เหตุการณ์สำคัญ และ พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ วันนี้เราได้รวบรวมมาฝากเพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อยเติบโตสมวัยกัน พร้อมแล้วมาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
ไม่น่าเชื่อว่าลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่อายุ 7 สัปดาห์แล้ว และกำลังจะเป็นเด็กอายุ 2 เดือนแล้ว ! ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่อาจมีความรู้สึกหลากหลายอารมณ์ ในหลาย ๆ ด้าน และอาจเริ่มรู้สึกมั่นใจในความสามารถการดูแลและมีความเข้าใจลูกน้อยมากขึ้น แต่ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ในแต่ละวัน ถือเป็นเรื่องปกติ เราจึงจะมาเตรียมความพร้อมและการตั้งรับไปด้วยกัน
การเจริญเติบโตของทารก 7 สัปดาห์
ทารกจะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด และเมื่อลูกน้อยของคุณอายุ 7 สัปดาห์ จะพบกับความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวลูกน้อยที่เพิ่มขึ้นประมาณ 200 กรัมต่อสัปดาห์ ดังนั้นน้ำหนักทารกอายุ 7 สัปดาห์ของคุณจึงอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 0.9-1 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีน้ำหนักน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็ไม่ต้องรู้สึกเครียดหรือกังวลไปค่ะ เพราะการเติบโตของทารกแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป
- ช่วงเวลาการนอน ในสัปดาห์นี้เป็นช่วงเวลาที่เด็กจะมีโอกาสในการร้องไห้ที่บ่อยและยาวนานขึ้น เพราะลูกน้อย้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการตื่นตัว ทำให้นอนหลับยากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นและกล่อมลูกเข้านอนในเวลากลางคืน จึงแนะนำควรฝึกให้ลูกน้อยนอนหลับให้เป็นเวลาในตอนกลางคืนลูกน้อยควรยืดระยะเวลาการนอนหลับให้ยาวขึ้น ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ควรจะนอนหลับสนิทติดต่อกันเป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง และเวลานอนที่เพียงพอรวมแล้วประมาณ 15 หรือ 16 ชั่วโมงต่อวัน อาจจะเริ่มจากการงีบหลับระหว่างวันทีละเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้นานขึ้น
- การสัมผัสเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรโอบกอดให้ความอบอุ่นกับลูกน้อย นวดลูก อุ้ม หรือการเข้าเต้าในการให้นมลูก เพราะการสัมผัสช่วยลดความเครียดให้แก่ทารกได้ นอกจากนี้การเข้าเต้าจะช่วยให้เด็กอิ่มท้องเร็วขึ้น เพิ่มโอกาสการนอนหลับ
- การมองเห็น ลูกน้อยสามารถมองสิ่งของต่าง ๆ ได้ในระยะไกลถึงประมาณ 45 เซนติเมตร และมองเห็นได้กว้างถึง 180 องศา
- การได้ยินเสียง รับรู้ฟังเสียงรอบข้างได้ชัดเจนมากขึ้น มีการหันมองตามแห่งเกิดเสียง สามารถแยกเสียงต่าง ๆ ได้
- การสื่อสาร เด็กในวัยนี้ยังคงร้องไห้เป็นการสื่อสารหลัก แต่จะมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตได้ว่าลูกน้อยยิ้มชอบหรือพอใจ ถึงแม้ลูกจะยังพูดไม่ได้แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรหมั่นสื่อสารกับลูกน้อย พูดคุย ร้องเพลงกับลูกเป็นประจำเพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาท
- พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ ในวัยนี้ลูกสามารถยกหรือเงยศีรษะขึ้นได้ในเวลาอันสั้น สามารถหันมองสิ่งรอบข้างได้ มีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ กล้ามเนื้อคอ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หาของเล่นโมบายมาเพื่อฝึกฝนกล้ามเนื้อการจับสิ่งของให้กับลูก ฝึกให้ลูกทำ Tummy Time หรือการฝึกพลิกคว่ำเป็นประจำทุกวัน
- พัฒนาการทางภาษา ในวัยนี้ลูกจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ได้แล้ว เด็กจะให้ความสนใจกับเสียงตัวเอง และอาจส่งเสียงเพื่อตอบโต้ได้
- พัฒนาการทางสติปัญญา ลูกน้อยจะเริ่มจดจำใบหน้า เสียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือบุคคลใกล้ชิดที่คุ้นเคยได้แล้ว
สารอาหารเพื่อ พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์
หากคุณแม่ให้นมลูก และลูกน้อยดูเหมือนจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ให้พูดคุยปรึกษากับกุมารแพทย์หรือที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตร เพราะบางครั้งคุณแม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของทารก อาจเป็นเพราะความไม่สมดุลของฮอร์โมน แพทย์อาจแนะนำให้ลูกน้อยทานอาหารเสริมเพราะลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
หากคุณแม่ให้นมสูตรผสมแต่ลูกมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร อาจต้องเปลี่ยนสูตร เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น โดยถามกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนว่าเปลี่ยนสูตรสารอาหารอย่างไรบ้าง
พัฒนาการทารก 1-2 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
วิดีโอจาก Youtube : ChocoDiary
คุณแม่หลังคลอด
นอกจากพัฒนากาลูกที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจแล้ว หากกล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณแม่หลังคลอด หลังจากคลอดลูกแล้ว หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าท้องยื่นออกมาและรู้สึกอ่อนแอในแกนกลางของคุณ มีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นเวลานานเกิน 8 สัปดาห์หลังคลอด ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินการทำกายภาพบำบัด ฟื้นฟูกล้ามเนื้อกลับมาสู่สภาวะปกติ
สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพในทารก 7 สัปดาห์ มีดังนี้
- ลูกร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ
- ในระยะเวลาหลายชั่วโมงลูกน้อยไม่ขับถ่าย
- ลูกมีอาการอ่อนแรง เหนื่อยล้า งัวเงีย ไม่ตื่นตัว ไม่สนใจสิ่งรอบตัว
- ลูกไม่ขยับลูกตามองตามสิ่งของโดยรอบ และไม่รับรู้ถึงสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า
หากลูกน้อยมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ วิธีการแก้ไขได้ทันทีเพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการที่สมวัยของลูก ที่สำคัญคือต้องพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพดูพัฒนาการ รับวัคซีนทุกครั้งที่มีนัดกับคุณหมอ ในอีกไม่นานลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่จะอายุครบ 2 เดือน การหากิจกรรมทำกับลูกน้อยเป็นประจำ เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้สมวัย เช่น การพูดคุย ร้องเพลง อ่านหนังให้ลูกฟัง
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ทราบและเข้าถึงพัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ มากขึ้นนะคะ และครั้งหน้าจะมีพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ มาฝากกันอีกแน่นอนค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
กิจกรรมสำหรับเด็ก 7 สัปดาห์ ช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยสมวัย ที่พ่อแม่ควรรู้ !!
คุณแม่ระวัง 2 เดือนแรกของลูกน้อย อาจเสี่ยงต่อแก๊งวายร้าย IPD
เคล็ดลับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ เสริมพัฒนาการเด็ก 2 เดือน มาดูกันเถอะ!
ที่มาข้อมูล : parents ,whattoexpect