กว่าจะ สอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย ได้แต่ละที่นั้น เรียกได้ว่k ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะว่ามีการสอบหลายขั้น หลายตอนมาก ทั้งสอบข้อเขียน ทั้งใช้คะแนนจากการสอบ GAT/PAT 9 วิชาสามัญ และด่านสุดท้ายก็คือ สอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดแล้วว่าเราได้เรียนต่อที่นี้หรือไม่
ดังนั้นเรามาเตรียมตัวกันให้พร้อม ก่อนสอบสัมภาษณ์กันจริงๆ เลยดีกว่า กับ 10 คำถามยอดฮิต ที่เรามักจะได้เจอกันอยู่บ่อยๆ เวลาสอบสัมภาษณ์ เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีอะไรบ้าง
1. การแนะนำตัวเอง
การที่คณะกรรมการถามคำถามนี้ ไม่ใช่ว่าอยากรู้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ เพราะอย่าลืมว่า พวกเขาย่อมมีประวัติส่วนตัวของคุณโดยละเอียดอยู่แล้ว ดังนั้นคำถามนี้ จึงเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้คุณ ทำคะแนนสร้างความประทับใจแรกแก่กรรมการ และยังเหมือนเป็นการละลายพฤฒิกรรม ให้คุณผ่อนคลายกับคำถามต่อๆ ไปอีกด้วย
คำแนะนำ : สำหรับข้อนี้ ไม่มีอะไรแนะนำมากนัก นอกจากให้คุณมี สติ เพราะหากเราตอบคำถามแรกอย่างมีสติ รับรองว่าคำถามต่อๆ ไปผ่านฉลุยแน่นอน
2. ทำไมถึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้
เป็นคำถามที่ร้อยทั้งร้อยต้องเจอ และยังเป็นคำถามที่ชี้วัดชะตากรรม ของคำถามต่อไปเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าคุณตอบดี เข้าตากรรมการ คำถามต่อไปก็ง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพราะกว่า 50% ของคณะกรรมการจะตัดสินในใจแล้วว่า คุณเหมาะหรือไม่กับการเรียนคณะนี้นั่งเอง
คำแนะนำ : เชื่อว่าหลายคนที่เจอคำถามนี้ ก็ต้องตอบว่า “อยากเรียนมานานแล้วค่ะ/ครับ” ซึ่งคำตอบแบบนี้ถือว่าธรรมดาเกินไป พวกคณะกรรมการ จะไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับคำตอบของคุณเลย จนกว่าคุณจะกล่าวข้อมูลเสริมเข้าไป เช่น ฝันอยากแอร์โฮสเตสมาตั้งแต่เด็ก จึงตั้งใจเรียนด้านภาษามาโดยตลอด และทุกครั้งที่ขึ้นเครื่องบิน ได้มีโอกาสเห็นพี่ๆ เขาพูดภาษาคล่องๆ ให้บริการอย่างชำนาญแล้วก็ยิ่งรู้สึกมีแรงบันดาล ดังนั้นจึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้ เป็นต้น
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : วางแผนการศึกษาลูก ตั้งแต่เกิดจนจบ ปริญญาโท ต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่
3. รู้หรือไม่ว่าคณะ/สาขานี้เรียนอะไรบ้าง?
คำถามนี้เป็นการทดสอบว่าคุณหาความรู้เกี่ยวกับคณะที่จะเข้ามาศึกษามากน้อยเพียงใด ดังนั้นจึงไม่ควรตอบแบบผิวเผิน เช่น ไม่ทราบ หรือ คณะมนุษย์ศาตร์ก็มีไว้สอนภาษา เพราะถ้าตอบแบบนั้นก็เตรียมรอสอบที่ใหม่ได้เลย
คำแนะนำ : สำหรับข้อนี้คุณควรจะตอบเป็นเชิงลึกลงไป เช่น คณะมนุษย์ศาตร์เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนหลากหลาย ซึ่งนอกจากภาษาแล้ว ยังสอนการบริการ, การตลาด, การบริหาร รวมไปถึงความรู้ต่างๆ ที่เราสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริงอีกด้วย เรียกได้ว่ารู้อะไรเกี่ยวกับคณะนี้ให้ตอบออกไปให้หมดเลยก็ว่าได้
4. เรียนหนักนะ จะไหวเหรอ?
เป็นคำถามสั้นๆ แต่ได้ใจความ เพราะเป็นเหมือนการคอนเฟริมความมั่นใจของคุณไปในตัว คณะกรรมการบางคนอาจจะถามเหมือนเป็นเชิงดูถูกให้คุณของขึ้นเล่นๆ แต่อย่าไปคิดมาก ให้ตอบแบบมั่นใจเข้าไว้ว่าเราทำได้
คำแนะนำ : ไหวแน่นอนค่ะ/ครับ เพราะถ้าได้เข้าคณะที่ฝันมานาน คิดว่าคงไม่มีไรยากไปกว่านี้แล้วค่ะ/ครับ ขอย้ำว่าเสียงที่ตอบต้องมีความมั่นใจ ห้ามยิ้มแหย่ๆ หรือเกาหัวแก๊กๆ เป็นอันขาด
5. แล้วถ้าไม่ได้ที่นี่จะทำยังไง
เมื่อได้ยินคำถามนี้ ขอย้ำคำว่าสติอีกครั้ง เพราะคณะกรรมการเพียงแค่ดูไหวพริบ และความคิด หลังจากได้รับแรงกดดันเท่านั้น ห้ามตอบว่า “ไม่ทราบ” เป็นอันขาด
คำแนะนำ : ให้ย้ำความตั้งใจที่จะเข้าคณะนี้อีกครั้ง โดยอาจจะตอบว่าจะรอรอบสัมภาษณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นการย้ำว่าคุณต้องการเข้าศึกษาต่อคณะนี้จริงๆ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 7 วิธีรับมือกับ ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน ปีการศึกษาใหม่ 2564
6. ถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่เคยเข้าร่วม
คำถามนี้ไม่ใช่การชวนคุย แต่เป็นคำถามที่จะดูว่าคุณเป็นคนมีสาระหรือไม่ ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์หรือเปล่า และกิจกรรมที่คุณเคยทำสอดคล้องกับคณะที่จะเรียนมากน้อยเพียงใด
คำแนะนำ : ข้อนี้คุณอาจจะตอบสร้างภาพ เกี่ยวกับกิจกรรมที่สอดคล้องกับคณะที่จะเข้าก็ได้ หรือถ้าคุณจะตอบแบบตรงไปตรงมา ก็ขอให้คุณอธิบายเพิ่มเติมไปว่า เพราะอะไรถึงเข้าร่วมและกิจกรรมที่ทำมีประโยชน์อะไรบ้าง แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะทำกิจกรรมที่ตรงกับอาชีพหรือคณะที่เรียน ขนาดหมอยังไปเตะบอล ทั้งที่ไม่ได้จบคณะพละศึกษาสักหน่อย
7. ข้อดีของคุณคืออะไร
แน่นอนว่าหลายคนย่อมมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย แต่ข้อดีของคุณมันดีต่อคนอื่นหรือเปล่านั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง
คำแนะนำ : ให้คุณตอบไปเลยอย่างมั่นใจว่าคุณมีข้อดีอะไรบ้าง แต่อย่าลืมที่จะเติมท้ายไปว่า ข้อดีของคุณดีต่อคนอื่นอย่างไรด้วยนะ
8. ข้อเสียของคุณคืออะไร
บางคนอาจตอบอย่างมั่นใจว่า “ไม่มี” เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง แต่คุณอย่าลืมคิดไปว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดีพร้อมไปหมดทุกอย่างหรอกนะ และคนที่รู้ข้อเสียของตนเองก็ดูเป็นคนน่าคบหามากกว่าคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีข้อเสียอะไร
คำแนะนำ : ข้อนี้คุณควรตอบข้อเสียของคุณออกไปเลยอย่างมั่นใจ แต่อย่าลืมที่จะบอกวิธีแก้ไขข้อเสียของคุณเข้าไปด้วย เช่น เป็นคนไม่รอบคอบ แต่ก็พยายามทวนสิ่งที่ต้องทำหรือสิ่งที่สำคัญทุกครั้งก่อนไปทำอย่างอื่นค่ะ/ครับ คำตอบแนวนี้จะช่วยให้เขาคิดว่า คุณเป็นคนยอมรับในข้อผิดพลาดของตัวเอง และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : โรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน เปิดสอบชิงทุนการศึกษานักเรียน Year 9
9. ถามการเดินทางมาเรียนเป็นอย่างไร
หลายคนอาจมองว่าเป็นคำถามไร้สาระ แต่เชื่อหรือไม่ว่าระยะการเดินทางมาเรียน ถือเป็นสาเหตุหลัก ให้รุ่นพี่ของคุณโดนรีไทล์มาแล้ว ดังนั้นก่อนตอบ ต้องคิดให้ดีและตอบอย่างมั่นใจ
คำแนะนำ : ให้คุณตอบไปตามความจริง เพราะอย่าลืมว่า เขามีที่อยู่ของคุณอยู่ในมือ ซึ่งถ้าหากคุณพักอยู่ไกลก็ให้ตอบไปเลยว่าไกล แต่จะพยายามออกเดินทางให้เร็วขึ้น คุณอาจจะเล่าแผนการเดินทางมาเรียนให้เขาฟังก็ได้ หรือเสริมท้ายไปว่า หากได้เข้าเรียนคณะนี้แล้วระยะทางเป็นอุปสรรคต่อการเรียนจริงๆ จะหาที่พักที่เดินทางสะดวกครับ/ค่ะ
10. มีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมหรือไม่
คำถามนี้ไม่ใช่คำถามเล่นๆ อย่างแน่นอน เพราะหลายคนที่กำลังนั่งสัมภาษณ์อยู่ คงมีคำถามมากมายอยู่ในหัว อาจจะเกี่ยวกับกำหนดการประกาศผลสอบสัมภาษณ์ หรือขอคำแนะนำในการเตรียมตัวเมื่อรู้ผลก็ได้
คำแนะนำ : ข้อนี้ไม่มีคำตอบตายตัว แต่ขอแนะนำว่า ให้คุณถามข้อสงสัยที่มีอยู่ออกไปทั้งหมด แต่ต้องเป็นคำถามที่ Make Sense หน่อยนะ เช่น ถ้าไม่ผ่านจริงๆ ทางคณะมีแนวทางการช่วยเหลืออะไรบ้าง เป็นต้น แต่อย่าเงียบหรือตอบว่า ไม่มี เพราะคุณจะดูเป็นคนไม่มีความใส่ใจไปเลยทันที
11. ทำไมไม่เลือกเรียนสถาบันใกล้บ้าน
สำหรับคำถามนี้ คนที่มักจะเจอคือคนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ และที่สำคัญผู้ถามมักจะไม่ได้คำตอบแบบตรงไปตรงมา แต่จะวัดไหวพริบปฏิภาณ ของผู้สอบเช่นกัน สิ่งมที่ไม่ควรตอบเลยตชคือไม่อยากอยู่ที่บ้าน เพราะอาจทำให้คณะกรรมการคิดว่า เราอาจมีปัญหาทางครอบครัวได้
คำแนะนำ : เพราะชื่อเสียงของสถาบัน ความใฝ่ฝัน งานที่รองรับ ความเจริญ ท้าทายตนเอง
อย่างไรก็ตามคำถามแต่ละคำถาม และคำตอบของแต่ละคนอาจไม่ตายตัว และควรเลือกตอบตามที่ตัวเองเข้าใจ คำถามไหนที่ตอบไม่ได้ ก็ควรตอบไปตามจริงว่าไม่ทราบ หรือไม่ได้ศึกษาข้อมูลในส่วนนี้มา (ยกเว้นกรณีใน ข้อที่ 5) อย่าพยายามหาคำตอบที่เราไม่รู้จริงมาตอบเพราะอาจเป็นผลเสียต่อตัวเอง
ที่มา : (campus.campus-star)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
การจัดการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6 ม.3 และ V-NET ปวช.3 ปีการศึกษา 2563
วางแผนการศึกษาลูก ตั้งแต่เกิดจนจบ ปริญญาโท ต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่