7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดี แต่ทำอย่างไรจึงจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านภาษาของลูกได้ ก่อนอื่นต้องทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กทั้ง 7 ข้อนี้ก่อนค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7 ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

  1. สุขภาพร่างกายทั่วไป

สุขภาพร่างกายและพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านภาษาของเด็ก การเจ็บป่วยรุนแรง และสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการด้านการพูดของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสองปีแรกของชีวิต เนื่องจากเมื่อเจ็บป่วย เด็กจะถูกแยกจากคนอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ที่จะพูดได้ นอกจากนี้ยังทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง และจากการที่ป่วยบ่อยทำให้ไม่เกิดความกระตือรือร้นที่จะพูด หรือสื่อสารกับคนอื่น รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาทางการได้ยิน ก็จะทำให้มีพัฒนาการด้านการพูดที่ช้าไปด้วย

เด็กที่สุขภาพอ่อนแอจะมีพัฒนาการช้าในทุกๆ ด้าน ต่างจากเด็กที่สุขภาพแข็งแรง จะมีความสุข มีชีวิตชีวา มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ดังนั้น หากอยากให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี ต้องเริ่มจากการส่งเสริมให้ลูกมีสุขภาพที่ดีก่อนค่ะ

  1. พัฒนาการด้านสติปัญญา

ภาษาและการพัฒนาด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ดังคำกล่าวที่ว่า “คำพูดของเด็กเป็นตัวบ่งชี้เดียวที่ดีที่สุดที่บอกถึงไอคิวของเด็กคนนั้น” เด็กที่พูดเร็วจะมีไอคิวสูงกว่าปกติ ในทางตรงกันข้าม หากลูกพูดช้า ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ฉลาด  เพราะความล่าช้านี้อาจจะเกิดจากการเจ็บป่วยหรือ ปัจจัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ด้วยไอคิวที่ต่างกันนี้ ทำให้ความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำแตกต่างกัน เด็กที่พูดเร็วจะสามารถเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่สื่อสารกับเขาได้อย่างรวดเร็ว จึงสามารถจดจำสิ่งของ ผู้คน และสามารถพูดทวนคำพูดของพ่อแม่เป็นประโยคง่ายๆ ได้อย่างถูกต้องเร็วกว่าเด็กคนอื่นๆ

นอกจากนี้ การที่เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นก็จะเกิดการพัฒนาทางสติปัญญา จากการศึกษาพบว่าเด็กที่มีสติปัญญาดีจะเรียนรู้คำศัพท์และการสร้างประโยคได้ดีกว่า ทั้งยังสามารถใช้คำในการสร้างประโยคยาวๆ ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

สิ่งสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของลูก คือ การเสริมแรงด้วยการกอด หอม และชื่นชมลูก เมื่อเขาแสดงถึงพัฒนาการด้านภาษาที่ดี

  1. การเรียนรู้และการเจริญเติบโต

พัฒนาการด้านภาษาของเด็กขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และการเจริญเติบโต ถึงแม้ว่าจะฝึกให้เด็กทารกพูดตั้งแต่อายุได้ 3-4 เดือน เขาก็ยังไม่สามารถพูดได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กส่วนใหญ่จึงเริ่มพูดได้ในช่วงอายุ 18-28 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อการพูดมีการพัฒนามากพอที่จะเริ่มพูด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ เมื่อเด็กมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมแล้ว เขาต้องได้รับการสอน การจูงใจ การเสริมแรงให้อยากจะพูดด้วย เพราะไม่มีใครสามารถเรียนรู้ที่จะสื่อสารได้หากเขาถูกทิ้งไว้ตามลำพัง ดังนั้นการเจริญเติบโตและการเรียนรู้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มาควบคู่กันในการพัฒนาด้านภาษาของเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  1. สภาพแวดล้อม

งานวิจัยเปิดเผยว่า เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเหมาะสมและได้รับการกระตุ้นให้พูดจะมีพัฒนาการด้านการพูดที่เร็ว โดยนักวิจัยได้ทำการสังเกตเด็กกำพร้า พบว่า เด็กที่ได้รับการอุปถัมภ์จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีกว่าเด็กกำพร้าที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าหรือเด็กกำพร้าที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้รับการกระตุ้นให้พูด

ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ดูแลในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้ามักจะพูดน้อยและไม่ค่อยกระตุ้นให้เด็กพูดหรือสื่อสาร สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและสติปัญญาล่าช้า

อีกหนึ่งตัวอย่างที่เชื่อมโยงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านภาษา คือการศึกษาของ เออร์วินศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัยไอโอวาสหรัฐอเมริกา ได้พบว่า เมื่อเพิ่มการกระตุ้นในเด็กที่มีภูมิหลังมาจากชนชั้นล่าง ทำให้เด็กมีความสนใจด้านภาษามากขึ้น ก็สามารถทำให้เด็กมีการพัฒนาด้านการพูดที่ดีขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ไม่ว่าเด็กจะมีภูมิหลังอย่างไร หากได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีการกระตุ้นก้านการพูด มีโอกาสพูดคุยกับผู้ใหญ่มากขึ้น จะสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กให้ดีขึ้นได้

  1. เพศ

ในช่วงขวบปีแรก เราอาจจะยังไม่เห็นความแตกต่างของพัฒนาการด้านภาษาในเด็กชายและเด็กหญิง แต่เมื่อเข้าขวบปีที่สอง พบว่า เด็กหญิงมีพัฒนาการด้านการพูดดีกว่าเด็กผู้ชาย โดยเด็กหญิงจะเรียนรู้เสียงพูด และพูดคุยได้คล่องแคล่วกว่าเด็กชาย

ความแตกต่างนี้จะเด่นชัดมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น รวมถึงความแตกต่างในเรื่องของ สถานะทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของแม่และลูกสาว อาจจะทำให้ลูกสาวมีการพัฒนาที่ดีกว่าลูกชาย นอกจากนี้ยังพบว่า ความถูกต้องทางไวยากรณ์และการออกเสียงในเด็กชายมีความแม่นยำน้อยกว่าเด็กหญิงอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ ทำความเข้าใจ พัฒนาการ ลูกสาว vs ลูกชาย ต่างกันอย่างไร

  1. ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว

ความสัมพันธ์ของเด็กกับสมาชิกในครอบครัวมีผลอย่างยิ่งกับพัฒนาการด้านการพูดของเด็ก เด็กที่ได้รับความรักและการปกป้องมากเกินไป จะถูกปิดกั้นทางภาษา ทำให้เด็กพูดช้า ในทางตรงกันข้าม เด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม จะเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ตามมา

ดังนั้น คุณแม่ควรมีความยืดหยุ่น ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป จึงจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาให้ลูกพูดเก่งขึ้นได้

  1. จำนวนสมาชิกในครอบครัว

จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เพราะ เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวจำนวนมาก เด็กจะมีโอกาสที่จะพูดคุยกับผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

 

ทั้ง 7 ปัจจัยนี้มีผลต่อพัฒนการด้านภาษาของเด็กอย่างไร คุณแม่ได้ทราบแล้วนะคะ อยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดี ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการให้กับลูกน้อยค่ะ

ที่มา www.psychologydiscussion.net

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก

7 กิจกรรมกระตุ้นทักษะด้านภาษาสำหรับลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา