6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด อาการที่คุณแม่ต้องระวัง

อาการตายคลอด หรือ Sillbirth นั้น เป็นอาการที่แม่ ๆ คนไทย อาจจะไม่เคยได้ยินมากนัก ในหลุ่มคุณแม่ คำว่า การแท้งเป็นคำที่น่าจะคุ้นหูมากกว่า อาการตายคลอด หรือ การแท้งนั้น เป็นเรื่องที่พูดยาก และ ไม่มีใครอยากจะพูดถึงมันสักเท่าไหร่นัก ทำให้เรื่องบางอย่าง คนอาจเข้าใจผิดได้ เพื่อที่จะให้คนมีความเข้าใจถึงเรื่องนี้มากขึ้น เราเลยจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่อง 6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด

อาการตายคลอด Stillbirth คืออะไร?

6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด 2

สูตินรีแพทย์ Katleen Del Prado แพทย์จากประเทศ พิลิปปินส์ กล่าวว่า อาการตายคลอดคือ อาการที่ทารกในครรภ์ หัวใจหยุดเต้นเกิน 5 เดือนขึ้นไป แต่ถ้าก่อนหน้านั้น จะใช้คำว่าแท้ง ซึ่งอาจจะดูแปลกในเมืองไทย เพราะเรามักจะใช้คำว่าแท้งมากกว่า

อาการตายคลอด Stillbirth เกิดขึ้นได้หลายช่วงในระหว่างการตั้งครรภ์ 20 และ 27 สัปดาห์ 28 และ 36 สัปดาห์ หรือ เกิน 37 สัปดาห์ไปก็มี

อาการตายคลอด และ การแท้ง แท้จริงแล้วไม่เหมือนกัน

ในทางการแพทย์แล้ว สองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน นอกจากเหตุผลที่เราอธิบายไปข้างต้นแล้ว สิ่งที่ทำให้ทั้งสองสิ่งต่าง กันยังมีอีกก็คือ การแท้งส่วนมากจะเกิดในเด็ก มดลูก แต่ อาการตายคลอดนั้น เด็กอาจจะยังคลอดออกมาได้อยู่ แต่หัวใจของเขาไม่เต้นแล้ว

แม่ที่มีความชอบเดิน ชอบออกกำลัง ไม่ได้ทำให้เสี่ยงต่ออาการนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด 2

คุณแม่ท่านไหนที่ชอบ ออกกำลังกาย ชอบเดิน มีความคล่องแคล่วในตัว ไม่ชอบอยู่เฉย ๆ นั้น ไม่ได้มีความเสี่ยงมากไปกว่า คนอื่น แต่อย่างใด เพราะการเกิด ตายคลอดนั้น เป็นได้จากหลายสาเหตุ

ให้นอนตะแคง

การนอนหงายอาจเป็นท่านอนที่ไม่ดีต่อคนท้องเท่าไหร่นัก จริง ๆ แล้ว คนท้อง ควรที่จะนอนหันข้าง หรือ นอนตะแคงมากกว่า นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงแล้ว มันยังจะทำให้สบายกว่าด้วย สำหรับคนท้อง ไตรมาส 2 หรือ 3

ผ่าน 12 สัปดาห์ไปแล้วคุณจะไม่มีความเสี่ยง ไม่จริงเลย

บางคนอาจจะเข้าใจผิดไปว่า พอผ่าน 12 วีค ไปแล้ว คุณจะไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแบบนี้ แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะฉะนั้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่ เราอยากให้คุณหันมาดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการแบบนี้ มีทางรักษา

6 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับการตายคลอด 2

บางคนอาจจะคิดว่า อาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีวิธีการใด ๆ ช่วยรักษา แต่มันมีวิธีการป้องกันได้หลายวิธีคือ นับลูกดิ้น นอนหันข้าง ไม่สูบบุหรี่ การนับลูกดิ้นหมอแนะนำว่า ให้ทำช่วงหลังทานข้าว เพราะลูกจะดิ้นมากที่สุดในช่วงเวลานั้น

นี่ไม่ใช่ความผิดของแม่ หรือ ของผู้หญิง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6 เรื่อง เข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด 2

คุณแม่จ๋า เราอยากให้คุณทราบว่า นี่ไม่ใช่ความผิดของคุณแม่เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าใครจะพูดอะไร อย่างเก็บมาคิด ตัวคุณแม่เองด้วย ก็อย่าน้อยใจ อย่าโ?ษตัวเองว่าตัวเอง ทำผิด เพราะบางครั้ง อาการแบบนี้ก็เกิดขึ้นได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว เข้มแข็งไว้นะคะคุณแม่

Project Sidekicks

ที่ theAsianparent เรามีฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณนับลูกได้ง่ายขึ้น ใน App ของเรา เราอยากแนะนำให้คุณแม่ทำบ่อย ๆ เพื่อตรวจดูอาการของคุณลูก หาก คุณแม่ มีข้อสงสัย หรืออยากได้ข้อมูล เพิ่มเติม สามารถเข้ามาได้ที่ Project Sidekicks

6เรื่องเข้าใจ ผิดเกี่ยวกับการตายคลอด 2

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

Source : sg.theasianparent.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทำไมท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย

Project Sidekicks: การตั้งครรภ์ปลอดภัย เพื่อครอบครัวแข็งแรง

คนท้อง กินอะไรไม่ได้บ้าง อาหารอะไรห้ามกินตั้งแต่ท้องอ่อนจนถึงวันคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Jitawat Jansuwan