โรคหอบหืด โรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ อย่าปล่อยไว้ อันตรายถึงชีวิต!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคหอบหืด เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ อาจฟังดูไม่ร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ จากสถิติขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุเอาไว้ว่า มีผู้เสียชีวิตจากการเป็นโรคหอบหืดกว่า 300 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมาก เราจึงควรสังเกตตัวเอง และเตรียมพร้อมรับมือกับโรค เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย และเสียชีวิต

 

โรคหอบหืดคืออะไร?

โรคหอบหืด หรือ โรคหืด (Asthma) เป็นโรคที่เกิดจากการหด หรือ ตีบตัน ของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้จมูกไวต่อสิ่งกระตุ้น และมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ทำให้เกิดการหายใจลำบาก เวลาหายใจจะมีเสียงวี้ด ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดได้น้อยลง สมรรถภาพการทำงานของปอดลดลง และอาจอันตรายถึงชีวิตได้

โรคหอบหืดรักษาหายหรือไม่?

โรคหอบหืด สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ซึ่ง “ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้” แต่สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้ เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก หากเกิดในเด็ก อาจทำให้เกิดการพัฒนาช้า ส่งผลให้เรียนได้ไม่เต็มที่

 

โรคหอบหืดเกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดโรคหอบหืด อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ปัจจัยทางพันธุกรรม

โรคหอบหืด เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากคนในบ้านมีประวัติการเป็นโรค ไม่ว่าจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง ลูกจึงมีโอกาสเป็นโรคได้เช่นกัน

 

2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

  • การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไซนัสอักเสบ อาหารไข้หวัด เป็นต้น
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน และ ยาต้านอาการอักเสบ เป็นต้น
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสัมผัสอากาศเย็น ความเครียด การหักโหมออกกำลังกาย ภาวะกรดไหลย้อน ความเครียด เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคหอบหืด

การวินิจฉัยโรคหอบหืด สามารถทำได้ด้วยการซักประวัติของผู้ป่วยและตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไป แต่อาจต้องใช้การทดสองทางห้องปฏิบัติในกรณี่ที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นโรคอื่นร่วมด้วย ที่มีลักษณะอาการคล้าย ๆ กัน โดยแพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติของการเกิดอาการอย่างละเอียด และแพทย์จะตรวจสอบสมรรถภาพของปอด ด้วยวิธีการดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สไปโรเมทรีย์ เป็นเครื่องมีตรวจสมรรถภาพของปอด โดยการวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้า และออก
  • พีคโฟลว์มิเตอร์ เป็นเครื่องวัดความเร็วของลมที่เป่าออกได้ ใช้วัดสมรรถภาพการทำงานของปอด
  • การทดสอบหลอดลม เป็นการวัดความไวของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้น เพื่อดูว่ามีโอกาสเป็นโรคหอบหืดหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการใช้สารกระตุ้น เช่น สารเมธาโคลีน มาทดสอบสมรรถภาพทางปอด
  • การใช้เครื่องวัดความอิ่มตัวของฮีโมโกลบินในชีพจร เป็นการช่วยวัดประเมินภาวะการขาดออกซินเจน

 

ความรุนแรงของโรคหอบหืด

โรคหอบหืด สามรถแบ่งอาการตามความรุนแรง ได้ดังนี้

  • มีอาการนาน ๆ ครั้ง มีอาการนาน ๆ ครั้ง น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ มีอาการตอนกลางคืนน้อยกว่า 2 ครั้ง ต่อเดือน
  • มีอาการรุนแรงน้อย มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ หรือ มีอาการตอนกลางคืน มากกว่า 2 ครั้ง ต่อเดือน
  • มีอาการรุนแรงปานกลาง มีอาการเกือบทุกวัน และมีอาการช่วงกลางคืน มากกว่า 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • มีอาการรุนแรงมาก มีอาการตลอดเวลา

 

โรคหอบหืดรักษาอย่างไร?

โรคหอบหืด ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นพียงการควบคุมอาการ ไม่ให้กำเริบ และออกอาการรุนแรง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ การรักษาสามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ยาควบคุมโรคหอบหืด (Controllers)

เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยาที่นิยมใช้และมีประสิทธิภาพ คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด (Inhaled Corticosteroid) และยากลุ่มอื่น ๆ เช่น ยาต้านลิวโคไทรอีน (Leukotriene Modifier Antagonist) เป็นต้น

 

  • ยาบรรเทาอาการหอบหืด (Relievers)

เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการหอบ ซึ่งเป็นยาที่จะใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น ได้แก่ ยาพ่นขยายหลอดลมชนิดเบต้า 2 (Beta2-agonists) ซึ่งจะทำให้หลอดลมคลายตัว เมื่อผู้ป่วยมีอาการ การใช้ยาพ่นจะช่วยบรรเทาอาการได้ หากมีการใช้ยาเป็นประจำ นั่นอาจบ่งชีว่าคุณกำลังมีอาการหอบหืดเรื้อรัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหอบหืด

โดยปกติแล้ว โรคหอบหืดจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเท่าไหร่ แต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีอาการรุนแรง และเรื้อรัง อาจมีแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้เป็นไซนัสอักเสบ หรือ อาจรุนแรงถึงขั้นเป็นเนื้องอกในโพรงจมูก

 

อาการแทรกซ้อนและผลกระทบอื่น ๆ อาจมาจากการได้รับผลข้างเคียง จากการใช้ยา เช่น หลอดลมตีบแคบ ทำให้มีปัญหาในการหายใจ และทำให้มีผลต่อชีวิตประจำวันอื่น ๆ

 

การป้องกันโรคหอบหืด

ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาโรคหอบหืดให้หายขาดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรสังเกตอาการตนเอง และควบคุม ดูแล ไม่ให้อาการกำเริบ โดยการป้องกัน และควบคุมอาการ สามารถทำได้ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ตรวจสอบการหายใจ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการของตนเอง หรือ สัญญาณเบื้องต้น ก่อนอาการกำเริบ เช่น การหายใจมีเสียง การหายใจสั้น การไอ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น หรือ สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการ
  • ควรมีความรู้เกี่ยวกับโรค โดยผู้ป่วยควรมีความรู้เกี่ยวกับโรค เช่น การใช้ยาที่ถูกต้อง การใช้อุปกรณ์พ่นยา การดูแลตัวเอง เป็นต้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อช่วยลดการอักเสบ และการอุดตันของทางเดินหายใจ อาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อปลา และดื่มน้ำให้พอดี
  • รับวัคซีนสม่ำเสมอ อย่างวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้น ให้เกิดโรคหอบหืด
  • พบแพทย์เป็นประจำ ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ อย่างใกล้ชิด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และควบคุมโรคให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง อย่างสม่ำเสมอ เพื่อบรรเทาอาการโรค ให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตอย่างปกติสุข

 

โรคหอบหืด แม้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากรู้จักวิธีดูแลตนเอง และลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน ก็จะช่วยให้เราสามารถควบคุมอาการของโรค ไม่ให้ส่งผลเสีย อันตรายร้ายแรงต่อร่างกายได้

 

ที่มาข้อมูล : pobpad bumrungrad

บทความที่น่าสนใจ :

ปอดอักเสบ ปอดบวม โรคร้าย อันตรายถึงชีวิต อย่าปล่อยให้เรื้อรัง!

โรคหืดหอบในเด็ก อีกหนึ่งอันตราย ที่คุณแม่ควรเฝ้าระวังและเตรียมวิธีรับมือ

โรคภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้เป็นอย่างไร โรคภูมิแพ้สามารถรักษาได้อย่างไร สาเหตุของโรคภูมิแพ้คืออะไร?

บทความโดย

Waristha Chaithongdee