7 ข้อควรรู้ก่อนให้จุกนมหลอกลูก

จุกนมหลอก คืออีกทางเลือกหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มักให้ความสำคัญและเลือกใช้ ว่าแต่จะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ไปอ่านบทความพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อควรรู้ก่อนให้จุกนมหลอกลูก

คงไม่ต้องอธิบายว่า จุกนมหลอก คืออะไร เพราะคุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมรู้จักกันดี แต่แน่นอนค่ะว่า เราอาจจะยังรู้ไม่หมดเกี่ยวกับประโยชน์และข้อเสียของการให้จุกนมหลอกลูกก็เป็นได้

ข้อดีของการให้จุกนมหลอกกับลูก ได้แก่

1. การให้ลูกดูดจุกนมหลอกนั้น สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะ SIDS หรือการตายเฉียบพลันในทารกได้ ซึ่งผลการวิจัยของ The American Academy of Pediatrics หรือ AAP นั้นแนะนำว่า การให้จุกนมหลอกลูกในเวลากลางคืนนั้น ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะดังกล่าวได้ และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้นั้น เด็กควรมีอายุครบหนึ่งเดือนแล้ว

2. จุกนมหลอกมีหลายขนาดหลายรูปแบบให้เลือก การเลือกจุดนมหลอกที่ผลิตจากวัสดุที่ปลอดสารพิษและผู้ผลิตที่ได้มาตราฐานเท่านั้นนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูกเรา

3. เด็กทารกเกิดมาพร้อมกับความต้องการในการดูด ซึ่งความถี่ในการดูดของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ทารกมักจะดูดเวลาที่เขารู้สึกเบื่อ เหนื่อย หรือต้องการความสบาย จุกนมหลอกจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกผ่อนคลายเวลาที่เขาอยากดูด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. การดูดเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกสบายจนงีบหลับไป ความเพลิดเพลินกับการดูดยังช่วยให้ทารกรับมือกับโลกที่สับสนได้ดีขึ้นอีกด้วย

5. สำหรับเด็กที่คุณแม่ป้อนนมจากขวด การให้ลูกดูดนมทุกครั้งเพราะคิดว่าลูกหิวเป็นความเข้าใจที่ผิด ซึ่งนั่นอาจทำให้ลูกถูก Overfeeding ไปเรียบร้อยแล้ว คุณแม่สามารถใช้จุกนมหลอกแทนจุกนมได้ ในเวลาที่ลูกยังต้องการดูดแม้ว่าจะดูดนมไปแล้วก็ตาม

แต่ใช่ว่าการให้จุกนมหลอกกับลูกจะมีแต่ข้อดีนะคะ ข้อเสียก็มีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. จุกนมหลอกอาจไปสกัดกั้นการเจริญเติบโตของลูก การดูดเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน การใช้จุกหลอกมากเกินไปอาจส่งผลให้ลูกทำน้ำหนักได้ไม่ดี และกินนมได้น้อย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารกที่อ่อนแอ และอาจส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กพูดช้า เพราะเมื่อมีจุกนมหลอกอยู่ในปาก ลูกก็จะพูดลำบาก และถ้าหากยังให้ลูกใช้ไปเรื่อย ๆ หลังอายุครบหนึ่งปี ลูกก็มีโอกาสที่จะติดจุกนมหลอกมากขึ้น ทั้งยังไปขัดขวางการฝึกออกเสียงและฝึกพูดของลูกอีกด้วย

2. มีความเสี่ยงหูติดเชื้อมากขึ้น จุกเป็นแหล่งที่มาของการติดเชื้่อที่หูชั้นกลาง การใช้จุกหลอกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจมีการเปลี่ยนแปลงความดันภายในหูชั้นกลางได้

3. หากใช้ไม่ถูกวิธีหรือนานเกินไป อาจทำให้ฟันของลูกผิดรูปได้ เช่น ฟันยื่น ฟันเหยิน และฟันเก รวมถึงสามารถทำให้รูปปากเปลี่ยนไปได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำแนะนำในการใช้จุกหลอก

  1. ควรฆ่าเชื้อด้วยการต้มในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที
  2. ควรมีจุกหลอกสำรองในกรณีที่อาจทำหายหรือหล่นพื้น
  3. ระหว่างเดินทาง ควรทำความสะอาดจุกด้วยการล้างน้ำอุ่น และน้ำสบู่
  4. ไม่ควรบังคับลูกให้ใช้จุกหลอก หากลูกไม่อยากใช้ ควรหาวิธีอื่นที่ทำให้ลูกหยุดร้องแทน
  5. เลือกจุกหลอกให้เหมาะกับอายุของลูก และเลือกที่หัวนุ่มๆ จะเหมาะที่สุด
  6. ไม่ควรผูกจุกไว้กับสายคล้องคอที่ยาวเกิน 6 นิ้ว เพราะอาจติดคอเด็กได้

สำหรับในต่างประเทศนั้นมีการศึกษาและได้ข้อสรุปว่า การใช้จุกนมหลอกนั้นมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพียงแต่คุณแม่ควรที่จะต้องใช้อย่างถูกวิธี และไม่ใช้มากหรือบ่อยเกินไปค่ะ

ที่มา: Mom junction

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

วิธีบีบเต้า ช่วยลูกดูดนม

เลือกจุกนม ให้ลูกดูด จ๊วบ ๆ อย่างสบายใจ

 

บทความโดย

Muninth