9 เทคนิคที่ทำให้ลูกหลับง่าย โดยที่คุณเเม่ไม่ต้องอดหลับอดนอน

9 เทคนิคที่ทำให้ลูกหลับง่าย โดยที่คุณเเม่ไม่ต้องอดหลับอดนอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะเด็กบางคนนั้นนอนยาก คุณพ่อคุณเเม่มือใหม่จึงไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ยิ่งหากต้องตื่นไปทำงานในตอนเช้าด้วยเเล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายเเน่นอนค่ะ หากจะมีเทคนิคดีๆ อย่าง 9 เทคนิคที่ทำให้ลูกหลับง่าย วิธีทําให้ลูกหลับง่าย โดยที่คุณเเม่ไม่ต้องอดหลับอดนอน ก็คงจะดีใช่ไหมคะ

 

1.สร้างบรรยากาศให้น่านอนหลับ

สิ่งที่เด็กๆ จะเรียนรู้ว่านี่คือเวลาที่ควรนอนหลับได้เเล้ว เกี่ยวกับเรื่องของบรรยากาศเเละสิ่งเเวดล้อมค่ะ ก่อนนอนสัก 30 นาที ให้หรี่ไฟสลัวๆ หรี่เสี่ยงหรือปิดทีวีหรือเสียงอื่นๆ ลง หลีกเลี่ยงกิจกรรมใช้เเรงในช่วงที่ใกล้เวลานอน เปลี่ยนเป็นการอ่านนิทาน การอาบน้ำอุ่นๆ การร้องเพลงกล่อมเเทน บรรยากาศต่างๆ อย่างเเสงไฟจะช่วยให้นาฬิกาของร่างกายทำงานเเละบ่งบอกว่า ได้เวลาที่ลูกจะนอนลงเเล้วนะจ๊ะ การฝึกนอนด้วยวิธีนี้ควรทำติดต่อกันทุกวันอย่างน้อย 6-7 สัปดาห์ค่ะ

 

2.ฝึกให้ลูกนอนเองเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน

เมื่อลูกอายุได้ 5 เดือน เป็นเวลาที่เหมาะสมในการให้เขานอนเองได้เเล้วละค่ะ เเม้ว่าการกล่อมลูกนอนจะทำได้ง่ายกว่าก็ตาม เเต่เขายังต้องเรียนรู้ที่จะนอนหลับเองให้ได้ด้วยนะคะ เเม้ว่าวิธีนี้จะทำได้ไม่ง่ายนัก เเละคุณพ่อคุณเเม่หลายคนมองว่ายากมากๆ ก็ตาม เเต่มันก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่ดีค่ะ โดยเริ่มจากการฝึกให้ลูกนอนเองวันละครั้งค่ะ เริ่มจากการนอนในครั้งเเรกของวัน เช่นช่วงสาย หรือบ่ายๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ไม่ควรใช้วิธีดูดนมเพื่อกล่อมนอน

จริงๆ ข้อดีของวิธีนี้ คือมันไม่ยุ่งยากเเละง่ายมากๆ เเต่ข้อเสียมีอีกเช่นกันค่ะ นั่นคือ เเม้ว่าลูกจะง่วงอยากนอน เเต่ลูกก็เข้าใจว่าเขาต้องกินก่อนถึงจะนอนได้ เเม้ว่าเขาจะไม่หิวก็ตาม เเละอีกหนึ่งข้อเสียคือ คุณเเม่จะเป็นคนเดียวที่เอาลูกเข้านอนได้ โดยวิธีการเปลี่ยนจากการนอนไปกับการดูดนมนั้น คือคุณเเม่ควรให้ลูกกินนมเร็วขึ้น เเละในช่วงที่ก่อนนอน ก็เปลี่ยนเป็นการเล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมเเทนค่ะ

 

4.ไม่ควรให้ลูกนอนดึก

เเม้ว่าในเเต่ละฤดู จะทำให้เวลากลางคืนมืดช้าไปบ้าง เเต่ในเด็กๆ ควรยึดตามนาฬิกาเป็นหลักค่ะ เช่น ปกติเเล้วลูกจะเข้านอนประมาณ 19.00 เเต่ในหน้าร้อน เวลา 19.00 ท้องฟ้ายังสลัวๆ ไม่มืดเสียทีเดียว คุณพ่อคุณเเม่เลยคิดว่า อาจจะยังไม่ต้องเอาลูกนอนก็ได้ ซึ่งนั่นเป็นการกระทำที่ทำให้นาฬิกาชีวิตของลูกรวนได้นะคะ เเต่การกลับไปฝึกนอนอีกครั้งก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น เเละอาจทำให้ลูกนอนยาวๆ ไม่ได้ ตื่นบ่อยขึ้นระหว่างกลางดึกค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.ให้เด็กๆ ดูดนมในนกลางดึกบ้าง

ก่อนหน้านั้น ควรจดบันทึกการกินนมของลูกก่อนนะคะ ในเด็กที่กินนมเเม่ล้วน จดระยะเวลาของการเอาเข้าเต้า ทั้งในช่วงกลางวันเเละในช่วงกลางดึกค่ะ หากลูกดูดนมในตอนกลางวันเยอะกว่าตอนกลางคืน เข้าควรนอนได้ยาว 4-6 ชั่วโมง กลับกัน หากลูกกินนมตอนกลางคืนนานกว่าตอนเย็น ก็หมายความว่าลูกอาจจะเเค่อยากดูดนมของคุณเเม่เฉยๆ ก็ได้ค่ะ

 

6.ไม่ต้องกังวลเรื่องการนอนกลางวัน

คุณพ่อคุณอาจจะคิดว่าหากไม่นอนกลางวัน เพื่อเวลาที่นอนตอนกลางคืน ลูกจะได้เหนื่อยเเละนอนง่ายขึ้น เเต่นั่นเป็นการทำให้ร่างกายของลูกผลิตฮอร์โมนความเครียดเยอะขึ้น เเละก็อาจจะส่งผลทำให้นอนกลับยากขึ้นได้ในตอนกลางคืน หากลูกส่งสัญญาณว่าหนูง่วงเเล้ว คุณพ่อคุณเเม่ก็อย่าลังเลที่จะให้ลูกนอนกลางวันเลยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

7.ลูกนอนที่ไหนก็ได้

จริงอยู่ที่ลูกอาจจะนอนที่ไหนก็ได้ค่ะ นอนทับคุณเเม่ขณะที่ดูละครเรื่องโปรดอยู่ นอนในคาร์ซึทเวลาที่ไปเที่ยว เเต่ควรให้ลูกได้นอนหลับในเตียงของเขาบ้าง ให้เขาได้นอนหลับสนิทบ้างสักวันละครั้งค่ะ เมื่อลูกมีอายุ 3-4 เดือน ลูกจะนอนน้อยลง ซึ่งเขาจะนอนกลางวันอย่างน้อยๆ คือ 2 รอบด้วยกันค่ะ รอบเช้าเเละรอบบ่ายค่ะ

 

8.ขอเวลาให้ลูกกล่อมตัวเองบ้าง

การปล่อยให้ลูกนอนเอง คุณพ่อคุณเเม่ควรมีเวลาให้ลูกได้นอนหลับไปเองด้วยค่ะ อย่าเร่งรืบเกินไป หากลูกตื่นขึ้นมากลางดึก อย่าเพิ่งเข้าถึงตัวลูก ให้ดูก่อนว่าเขาสามารถกล่อมตัวเองให้หลับต่อได้หรือไม่ หากลูกต้องการกินนม หรืออุ้มกล่อมสักนิด คุณพ่อคุณเเม่ค่อยยื่นมือเข้าไปช่วยค่ะ

 

9.สิ่งสำคัญคือระยะเวลา

ในโลกที่มีเคล็ดลับฝึกลูกนอน 108 1009 วิธี คุณพ่อคุณเเม่ต้องอย่าลืมว่า ในการฝึกลูกนอนเเต่ละวิธีนั้น ต้องการการทำซ้ำเเละระยะที่จะฝึกลูก สัก 2-3 เดือน หากเปลี่ยนวิธีไปเรื่อยๆ โดยไม่มีทั้งความต่อเนื่องเเละระยะเวลาที่นานพอ สิ่งที่ทำมาทั้งหมด อาจไร้ผลได้ง่ายๆ เลยนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา fitpregnancy

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลากปัญหาเรื่อง “นอน” ของลูกที่พ่อแม่อยากรู้