7 ความคิดผิดๆ ในการสอนลูก 2 ภาษา

สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่บางคนนั้นการให้ลูกได้เรียนรู้ เข้าใจ พูดและอ่านที่ได้มากกว่าหนึ่งภาษานั้นเป็นเรื่องที่พวกเขาให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะพ่อแม่นั้นได้เล็งเห็นแล้วว่า การสอนลูกให้ได้ใช้ 2 ภาษาตั้งแต่เล็ก ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อตัวลูกในอนาคตแน่นอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่พ่อแม่จะเลี้ยงลูกแบบ 2 ภาษานั้น มีมากมายหลายวิธีและจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถูกต้องในการที่จะสอนลูกให้เป็นเด็ก 2 ภาษา ไม่ว่าจะเป็นการสอนจากการพูดในชีวิตประจำวัน การเปิดทีวีหรือให้ลูกดู ให้ฟังเพลงภาษาอังกฤษบ่อย ๆ ฯลฯ ซึ่งเข้าใจว่าพ่อแม่ต้องการให้ลูกใช้อีก 1 ภาษาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในการฟัง พูด อ่าน แต่บางวิธีที่ใช้สอนลูกอาจกลายเป็นข้อผิดพลาดที่พ่อแม่ไม่เคยรู้

7 ความคิดผิดๆ ในการสอนลูก 2 ภาษา

#1 อย่าได้ทึกทักเอาว่าลูกจะเป็นเด็ก 2 ภาษาโดยอัตโนมัติ

พ่อแม่อาจเผลอคิดไปว่า เมื่อพ่อแม่ใช้ 2 ภาษาสนทนากับลูก ลูกก็จะสามารถใช้ 2 ภาษาได้เอง ซึ่งจริง ๆ แล้วเด็กต้องใช้เวลาเรียนรู้และทำความเข้าใจอีก 1 ภาษา โดยพ่อแม่ต้องให้เวลากับลูก เพราะถ้าเด็กไม่ใช้เวลาในการพัฒนาทักษะด้านการพูดและการเข้าใจในภาษาได้อย่างถูกต้อง คุณอาจจะทำให้ลูกกลายเป็นเพียงเด็กที่เข้าใจ 2 ภาษาเฉยๆ คือสามารถเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูด แต่ไม่อาจสื่อสารเป็นภาษานั้น ๆ กลับมาได้

#2 ลงทุนในการซื้อของเล่นและอุปกรณ์ราคาแพง

ของเล่นหรืออุปกรณ์ราคาแพง ที่มีจุดประสงค์ในการใช้สอนภาษาให้กับลูก ๆ นั้น ถึงแม้ว่าจะช่วยเสริมพัฒนาการและทักษะให้กับลูกได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดในการสอนและปลูกฝังเรื่องภาษาให้กับลูกนั้น ทำได้โดยส่งเสริมหรือหาโอกาสให้ลูกได้มีปฏิสัมพันธ์และได้พูดคุยกับคนที่มีความคล่องในภาษานั้น ๆ การได้ตอบโต้ การเรียนรู้ และการสนทนา จะช่วยให้ลูกมีความคล่องในการใช้ภาษายิ่งขึ้น วิธีนี้ยังเป็นการช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณพ่อคุณแม่ได้ด้วยนะ

#3 คอยแก้คำผิดให้ลูกๆของคุณบ่อยเกินไป

ในระหว่างที่คุณชวนลูกสนทนาภาษาที่สอง การคอยแก้ไขในประโยคหรือคำศัพท์ที่ลูกพูด อาจกลายเป็นสิ่งลดทอนกำลังใจในการเรียนรู้ของพวกเขา แน่นอนว่านั่นคือความหวังดีของพ่อแม่ที่พยายามจะแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะไปตัดบทกับประโยคที่ลูกพูดหรือเขียนอยู่ ในอีกมุมหนึ่งพ่อแม่ควรจะปล่อยความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อยให้ผ่านไป และคอยแก้ไขในจุดใหญ่ ๆ บ้างเป็นครั้งคราว เพราะท้ายที่สุดแล้ว ลูกก็จะเข้าใจในสิ่งผิดพลาดนั้นได้เองเมื่อเวลาผ่านไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#4 การดูทีวีไม่ได้เป็นตัวช่วยสอนภาษาให้กับลูก

การเรียนรู้ภาษานั้นจำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลถึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้ ดังนั้นการให้ลูกได้ดูทีวีรายการภาษาอื่น ๆ ไม่ได้เป็นแนวทางที่ถูกต้องในการสอนภาษาแก่ลูก ๆ แน่นอนว่าลูก ๆ อาจจะได้เรียนรู้คำศัพท์นิด ๆ หน่อย ๆ แต่มันก็ไม่ได้เป็นเครื่องมือที่จะให้ลูกใช้ภาษาและช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#5 ขาดความสม่ำเสมอ

ถ้าคุณจะเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งในการสอนภาษาที่สองให้กับลูก ควรจะใช้วิธีการนั้นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย เช่น ได้ตกลงกับลูกว่าจะพูดภาษาหนึ่งกับลูกในตอนเช้าและจะใช้อีกหนึ่งภาษาในตอนกลางวัน ก็ควรจะใช้วิธีนี้ไปเรื่อย ๆ ความสม่ำเสมอในวิธีการสอน 2 ภาษาให้ลูกนั้น คือหัวใจหลักถ้าคุณมีเป้าหมายที่จะเลี้ยงลูกของคุณให้เป็นเด็กที่ใช้ได้ 2 ภาษา

#6 คิดว่ามันสายเกินไป

หนึ่งในความคิดผิด ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกแบบ 2 ภาษา นั่นคือ คิดว่ามันสายเกินไปหากไมได้สอนลูกตั้งแต่เล็ก ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่สำคัญว่าตอนนี้ลูกของคุณจะอายุเท่าไหร่ หากลูกมีศักยภาพที่จะเรียนรู้และเข้าใจในภาษา และตราบเท่าที่พ่อแม่มีความตั้งใจจริงในการสอนลูกใช้ 2 ภาษา ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเปิดใจที่จะเรียนรู้ของลูกและความสม่ำเสมอในการสอนของพ่อแม่ด้วย ไม้อ่อนนั้นอาจจะดัดได้ง่ายกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม้แก่นั้นจะดัดไม่ได้

#7 ยอมถอดใจ

เชื่อว่าเด็ก ๆ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้ หากพ่อแม่ตั้งใจจะสอนลูกหรือเลี้ยงลูกให้พูดอย่างน้อย 2 ภาษาได้ คุณจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากพอและไม่ยอมแพ้ต่อความฝัน ในการที่จะสอนลูกของคุณให้ใช้ได้ 2 ภาษา เพราะนั่นคือสิ่งที่จะเกิดผลดีกับลูก ๆ แน่นอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่จะสอนลูกให้เก่งเรื่องภาษานั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนที่เป็นรูปธรรม และมีความสม่ำเสมอ รวมถึงลูกที่มีความต้องการด้วย ดังนั้นหากพ่อแม่ตั้งใจจริงอย่าปล่อยให้ความคิดผิด ๆ มาทำให้ต้องสูญเสียเป้าหมายที่จะให้ลูก ๆ เป็นเด็กที่ใช้ 2 ภาษาได้ดีนะคะ

Source : my.theasianparent.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?
7 เทคนิค ฝึกลูกเก่งศัพท์ภาษาอังกฤษแบบไม่น่าเบื่อ

บทความโดย

Napatsakorn .R