6 เทคนิค วางแผนการเงิน สุดเจ๋ง ใช้เงินยังไงให้ฉลาด เงินงอกเงย

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กำลังมองหาวิธี วางแผนทางการเงิน กันอยู่หรือเปล่า การเก็บเงินและการบริหารเงิน ถือเป็นขั้นตอนหนึ่ง ที่ฟังดูเหมือนจะไม่ยาก แต่กว่าจะทำได้และทำให้สำเร็จ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะบางครั้ง เราก็ไม่รู้ว่า ควรจะเริ่มต้นจากตรงไหน แม้ว่าจะมีเว็บไซต์ที่แนะนำวิธีบริหารเงินมากมายอยู่ตามอินเทอร์เน็ต แต่เราก็ไม่รู้ว่าวิธีไหน คือวิธีที่ได้ผลดีที่สุด อย่างไรก็ตาม วันนี้เราได้คัดสรรวิธีการจัดการเงิน และวิธีวางแผนการเงินมาฝากคุณผู้อ่าน เพื่อช่วยให้คุณผู้อ่าน วางแผนการเงิน และจัดการกับงบประมาณการใช้จ่ายในบ้านได้อย่างถูกวิธี

 

การวางแผนทางการเงิน คืออะไร

การวางแผนการเงิน คือ วิธีปฏิบัติหรือแนวคิด ที่ช่วยให้เรามีนิสัยการใช้เงินที่ดี และเตรียมพร้อมให้ตัวเองมีความมั่นคงด้านการเงินในชีวิต ซึ่งอาจจะเริ่มจากการอดออมตั้งแต่เด็ก ๆ และเริ่มเรียนรู้ที่จะจัดการกับการใช้เงินเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน และเมื่อเกษียณอายุ ก็จะทำให้มีเงินพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่อ ๆ ไปได้

บางคนที่เริ่มมีเงินเยอะ ก็อาจจะเอาเงินไปลงทุน เล่นหุ้น หรือทำธุรกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยต่อยอด และทำให้เงินงอกเงยมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องระมัดระวังในการใช้เงินอยู่ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่า เงินที่เราเอาไปลงทุนนั้น จะสามารถเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ตามที่คาดหวังหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : ออมเงินอย่างไร ให้ได้เงินล้าน เทคนิคออมเงิน ง่าย ๆ นำไปใช้ได้เลย

 

เทคนิควางแผนการใช้เงินให้ฉลาด

หากกำลังวางแผนการเงินส่วนบุคคล วางแผนการเงินตามแบบฉบับมนุษย์เงินเดือน วางแผนการเงินมีลูก และวางแผนการเงินหลังเกษียณ เพื่อให้ตัวเองใช้เงินได้คุ้มค่ามากที่สุด สามารถนำวิธีต่อไปนี้ไปปรับใช้ได้เลย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : THE SECRET SAUCE

 

1. ใช้ระบบจ่ายแบบซองจดหมาย

ให้เริ่มจากการจัดทำแผนการเงินรายเดือน ด้วยการใส่นำเงินใส่ไว้ในซองจดหมาย เพื่อเตรียมนำไปชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าของใช้ภายในบ้าน ค่าอาหารสัตว์ ค่าเทอมลูก ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร เป็นต้น โดยควรใส่ไว้คนละซองแยกกันให้ชัดเจน ไม่ควรนำมาปนกันเด็ดขาด และให้ทำแบบนี้ทุกเดือน เพื่อไม่ให้ตัวเองใช้เงินเกินความจำเป็น

2. จัดงบสมดุลกับค่าใช้จ่าย

ให้ลองตรวจดูรายการเดินบัญชีของตัวเองในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ว่ามีรายได้เข้ามาเท่าไหร่ และมีรายจ่ายเท่าไหร่ หรือต้องจ่ายอะไรบ้างในแต่ละเดือน ซึ่งตัวเลขในแต่ละหมวดหมู่ก็ควรจะใกล้เคียงกัน หากเริ่มเห็นว่ารายรับรายจ่ายของตัวเองไม่สมดุลกัน มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ก็ให้ลองปรับรายจ่ายให้น้อยลง ไม่ซื้อของเกินความจำเป็น หรือใช้เงินไปกับของที่ไม่มีประโยชน์

 

3. จดบันทึกค่าใช้จ่ายของตัวเอง

ลองทำรายการค่าใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปในแต่ละเดือน เพื่อดูว่าตัวเองใช้เงินไปเท่าไหร่ ให้เขียนทุกอย่างลงไปไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารนอกบ้านที่เพิ่มขึ้นมา รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นของที่จำเป็นจริง ๆ หากเห็นว่าใช้จ่ายส่วนไหนมากเกินไป ก็ควรขอความร่วมมือจากคนที่บ้าน ให้ช่วยกันประหยัดมากขึ้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิค ออมเงินก่อนเกษียณ ต้องทำอย่างไร ให้มีเงินใช้สบายหลังเกษียณ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. เริ่มต้นจากการออม

การออมเงิน ช่วยสร้างลักษณะนิสัยในการใช้เงินที่ดีให้กับเรา แถมยังทำให้เรามีเงินใช้ยามฉุกเฉิน หากเป็นคนมีรายจ่ายพอ ๆ กับรายรับ หรือเงินเดือนน้อย ให้ลองเริ่มต้นจากการออมทีละเล็ก ๆ น้อย ๆ ดูก่อน และจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนเงินออมขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะเริ่มต้นจากการออมวันละ 20 บาท หรืออาทิตย์ละ 100-300 ก่อนก็ได้ หากสามารถทำได้ตามนี้ เพียงไม่กี่เดือน เราก็จะมีเงินเก็บมากพอที่จะไปเที่ยวพักผ่อน หรือเก็บไว้ใช้สำหรับสิ่งอื่น ๆ ได้แล้ว

5. ทำอะไรเองได้ก็ลองทำ

วิธีที่จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นอีกหนึ่งวิธี คือ การทำของใช้และอาหารกินเอง ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าหากเราต้องออกไปซื้อกับข้าวนอกบ้านทุกวัน เราจะต้องเสียค่าน้ำมันรถไปเท่าไหร่ และเราจะต้องจ่ายค่ากับข้าวแต่ละมื้อไปกี่บาท หากเราหันมาทำกับข้าวกินเอง ทำแค่จานเดียว อาจจะกินได้หลายมื้อ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นจำนวนเงิน ก็คงไม่แพงเท่าอาหารที่ซื้อจากร้าน ในช่วงที่โควิดระบาดหนักแบบนี้ การหันมาทำกับข้าวกินเอง หรือทำของเล่นให้ลูกด้วยตัวเอง จะช่วยให้เราไม่ต้องออกจากบ้านทุก ๆ วัน และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อีกทางหนึ่ง

 

6. อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นหนี้นาน ๆ

อาจจะมีบางครั้งที่เราหมุนเงินไม่ทัน ก็เลยต้องไปขอหยิบยืมคนอื่นมาก่อน อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเป็นหนี้นานเกินไป เพราะอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยนานมากขึ้น ซึ่งดอกเบี้ยที่เราเสียไป นานเข้าก็เพิ่มพูนเป็นเงินจำนวนมาก แทนที่เราจะได้เอาไปใช้จ่ายอย่างอื่น ดังนั้น เราจึงควรชำระหนี้ให้หมดไว ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเยอะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทำไมเราต้องวางแผนการเงิน วางแผนทางการเงิน ให้ประโยชน์อะไร

สาเหตุที่คนเราต้องรู้จักวางแผนทางการเงิน มีดังนี้

 

  • รูปแบบการลงทุนในปัจจุบันมีมากมาย หากเรามีเงินก้อนหนึ่งและจัดการเงินได้ดี ก็สามารถเอาไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยได้
  • เราวางแผนทางการเงิน เพื่อให้มีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ หรือเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อแก่ตัวไป
  • เราวางแผนทางการเงิน เพื่อให้มีเงินไว้ใช้เมื่อจำเป็น เช่น เจ็บป่วยกะทันหัน ต้องเสียเงินไปกับสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นต้น
  • รูปแบบครอบครัวไทย มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น หลาย ๆ บ้าน เริ่มอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยว ลูกหลานย้ายออกไปอยู่อีกครอบครัวหนึ่งมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ด้วยกันเอง จึงควรมีเงินเก็บไว้ส่วนหนึ่ง
  • ค่าครองชีพในอนาคตอาจสูงขึ้น การมีเงินเก็บเยอะ ๆ จะช่วยให้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้
  • รัฐอาจไม่ได้จัดหาสวัสดิการที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตเรา จึงควรมีเงินไว้ใช้จ่ายด้านต่าง ๆ เอง เช่น การรักษาพยาบาล อาหาร ค่าบ้าน เป็นต้น
  • การวางแผนทางการเงิน ช่วยให้เกษียณได้ก่อนเวลา หากใครมีเงินเยอะ รู้สึกเหนื่อย ไม่อยากทำงาน และอยากพักผ่อนไว ๆ ก็สามารถขอเกษียณก่อนเวลาได้

 

วิธีวางแผนด้านการเงินมีหลายวิธี แต่ละคนก็แนะนำแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่ที่ตัวเรา หากเรามีวินัยมากพอ รู้จักยั้งใจตัวเองไม่ให้ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน ก็ย่อมได้ผลดีทั้งนั้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ค่าเทอมลูก ส่งลูกเรียนหนังสือ เก็บเงินเท่าไหร่ วางแผนยังไง

ทำเรื่อง การจัดการการเงิน ให้เป็นเรื่องง่าย และ 5 สิ่งที่ควรทำในฐานะพ่อแม่

9 ข้อคิดชีวิตที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ข้อคิดด้านชีวิตและการเงินที่คงมักจะรู้เมื่อสาย

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทคนิควางแผนการเงิน ได้ที่นี่ !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วางแผนการเงิน ยังไงดีคะ อยากวางแผนสำหรับลูกในอนาคตด้วยค่ะ

ที่มา : kidsactivitiesblog, finnomena

บทความโดย

Napatsakorn .R