วิธีปราบลูกเอาแต่ใจ เพราะเด็กๆเรียนรู้ว่าหากทำอย่างนี้แล้วจะยอมในสิ่งที่เขาต้อง

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัย 2 ขวบขึ้นไปเริ่มเจอพฤติกรรมกับการเอาแต่ใจของลูกกันบ้างหรือยังคะ สาเหตุที่ลูกเป็นแบบนี้เพราะลูกกำลังเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกอยู่ และยังไม่รู้ว่าสามารถใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งถ้าหากพ่อแม่เผลอตามใจในตอนนี้ ก็อาจจะทำให้พ่อแม่ต้องเหนื่อยขึ้นอีกเยอะในวันข้างหน้า มาดูวิธีปราบลูกเอาแต่ใจ เตรียมรับมือกับลูกตั้งแต่ตอนนี้กันดีกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีปราบลูกเอาแต่ใจ เพราะเด็ก ๆ เรียนรู้ว่าหากทำอย่างนี้แล้ว คุณพ่อ คุณแม่ จะยอมในสิ่งที่เขาต้องการ อีกหน่อยก็จะพัฒนาจนกลายเป็นนิสัยขึ้นมาได้ ลองสังเกตดูว่าลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจแบบนี้ หรือเปล่า

 

 

  • ร้องไห้งอแงหนักมากเมื่อไม่ได้ดั่งใจ หรือ มีอาการลงไปชักดิ้นชักงอกับพื้น เมื่อลูกต้องการให้ คุณพ่อ คุณแม่ ทำอะไรให้แล้วถูกปฏิเสธ เช่น กินขนม ซื้อของเล่น
  • ร้องไห้งอแงเวลาที่ถูกขัดใจ เช่น บอกให้หยุดเล่นเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ๆ
  • เวลาที่ คุณพ่อ คุณแม่ สอนหรือบอกให้ลูกทำอะไร มักจะต่อต้าน หรือไม่ยอมทำตาม บางทีก็นิ่งเงียบทำเฉย

 

7 วิธีปราบลูกเอาแต่ใจ เด็กเอาแต่ใจ

 

1. คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจธรรมชาติในวัยเด็กของลูก และ เริ่มต้นที่จะฝึกลูกด้วย การไม่ตามใจทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง เพื่อจะไม่ติดนิสัยนี้ ขึ้นมาตอนโต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. หัดให้ลูกเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเอง เช่น การเริ่มฝึกลูกน้อยตั้งแต่วัย 2 ขวบให้เริ่มใส่เสื้อผ้า กินข้าว, ดื่มน้ำจากแก้วด้วยตัวเอง ฯ ล ฯ

3. หาโอกาสพาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ให้ลูกได้เจอเพื่อน ในวัยเดียวกัน เพื่อลูกจะได้รู้จักการแบ่งปัน การได้รับ และ การให้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ลูกร้องไห้ลงไปชักดิ้นชักงอไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ แบบไม่โวยวาย ไม่ดุด่าต่อหน้าคนอื่น ๆ จากนั้นก็พาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เมื่อลูกร้องไห้จนเหนื่อย และ เริ่มปรับอารมณ์ดีขึ้น ซักพักลูกก็จะลืมสิ่งเร้านั้น ๆ หลังจากนั้น คุณพ่อ คุณแม่ ควรสอนถึงเหตุผลด้วยว่า ทำไม คุณพ่อ คุณแม่ จึงไม่ซื้อให้ ไม่ตามใจเพราะว่าอะไร

5. พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ หรือใช้วิธีตั้งคำถามเวลาลูกอารมณ์ดี ๆ ชวนลูกคุยถึงความต้องการของลูก คิดอย่างไรกับสิ่งที่ตัวเองต้องการ และ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกัน

6. เปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกตัดสินใจด้วยตัวเอง เช่น ยอมรับว่าลูกจะใส่เสื้อตัวนี้ (ถึงแม้ว่ามันจะดูไม่เข้ากัน กับกางเกงที่แม่เลือกให้) หรือให้ลูกเลือกเมนูอาหารมื้อเย็น ที่อยากกิน ฯ ล ฯ ซึ่งจะทำให้ลูกอารมณ์ดี และ มีความสุขในสิ่งที่เขาได้เลือก และ คุณพ่อ คุณแม่ ก็ยอมรับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7.อย่าลืมว่าพ่อแม่คือคนที่เข้าใจลูกมากที่สุด และต้องยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น โดยใช้ความอดทนกับลูก พยายามแบ่งเวลาให้ลูกด้วยการเล่น ให้ความรัก กอดลูก ซึ่งก็จะช่วยลดความก้าวร้าว และ เอาแต่ใจของลูกลงได้ดี

 

 

แม้ว่าวิธีข้างต้นจะเป็นการลดอาการเอาแต่ใจของลูก ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าเด็กเล็ก ๆ ไม่สามารถเข้าใจในคำอธิบายของ พ่อแม่ได้หมด แต่ก็จะซึมซับไปเรื่อย ๆ หากพ่อแม่พูดถึง เหตุผลอยู่สม่ำเสมอ ที่สำคัญการ พ่อแม่ไม่ควรใช้อารมณ์ด้วยการออกคำสั่ง เช่น “หยุดร้องเดี๋ยวนี้” “อย่าทำแบบนี้” ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึก ไม่ได้รับความรัก หรือ การยอมความเอาแต่ใจของลูก ก็อาจจะส่งผลให้ลูกเอาแต่ใจ เพิ่มขึ้นก็ได้.

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ ข้อมูลคุณภาพ และ สังคม คุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ คุณแม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพ คุณแม่ และ เด็ก โภชนาการ คุณแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่ เข้มแข็ง ครอบครัว แข็งแรง” 

Credit : www.babytrick.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เช็กหน่อยไหม ลูกเลี้ยงยาก vs. เลี้ยงง่าย
8 กลเม็ดเด็ดรับมือเด็กเอาแต่ใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R