้องคอยติดตามผ่านทางเพจเฟสบุ๊คของต้นเรื่องกันต่อไป

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีน

  1. ให้บอกเจ้าหน้าที่ตรงที่วัดความดันว่าเราแพ้อะไร กินยาอะไรอยู่ มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง เพื่อให้เขาจด และคุณจะได้รับสติกเกอร์เพื่อแปะว่าคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงค่ะ ซึ่งทางที่ดีควรที่จะคัดประวัติเตรียมไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะผู้สูงวัย หรือผู้ที่เคยต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคประจำตัว
  2. ถ้าเป็นคนที่มีประวัติแพ้ยามาก่อน ให้ไปขอใบประวัติการแพ้ยาจากทางโรงพยาบาลที่มีข้อมูลของเราอยู่เพื่อเป็นข้อมูล (โดยการขอประวัตินี้ สามารถขอได้ฟรีค่ะ)
  3. ถ้าหากไม่มั่นใจถึงอาการที่เกิดขึ้น ควรรีบบอกเจ้าหน้าที่ หรือนางพยาบาลทันที อย่าเกรงใจ อย่าแพนิค (วิตกกังวล) โดยเฉพาะหากเป็นอาการที่ใกล้เคียงเหมือนช่วงที่ตนแพ้ยา ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยทันที
  4. ควรมีน้ำติดตัวไป และให้ถือน้ำจิบตลอดเวลา
  5. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีความกังวลมาก แนะนำให้เลือกสถานที่ฉีดวัคซีนที่เป็นสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ก็จะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
  6. อาการแพ้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และโดยมากที่พบ มักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นไม่ควรที่จะวิตกกังวลมากจนเกิดไป

ทั้งนี้ทาง TheAsianparentThailand ต้องขอขอบคุณ ข้อมูลดี ๆ จากเฟสบุ๊คเจ้าของเคส ที่ได้เขียนเรื่องราว และแชร์ประสบการณ์ เพื่อให้เป็นวิทยาทานกับอีกหลายต่อหลายคน ที่กำลังจะเตรียมตัวเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และขอให้คุณจี หายจากอาการป่วยในเร็ววันนะคะ

 

ที่มา : FB: Phakkhaphat

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

“ยาไมเกรน” กินก่อนฉีดวัคซีนได้ ไม่จำเป็นต้องหยุดกิน

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ สรุปผลการใช้ยาคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด-19

ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Arunsri Karnmana