ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน แหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ของจังหวัดกระบี่ และกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน เพื่อเชื่อมโยงความเป็นอดีตในสถานะเมืองท่ากว่า 2,000 ปี ถ่ายทอดผ่านกาลเวลาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งเป็นสถานที่สร้างสรรค์และนำเสนอผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน ผ่านการสร้างสรรค์โดยศิลปินจากทุกแขนงประกอบไปด้วยอาคารเรียนรู้ต่างๆ มากมาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน ประกอบไปด้วยอาคารจัดแสดงต่างๆ ได้แก่
อาคารพิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน (Andaman Beads Museum)
บอกเล่าเรื่องราวตำนานลูกปัดโบราณถูกถ่ายทอดผ่านตัวอักษรและสื่อต่างๆ รวม 7 โซน 7 เรื่องราวที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของลูกปัดอันดามัน
โซนที่ 1 “ห้องประวัติความเป็นมาของลูกปัด”
ปริศนาลูกปัดอายธรรมแห่งกาลเวลา โดยให้ข้อมูลว่าลูกปัดถือกำเนิดอยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ 45,000 ปีที่แล้ว โดยเชื่อว่าลูกปัดสมัยแรกๆถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาและอียิปต์ ตัวลูกปัดทำจากวัสดุท้องถิ่นตามธรรมชาติ จำพวก กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เมล็ดพืช และดินปั้น คำถามหนึ่งที่ว่า มนุษย์ในสมัยโบราณ นิยมในคุณค่าของลูกปัดเพื่อสิ่งใด หลายคำกล่าวเป็นสิ่งบ่งชี้สถานภาพทางสังคม สัญลักษณ์การเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนเผ่า เพื่อคุ้มครอง ปกป้องตามความเชื่อ หรือใช้ในการแลกเปลี่ยนแทนเงินตรา
หากจะกล่าวให้แน่ชัด ลูกปัดอยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน เรียกว่าตั้งแต่ 45,000 ปีมาแล้วจากทุกภูมิภาคทั่วโลก และเชื่อกันว่าลูกปัดสมัยแรกๆ เกิดขึ้นที่แอฟริกา และอียิปต์ จากวัสดุท้องถิ่นตามธรรมชาติ เปลือกหอย กระดูกสัตว์ ดินปั้น และเมล็ดพืช ลูกปัด ถือเป็นโบราณวัตถุ ที่พบเห็นในทุกแห่งอารยธรรม และยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า ที่ใดเป็นแหล่งกำเนิดคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว สำหรับลูกปัดแก้วนั้น พบอยู่ทั่วทั้งในยุโรป แถบเยอรมัน อิตาลี บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเปอร์เซีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย อินเดีย ลาว เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน และญี่ปุ่น
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด จินตนาการ ที่สั่งสมผ่านกาลเวลาของมนุษย์ ลูกปัดถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกอารยธรรมในอดีตสู่ปัจจุบัน โดยไม่เพียงแค่บอกเล่าเรื่องราว แต่ยังเป็นต้นทุนการเรียนรู้โบราณวัตถุที่ควรศึกษา เป็นอย่างยิ่ง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 7 พิพิธภัณฑ์เข้าฟรี รอบกรุงฯ แหล่งเรียนรู้ สนุกและเพลิดเพลิน ฟรี!
โซนที่ 2 “ห้องประวัติลูกปัดในประเทศไทย”
ลูกปัดที่ค้นพบในประเทศไทยบริเวณภาคต่างๆ มีการสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีหลักฐานการเชื่อมโยงของศิลปวัฒนธรรม สมัยทวารวดี อาทิ ประติมากรรม พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดคาร์เนเลียน อเกต ทองคำ และลูกปัดแก้ว หาใช่ว่ามีแต่เพียงลูกปัดที่ผลิตขึ้นเองเท่านั้น แต่ยังมีการค้นพบลูกปัดแบบอื่นๆ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากแดนไกลด้วย
โดยเฉพาะร่องรอยหลักฐาน ในดินแดนภาคใต้ตอนบน สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เมื่อต้นพุทธศตวรรษ หรือประมาณกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ในฐานะเมืองท่า และตลาดส่งผ่านสินค้าของภูมิภาค บนเส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งคาบเกี่ยว ตั้งแต่ดินแดนสุวรรณภูมิ ทวารวดี และศรีวิชัย เช่นเดียวกับบริเวณภาคกลาง ที่ในอดีตกาลเคยเป็นเมืองท่าสุวรรณภูมิที่สำคัญ อาทิ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี, เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองลพบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่า เคยเป็นเมืองใกล้ชายฝั่งทะเล มีการแลกเปลี่ยนสินค้า กับอินเดียตั้งแต่แรกเริ่มประวัติศาสตร์มาแล้ว
โซนที่ 3 “ห้องแฟชั่นลูกปัด”
ห้องนี้เป็นการนำลูกปัดมาสร้างสรรค์ ดูมากสีสันไปด้วยลูกปัดจำลองขนาดใหญ่ของแต่ละชาติที่นำมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม เป็นอีกหนึ่งจุดถ่ายรูปยอดฮิตของนักท่องเที่ยว
โซนที่ 4 “ห้องลูกปัดล้ำค่า”
ห้องนี้เป็นอีกหนึ่งจุดไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ เพราะจัดแสดงได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เป็นห้องวงกลม มีโมเดลศีรษะมนุษย์มีมือแสดงสัญลักษณ์อยู่บนนั้นอีกที ภายในห้องมีการนำลูกปัดมาร้อยเรียงเป็นสร้อย อันหลากหลายวางประดับในตู้กระจก แล้วสาดแสงไฟลงส่องกระทบดูระยิบระยับสวยงามเป็นอย่างยิ่งห้องนี้จัดแสดงได้อย่างมีสีสันมีชีวิตชีวา
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ท้องฟ้าจำลอง พาเด็ก ๆ เที่ยวพิพิธภัณฑ์ศึกษาเรื่องดาว ดูดวงกลางกรุงฯ
โซนที่ 5 “ห้องลูกปัดและความเชื่อลูกปัด
นำเสนอเกี่ยวกับมุมมองความเชื่อในใส่ลูกปัดหรือประดับลูกปัดของมนุษย์ พูดถึงความศรัทธาของมนุษย์ที่มีต่อลูกปัดแต่ละประเภท การใส่ใส่ประดับลูกปัดเพื่อเสริมสิริมงคลตามราศีต่างๆ (ลูกปัดจักราศี) ซึ่งเราสามารถเล่นเกมทำนายดวงชะตาตามราศีผ่านลูกปัดแก้ววิเศษได้อีกด้วย
โซนที่ 6 “ห้องลูกปัดในอนาคต”
แสดงให้เห็นถึงลูกปัดในอนาคตที่เป็นโมบายลูกปัดคริสตัล คล้ายวงแหวนสุริยจักรวาล ที่เปรียบเหมือนลูกปัดเดินทางรอบโลก พร้อมด้วยกล่องอคิลิค จำนวน 1,500 กล่อง บรรจุลูกปัดจำนวนทั้งสิ้น 1,500 เม็ด เทียบเท่ากับอายุของอาณาจักรศรีวิชัยเมื่อ 1,500 ปี ที่ผ่านมา
โซนที่ 7 “ห้อง Thank You Zone”
เป็นอีกโซนหนึ่งทุเป็นจุดสนใจของผู้มาเยี่ยมชม ซึ่งสามารถถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึกกับการจำลองภาพจัดแสดงของสถานที่ท่องเที่ยว คือสระมรกตเป็นการหยิบยกสถานที่ที่เป็นอำเภอหนึ่งในการเป็นแหล่งโบราณคดีที่ผลิตลูกปัดโบราณ ดั่งนั้นสระมรกตจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงสุดท้ายแทนทุกคำขอบคุณตลอดเส้นทางการเดินชมในพิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน ให้ได้กลับมาเยี่ยมเยือนอีกครั้ง
อาคารหอศิลป์อันดามัน (Andaman Art Museum)
หอศิลป์อันดามันและอาคารแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ถือเป็นหอศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ ที่รวบรวมผลงานของศิลปินแห่งชาติ ศิลปินนานาชาติ ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียง ศิลปินท้องถิ่น และศิลปิน รุ่นเยาว์ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองจังหวัดกระบี่ เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างสรรค์ และอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ถ่ายทอดผ่านงานศิลปะให้เด็ก เยาวชนและผู้ที่สนใจได้เข้าศึกษาถึงความเป็นมาของงานศิลปะ หอศิลป์อันดามัน ภายใต้การดูแลของเทศบาลเมืองกระบี่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ปี 2556 จากกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดกระบี่, จังหวัดตรัง, จังหวัดพังงา, จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ที่ถนนมหาราช ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ภายในบริเวณศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน โดยเป็นอาคาร 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง โดยการจัดแสดงงานจำแนกเป็น 3 ชั้น ได้แก่
- ชั้นที่ 1 ห้องระนอง และลานอเนกประสงค์ จัดแสดงงานนิทรรศการ งาน Workshop ต่างๆ
- ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องตรัง และห้องพังงา จัดแสดงนิทรรศการโดยศิลปินไทยทั่วทั้งประเทศทั้งศิลปินรุ่นใหม่รางวัลเหรียญทอง ศิลปินรุ่นใหญ่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังมีห้องสีน้ำ จัดแสดงผลงานสีน้ำอาเซียน จากการจัดกิจกรรม workshop สีน้ำ ที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
- ชั้นที่ 3 ห้องกระบี่ และลานอเนกประสงค์ จัดแสดงผลงานโดยศิลปินนานาชาติ และพลาดไม่ได้สำหรับไฮไลท์ของห้องภูเก็ต ซึ่งได้รวบรวมผลงานโดยศิลปินแห่งชาติไว้มากมาย อาทิ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี, อาจารย์กมล ทัศนาญชลี เป็นต้น
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 30 ที่เที่ยวเชียงราย เที่ยวไหนดีที่เชียงราย เหนือสุดแดนสยาม
อาคารแสดงนิทรรศการหมุนเวียน C สำหรับจัดแสดงผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงได้รับรางวัล จนถึงระดับศิลปินแห่งชาติของประเทศไทย และได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการหอศิลป์อันดามัน
อาคารแสดงนิทรรศการหมุนเวียน D สำหรับจัดแสดงผลงานของศิลปินรุ่นใหม่ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการหอศิลป์อันดามัน
อาคารสาธิตการผลิตลูกปัด (Beads Production Building) ชมการสาธิตการผลิตลูกปัดโบราณในแต่ละขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การตัด การเจียระไน การเจาะ การขัดด้วยกระดาษทรายและการขัดด้วยผ้าสักหลาด สะท้อนถึงภูมิปัญญา ฝีมือเชิงช่าง สืบทอดตำนานลูกปัดต่อไป
โรงเรียนต้นกล้าอันดามัน (Ton-Gla Andman School) โรงเรียนที่บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ด้านศิลปะทุกแขนง ให้เติบโตมามีความรู้ความสามารถ ผ่านการอบรมจากศิลปินที่มีความสามารถหลากหลายเฉพาะทางนั้นๆ โรงเรียนแห่งนี้ได้ดำเนินตามหลักของพระสยามบรมราชกุมารี ที่ว่าด้วย ‘”ศิลปะสร้างคน คนสร้างเมือง”
ห้องจำหน่ายสินค้าที่ระลึก (Andaman Souvenir Shop) จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Otop จากชุมชนในจังหวัดกระบี่ ลูกปัดย้อนยุครูปทรงโบราณ สร้อยคอ ต่างหู สร้อยข้อมือ โปสการ์ด โปสเตอร์ และอีกมากมาย
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (Andaman Visitor Center) ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก สายการบินและอื่นๆ แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ที่มา : museumthailand.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ใครว่า ที่เที่ยวเชียงใหม่ มีดีแค่ธรรมชาติ พาชม 5 พิพิธภัณฑ์ น่าไปเมืองเชียงใหม่
อัพเดตใหม่ 2021 รวม 7 พิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพ ที่น่าไปเที่ยว