ครีมทาผื่นผ้าอ้อม ตัวช่วยที่พ่อแม่ควรต้องใส่ใจ เมื่อเกิดปัญหาผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อม เป็นปัญหาผิวหนังในเด็กที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่มือใหม่ได้ไม่น้อย โดยสาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัยได้เช่นกัน อาทิเช่น การติดเชื้อ, การเสียดสีของผิวกับผ้าอ้อม หรืออาการแพ้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้ ด้วยการดูแลผิวลูกให้แห้งอยู่เสมอ เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ หรือ ครีมผ้าอ้อมเด็ก เพื่อปกป้องผิวร่วมด้วย

หากสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีอาการไม่สบายตัว โดยเฉพาะในตอนที่เปลี่ยนผ้าอ้อม บริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับผ้าอ้อมโดยตรง มีผื่นสีแดงเป็นปื้น อย่างก้น โคนขา และอวัยวะเพศ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ควรใส่ใจและเพิ่มการดูแลมากยิ่งขึ้น

 

 

รู้จักกับผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อม หรือ Diaper dermatitis หรือ Nappy rash เป็นผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดขึ้นกับเด็ก บริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อม มักพบในเด็กช่วงอายุ 9-12 เดือน จนถึงอายุ 3 ปี โดยเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่หลัก ๆ มักพบจากอาการอักเสบเพราะระคายเคืองสัมผัส โดยมีปัจจัยกระตุ้นหลักจากการสัมผัสปัสสาวะหรือ อุจจาระเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังบริเวณที่สวมผ้าอ้อมมีการอับชื้น และเมื่อเกิดการเสียดสี จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบแดง เป็นแผล และทำให้เกิดการติดเชื้อได้

 

 

 

อาการของผื่นผ้าอ้อม

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จาก ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อมอาจมีผื่นแดง โดยปกติแล้วมักเกิดบริเวณขาอ่อนด้านใน, ซอกเนื้อ, ข้อพับ, ขาหนีบ หรือ บางครั้งอาจเกิดผื่นขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ รวมทั้งรอบบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อมด้วย ซึ่งเมื่อเกิดผื่นผ้าอ้อมแล้ว จะทำให้ลูกน้อยมีอาการเจ็บ, งอแง, ไม่สบายตัว และปัสสาวะลำบากได้ค่ะ

อ่านต่อ : ลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม เลือก ยาทาผื่นผ้าอ้อม ครีมทาผื่นผ้าอ้อม ยี่ห้อไหนดี?

 

 

ทำไมจึงเกิดผื่นผ้าอ้อม?

ผื่นผ้าอ้อมเกิดจากสารสัมผัสมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน เนื่องจากทารกมีผิวบอบบาง บางครั้งแค่เพียงผิวหนังเกิดการเสียดสีกับผ้าอ้อม เพราะใส่ผ้าอ้อมแน่นเกินไป ก็ทำให้เกิดการระคายเคืองและเกิดผื่นคันได้เช่นเดียวกัน หรือในบางครั้ง เมื่อลูกมีผื่นแดงขึ้น ก็เป็นไปได้ว่าสาเหตุของการระคายเคืองอาจมาจากสารสัมผัสใน สบู่เหลว แป้ง หรือ ทิชชู่เปียก ที่ลูกใช้อยู่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของลูกทุกครั้ง แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ “ความเปียกชื้น" จากการที่ผิวหนัง

นอกจากนี้โดยปกติผิวหนังคนเราจะมีภาวะความเป็นกรด ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่เมื่อ “สภาพความเป็นกรดถูกทำให้เป็นด่าง" ด้วยสารแอมโมเนียจากปัสสาวะ จะทำให้ผิวหนังติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ยิ่งเมื่อผสมกับอุจจาระของทารก จึงยิ่งเสริมให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนมากขึ้น

ในระยะแรกที่เริ่มเป็นผื่นอาจเกิดจากการระคายเคือง แต่เมื่อปล่อยไว้นานจนภูมิต้านทานผิวลดลง ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ ทั้งจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในบริเวณนี้ได้ง่ายขึ้นค่ะ

 

 

สาเหตุของผื่นผ้าอ้อม

โดยปกติผื่นผ้าอ้อมมักเกิดในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี โดยอาการนี้อาจเป็นผลมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

1. ผ้าอ้อมแน่นหรือชื้นเกินไป

ผิวหนังที่เสียดสีกับผ้าอ้อมอาจทำให้มีผื่นเกิดขึ้น อีกทั้งปัสสาวะและอุจจาระที่สะสมอยู่ในผ้าอ้อมยังก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง หากเด็กมีอาการท้องเสียจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดผื่นผ้าอ้อมง่ายกว่าเดิม เนื่องจากการถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ อาจทำให้ผิวหนังใต้ผ้าอ้อมสัมผัสกับสิ่งสกปรกมากขึ้น

2. การเปลี่ยนอาหาร

เมื่อลูกน้อยเริ่มเปลี่ยนมารับประทานอาหาร อาจส่งผลให้อุจจาระเปลี่ยนไป และอุจจาระบ่อยกว่าปกติ จึงอาจสร้างความระคายเคืองต่อผิว และเสี่ยงต่อการเกิดผื่นผ้าอ้อม

3. ผิวหนังแพ้ง่าย

เด็กที่มีปัญหาผิวหนังอย่างโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอักเสบมาก่อน มักจะมีผิวหนังไวต่อสิ่งกระตุ้น จึงทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้ง่ายขึ้น

4. การระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์

การเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อาจทำให้เกิดอาการแพ้กับผิวหนังเด็กได้ การติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียผิวหนังใต้ผ้าอ้อม

5. การรับประทานยาปฏิชีวนะ

ซึ่งยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดดี ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราและเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ รวมทั้งคุณแม่ที่ใช้ยาปฏิชีวนะขณะในช่วงให้นมลูก ก็อาจส่งผลต่อการเกิดผื่นผ้าอ้อมในเด็กได้เช่นกัน

 

แต่นอกจากผื่นผ้าอ้อมแล้ว เด็กๆ ยังอาจะเกิดผื่นชนิดอื่นได้อีกด้วย อย่าลืมทำความรู้จักกับ ผื่นในเด็กที่เกิดบ่อยพร้อมวิธีป้องกันผื่นเหล่านี้ให้หายไปด้วยนะคะ

 

 

 

วิธีดูแลลูกน้อยให้หายจากผื่นผ้าอ้อม

การดูแลผิวของทารกให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้หายจากผื่นผ้าอ้อม โดยผู้ปกครองควรดูแลผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นมากขึ้น และอาจปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  • เปลี่ยนผ้าอ้อมทันทีหลังจากการอุจจาระหรือผิวหนังเกิดความเปียกชื้น
  • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณใต้ผ้าอ้อมด้วยน้ำสะอาด
  • ดูแลผิวก้นและบริเวณโดยรอบให้แห้งเป็นประจำหลังทำความสะอาดเสร็จ
  • ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กทุกครั้ง
  • เลือกผ้าอ้อมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดการเสียดสีและความอับชื้น
  • หยุดใช้ผ้าอ้อมสักพัก เพื่อให้อากาศได้ถ่ายเท
  • ทาครีมทาผื่นผ้าอ้อมเป็นประจำทุกครั้งเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือระหว่างวัน

อ่านต่อ : เคล็ดลับลดผื่นผ้าอ้อมเด็ก

 

สำหรับครีมทาผื่นผ้าอ้อม เราขอแนะนำ Mama’s Choice Diaper Cream ครีมทาผื่นเด็ก ช่วยบรรเทาผดผื่นจากความร้อน ผ้าอ้อม คราบน้ำนม อาการระคายเคืองผิวหนังอื่น ๆ รวมถึงอาการคันและรอยดำรอยแดง ทั้งยังช่วยบำรุงให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย สูตรอ่อนโยนเหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย สามารถใช้ได้กับทารกแรกเกิดอายุ 0+ ขึ้นไป

 

โปรโมชันลด 20% ราคาพิเศษเพียง 199 บาท

ซื้อเลยที่ Shopee

จุดเด่นของครีม

✅ ส่วนผสมพิเศษจากสารสกัดใบบัวบก อัลมอนด์ และโรสแมรี่ ที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยบรรเทาผดผื่น ลดรอยดำรอยแดง และให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวของลูกน้อยได้จริง

✅ ลดผดผื่นได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มใช้ เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อใช้ 3 ครั้งต่อวัน*

✅ 4 ใน 5 ของคุณแม่พอใจกับผลลัพธ์ที่ช่วยลดผื่นของลูกน้อย*

✅ ใช้ได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดอายุ 0+ ขึ้นไป

✅ ผ่านการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนังและไม่ก่อให้อาการระคายเคือง

✅ ใช้ได้ผลกับผื่นหลายแบบ ทั้งผื่นร้อน ผื่นผ้าอ้อม ผื่นคราบน้ำนม และผื่นคันระคายเคืองอื่น ๆ

✅ ไม่ทิ้งคราบขาว ไม่เหนียวเหนอะหนะติดเสื้อผ้า

*จากการทดสอบกับผู้ใช้จริงจาก Mama’s Choice Home Panel Test (September 2020)

 

วิธีใช้ครีมทาผื่นเด็กของ Mama’s Choice

1️⃣ เช็ดให้แน่ใจว่าผิวของทารกสะอาดและแห้งสนิท

2️⃣ บีบ Mama’s Choice Diaper cream ลงบนนิ้วของคุณแม่

3️⃣ นวดเนื้อครีมเบา ๆ เข้าสู่ผิวลูกน้อยบริเวณที่ต้องการลดผดผื่นเป็นวงกลมและหลีกเลี่ยงการถูแรงๆ

4️⃣ แนะนำให้ใช้ติดต่อกัน 3 ครั้งต่อวัน!

💡สำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าลูกจะแพ้ แนะนำให้ทดลองทาครีมบริเวณแขนของลูกน้อยทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หากไม่เกิดอาการแพ้ บวมแดง หรือระคายเคืองอื่น ๆ ก็สามารถทาครีมได้ตามปกติเลยค่ะ

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำ ชุดมินิมอล สำหรับแม่ท้อง สไตล์มูจิเรียบง่าย ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี

วิธีสังเกต พัฒนาการทารกวัยแรกเกิด ถึง 1 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทางสังคมเด็กวัย 8 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ห้ามละเลย

 

ที่มา : pobpad, phyathai

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn