ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์กำลังมีพัฒนาการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 6 สัปดาห์ และคุณแม่ก็มีการแสดงอาการอย่างชัดเจน อาการคนท้อง 6 สัปดาห์ จะมีอาการอะไรบ้าง คุณแม่จะรับมือกับอาการเหล่านี้อย่างไร พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร พร้อมวิธีดูแลตัวเองในช่วงนี้
ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน ?
เวลาคุณแม่ไปหาคุณหมอ ส่วนใหญ่คุณหมอก็จะนับเป็นสัปดาห์มากกว่าเป็นเดือน แต่ถ้าจะเปรียบเทียบ คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 6 เดือน ก็จะเท่ากับ อายุครรภ์ประมาณ 1 เดือน กับอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งโดยทั่วไปนับการตั้งครรภ์ เริ่มต้นจาก วันสุดท้ายของการมีรอบเดือนครั้งล่าสุด ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่ จะทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ตัว จนเริ่มสังเกตได้ชัด ๆ ว่าประจำเดือนไม่มา ในช่วงสัปดาห์ที่ 5
อาการคนท้อง 6 สัปดาห์ มีอาการอะไรบ้าง ?
1. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
การตั้งครรภ์ก็มาพร้อมกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะขึ้นทุกสัปดาห์ โดยช่วงแรกของการตั้งครรภ์นี้ น้ำหนักตัวคุณแม่จะเพิ่มขึ้น ประมาณ 1 – 2 กิโลกรัม
2. อารมณ์แปรปรวน
ช่วงนี้ฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้รู้สึกว่าอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ การที่คุณแม่มีอารมณ์เหวี่ยง วีน ออกมา นั่นก็เป็นเพราะว่าการเหนื่อยล้า และการแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
3. เหนื่อยล้า
ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หมดแรง เกิดจากร่างกายของคุณแม่กำลังปรับตัวให้เข้ากับฮอร์โมนที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่
4. เจ็บหน้าอก คัดตึงเต้านม
ในช่วงสัปดาห์นี้ ต่อมน้ำนมจะมีการเตรียมผลิตน้ำนม เกิดการไหลเวียนของเลือดที่เปลี่ยนไปเลี้ยงเต้านมมากขึ้น จึงทำให้เต้านมของคุณแม่ขยายและคัดตึงได้
5. อาการคลื่นไส้ อาเจียน
ในช่วง 6 สัปดาห์นี้ จะมีอาการคลื่นไส้รุนแรงกว่าสัปดาห์อื่น ๆ คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ เฉพาะในช่วงเช้า ในขณะที่คุณแม่อีกหลาย ๆ ท่าน ก็อาจจะเจอกับอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ ไปตลอดทั้งวันเลยก็มี คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง เนื่องจากการที่คุณแม่ท้องว่างอาจจะทำให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้
6. ปัสสาวะบ่อย
คุณแม่เริ่มปัสสาวะบ่อยจากเดิมมากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ปกติ แต่หากคุณแม่มีอาการปวด หรือปัสสาวะติดขัด ก็ควรพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกของกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
7. จุกเสียดแน่นท้อง
ท้องไส้คุณแม่จะปั่นป่วน มีอาการจุกเสียดท้อง เนื่องจากกรดไหลย้อน คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ และกินอาหารที่มีกากใยสูง และเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
8. จะพบจุดเลือด บริเวณกางเกงใน
เมื่อคุณแม่เข้าห้องน้ำ อาจจะพบจุดเลือด หรือกางเกงในเปื้อนเลือดเป็นจุดเล็ก ๆ เนื่องจากทารกฝังตัวในมดลูก หากมีเลือดมากเกินไปบวกกับมีอาการปวดท้องร่วมด้วย คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ทันที
วิดีโอจาก : DrNoon Channel
ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ แต่ไม่มีอาการแพ้ท้อง ผิดปกติหรือไม่ ?
การที่ผู้หญิงส่วนใหญ่แพ้ท้อง ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่มีอาการจะพบความผิดปกติ หรืออันตรายต่อทารกในครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่บางคนไม่แพ้ท้อง และการที่คุณแม่ไม่แพ้ท้อง ก็ไม่ได้ส่งผลอันตรายเด็ก ยกเว้น คุณแม่ที่แพ้ท้องมากเกินไป จนไม่สามารถกินอะไรได้เลย แบบนี้จะส่งผลต่อเด็ก คุณแม่จะต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับน้ำเกลือและสารอาหาร
บทความที่เกี่ยวข้อง : คัดเต้านม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 44 สามารถบรรเทาอาการเต้านมแข็งได้อย่างไร ?
ท้อง 6 สัปดาห์ แพ้ท้องหนักมากต้องทำอย่างไร ?
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่ควรปล่อยให้ท้องไว้ เนื่องจากการปล่อยให้ท้องว่างอาจจะทำให้คุณแม่คลื่นไส้อาเจียนได้
- พกขนม หรือผลไม้ ไว้กินเวลาที่หิว
- เลี่ยงการกินอาหารรสจัด ของทอด หรือ อาหารที่มีกลิ่นฉุน และคาว
- หลังจากที่คุณแม่อาเจียนแล้ว ควรบ้วนปากทันที เพื่อลดอาการแพ้ท้อง
- ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ เพื่อลดการแพ้ท้อง
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 6 เป็นอย่างไร ?
เมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเริ่มมีพัฒนาการอย่างเช่น
- ทารกในสัปดาห์ที่ 6 จะมีขนาดเท่ากับ เม็ดถั่ว และจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในท้อง
- หัวใจของเจ้าตัวน้อยเริ่มเต้นอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 150 ครั้งต่อนาที โดยจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ทั่วไปประมาณ 2 เท่า และจะเต้นช้าลงเมื่อทารกในครรภ์ตัวโตขึ้น
- ไม่เพียงแต่หัวใจของทารกเต้นเร็วเพราะเลือดที่กำลังไปหล่อเลี้ยงร่างกายเท่านั้น แต่ลำไส้และตับก็กำลังค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับ
- สามารถมองเห็นหู จมูก ปาก และแขนขาของทารกได้แล้วเมื่อดูผ่านอัลตราซาวนด์ อีกทั้งยังสามารถเห็นรูปทรงของศีรษะและรอยโค้งของกระดูกสันหลังได้แล้ว
เด็กอายุ 6 สัปดาห์ในท้องแม่มีขนาดเท่าไหร่ ?
อัลตราซาวนด์ในช่วง 6 สัปดาห์ ได้หรือไม่ ?
หากคุณแม่ไปพบแพทย์ เมื่อครรภ์อายุ 6 สัปดาห์ คุณหมอจะให้คุณแม่ฝากครรภ์ และเริ่มตรวจครรภ์ทันที แต่คุณแม่บางคนคุณหมอก็อาจจะให้รอไปสัก 2 – 3 สัปดาห์ก่อน หากได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์ทันที คุณแม่ก็จะเห็นตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในท้อง หากแพทย์ไม่เห็นการเต้นของหัวใจ หรือตัวอ่อน คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป แพทย์จะทำการนัดมาอีกครั้ง
เรื่องที่คุณแม่ควรทำตอนท้อง 6 สัปดาห์
- ควรทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง แทนที่การทานอาหารมื้อใหญ่วันละ 3 เวลา
- หากมีอาการแพ้ท้องควรนอนพักผ่อนเพิ่มมากขึ้น ทำใจให้สบาย ไม่เครียด
- หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ในช่วงนี้
- ระยะนี้ ต้องระวังการแท้งบุตรเป็นพิเศษ ไม่ควรกินกาแฟ งดสุรา และบุหรี่ หากมีเลือดออกร่วมปวดท้องต้องระวังภาวะแท้ง
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายเป็นประจำ ระวังการใช้สารเคมี เช่น น้ำยาย้อมผม เครื่องสำอาง และน้ำหอม
บทความที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับดูแลแม่ท้องอ่อน การดูแล คุณแม่ท้องอ่อน ดูแลตัวเองยังไง ?
สัปดาห์ที่ 6 คุณแม่ไม่ควรทำอะไร ?
- เลี่ยงอาหารไม่สุก ควรกินอาหารที่ปรุงสุก เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องเสีย
- ระวังการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์
- คุณแม่ไม่ควรอดอาหาร ควรรับประทานอาหารครบถ้วน และมีประโยชน์
- หลีกเลี่ยงการซาวน่า เนื่องจากความร้อนจะทำให้ร่างกายของคุณแม่ขาดน้ำได้
- ห้ามเครียด การเครียดจะยิ่งทำให้ฮอร์โมนของคุณแม่แย่ลง และอาจทำให้แท้งได้
เคล็ดลับ! แม่ท้อง 6 สัปดาห์
-
ทานอาหารทะเลได้
คุณแม่อาจจะต้องลดปลา ที่มีสารปรอทสูงลง แต่ไม่ใช่ว่าอาหารทะเลทุกชนิด จะแย่กับแม่ท้องไปซะหมด หอยที่ปรุงจนสุก หรือ ปลาแซลมอน ก็ยังคงเป็นปลาทะเล ที่มีประโยชน์ กับคนท้องในช่วงนี้อยู่
-
ระวังการติดเชื้อโรค
ถ้าคุณแม่ มีอาการเจ็บเวลาที่ปัสสาวะ เบ่งเท่าไหร่ ก็ไม่มีอะไรออกมา นั่นอาจจะเป็นสัญญาณว่า กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ เมื่อมีอาการแบบนี้ คุณแม่ควรที่จะปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อที่หมอจะได้ตรวจรักษา และ จ่ายยา ที่ปลอดภัยต่อเด็กให้มาทานต่อไป ช่วงเวลา 6 สัปดาห์นี้ เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงมากที่สุด
-
ทานอาหารจืด
ถ้าอาหาร บางชนิด ทำให้คุณแม่ ยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ ให้ลองเปลี่ยนอาหาร มาเป็นอาหารรสจืดดู เพื่อช่วยลดอาการแพ้ท้อง ลองดูนะคะคุณแม่ อาหารเหล่านี้ จะช่วยลดอาการ คลื่นไส้ อาเจียนได้
-
ออกกำลังกาย
ถ้าคุณแม่ ยังอยากที่จะออกกำลังกายอยู่ ให้ลองออกในเวลาที่จะไม่กระทบกับ อาการแพ้ท้อง เพื่อที่ทุกวัน คุณแม่จะสามารถออกกำลังกาย เป็นกิจวัตรประจำวันได้ ต่อเนื่องในทุก ๆ วัน แต่อย่าลืมว่า อย่าหักโหมเกินไปนะคุณแม่
-
เปลี่ยนของกินเล่น
เรารู้แหละว่า คุณแม่คงอยากที่จะทานอาหารที่มีรส เค็ม หรือ รสหวานบ้าง แต่เราอยากให้คุณแม่ลองเปลี่ยนมาเป็น การทานของว่างที่มีประโยชน์แทน ของว่างบางชนิด อาจจะทำมาจากวัตถุดิบเดียวกัน แต่คุณแม่ ควรจะเลือกทาน ของที่มีรสชาติเบากว่าปกติที่เคยกิน เพื่อความสบายตัวของคุณแม่เอง
ถ้าคุณแม่ อยากทานไอติม ให้ลองเปลี่ยนเป็น โยเกิร์ตแทนไปก่อน อดทนอีกนิดเดียวนะคะคุณแม่
ครรภ์ 6 สัปดาห์ มีเลือดออกอันตรายไหม สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้
ตั้งครรภ์6สัปดาห์มีเลือดออก หรือ ท้อง6สัปดาห์มีเลือดออก สำหรับคุณแม่คนไหนที่มีอาการเหล่านี้ เราไม่ควรที่จะปล่อยไว้นานจนเกินไป หรือไม่ควรที่จะชะล่าใจไป เพราะสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลไม่ดีต่อลูกในท้องของเราได้ ส่วนอาการเรานี้เกิดจากสาเหตุอะไรบ้างนั้น เรามาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันได้เลย
1. รกเกาะต่ำ
แน่นอนว่าการที่คุณแม่มีเลือดไหลออกมาในช่วงตั้งครรภ์ หรือ ท้อง6สัปดาห์มีเลือดออก มานั้นอีกหนึ่งสาเหตุน่าจะเกิดจากการที่รกของเราเกาะอยู่บริเวณที่ต่ำจนเกินไป ส่งผลทำให้รกมาอยู่ใกล้กับบริเวณปากมดลูก จากนั้นก็จะส่งผลทำให้มีเลือดออกทางบริเวณช่องคลอดนั่นเอง เพราะฉะนั้นใครที่กำลังมีอาการแบบนี้อยู่ควรรีบทำการรักษาทันที ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เราคลอดก่อนกำหนดขึ้นมาได้เลย
2. ท้องลม
หลายคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับอาการท้องลมกันมาบ้างแล้ว โดยอาการท้องลมจะมีลักษณะคล้าย ๆ กับตั้งครรภ์ตามปกติทั่วไป อาทิเช่น มีการคลื่นไส้อาเจียน หรือแพ้ท้อง เป็นต้น แต่ที่แตกต่างกันคือการตั้งครรภ์ของเราจะไม่มีตัวอ่อนอยู่ด้านในมดลูก หรือเรียกง่าย ๆ ว่าภาวะไข่ฝ่อ และเมื่อคุณแม่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็อาจจะส่งผลทำให้คุณแม่มีเลือดออกบริเวณช่องคลอดนั่นเอง
3. แท้งคุกคาม
อีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้คุณแม่ ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์มีเลือดออก นั่นคือ ภาวะแท้งคุกคาม โดยอาการเหล่านี้จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดเกร็งบริเวณมดลูกรวมถึงมีเลือดออกมาจากช่องคลอดอยู่เรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นถ้าคุณแม่คนไหนมีอาการเหล่านี้อยู่ แต่เราไม่รีบทำการรักษา สิ่งนี้อาจจะส่งผลทำให้เราเกิดอาการแท้งและตกเลือดได้
4. ช่องคลอดมีการติดเชื้อ
อย่างที่รู้กันดีว่าเมื่อไหร่ที่เราตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกายของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ช่องคลอดของเราเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเอง เราก็อาจจะต้องดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอนะคะ
5. ท้องนอกมดลูก
อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้คุณแม่หลายคนมีอาการเลือดออกในช่วง ตั้งครรภ์6สัปดาห์ นั่นคือการท้องนอกมดลูก โดยอาการเหล่านี้จะเกิดจากการที่ตัวอ่อนไม่ได้เข้าไปฝังตัวในมดลูกของเรา ส่งผลทำให้ตัวอ่อนค้างอยู่ที่บริเวณท่อนำไข่และไม่ได้รับการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ แน่นอนว่าเมื่อไหร่ที่คุณแม่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็อาจจะทำให้มีเลือดไหลบริเวณช่องคลอดตามมานั้นเอง
หากสงสัยว่ามีอาการตั้งครรภ์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเพื่อยืนยัน หากตั้งครรภ์จริง จะได้ทำการรับมือ หรือทำการฝากครรภ์ต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่คุณแม่ควรทำ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ฝากครรภ์ที่ไหนดี 2566 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ?
ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์