1.อาการเรื้อรัง หรือเป็นแล้วไม่หายไปสักที
ลูกมีอาการผิดปกติ เช่น อาการไอ น้ำมูกไหล ตัวร้อน เป็นผื่น ปกติแล้วหากเป็นไข้หวัด ตัวร้อน อาการจะดีขึ้นใน 7-14 วัน แต่ถ้าอยากเกินครึ่งเดือนไปแล้ว ลูกยังไออยู่ มีน้ำมูกอยู่ หรือ มีอาการอื่น ๆ ที่ยังคงเป็นต่อไปเรื่อย ๆ รวมถึงหากอาการที่เป็นอยู่แย่ลงไปอีก คุณพ่อ คุณแม่ ต้องรีบพาไปให้คุณหมอได้แล้วนะคะ
สาเหตุที่เกิดอาการเรื้อรัง
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงกลุ่มอาการครูป สามารถทำให้เด็ก มีอาการไอติดต่อกันได้ยาวนานหลายสัปดาห์ เด็ก ที่เป็นไข้หวัดธรรมดาจะ มีอาการไอแค็ก ๆ หากเป็นไข้หวัดใหญ่จะ มีอาการไอแห้ง ส่วนกลุ่มอาการครูปทำให้ มีอาการไอเสียงก้องพร้อมหายใจ เสียงดัง
2.มีความผิดปกติเกิดขึ้น
ลูกมีอาการผิดปกติ โดย คุณพ่อ คุณแม่ หรือคนที่ใกล้ชิดลูกที่สุด จะรู้ดีกว่า อาการนี้แหละ ไม่ปกติแล้ว เช่น เสียงไอ ปกติเคยไอแบบนี้ วันนี้เสียงแปลกออกไป หรือลูกซึมขึ้น ไม่ร่าเริง ไม่พูด ไม่กินน้ำ แปลกไปจากเดิม นั่นคืออาการไม่ปกติแล้วละค่ะ
3.มีไข้สูง
อาการเวลาลูกไม่สบาย โดยปกติแล้ว จะมีน้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ ตัวร้อนมีไข้ แต่ถ้าอุณหภูมิของลูกขึ้นสูงถึง 40-48 องศาเซลเซียส รีบพาไปหาคุณหมอได้เลยค่ะ แล้วอย่าลืมเช็ดตัวเอาความร้อนลงให้เร็วที่สุด เพื่อกันลูกชักด้วยนะคะ อาการไข้เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าอุณหภูมิปกติ ซึ่งอุณหภูมิปกติของร่างกายของคนเรา นั้นจะอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส โดยที่อาจสูงหรือต่ำกว่าเล็กน้อย อาการที่พบได้ทั่วไปมาก ๆ เมื่อเป็นไข้ ได้แก่ การปวดหัว การหนาวสั่น การครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว ซึ่งความรุนแรงของ อาการจะขึ้นอยู่กับ สาเหตุของโรค
4.หายใจไม่สะดวก
ถ้าลูกเริ่มมีอาการหายใจติดขัด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ลูกมีอาการบาดเจ็บบริเวณหน้าอกมาก่อน เนื่องจากอาการหายใจไม่สะดวกอาจจะเลวร้ายลงกลายเป็น ไม่สามารถหายใจได้เลย คุณพ่อ คุณแม่ จึงต้องรีบนำตัวลูกส่งโรงพยาบาล หรือคลินิกใกล้เคียงให้เร็วที่สุดค่ะ
1. หายใจเสียง เหมือนนกหวีด
2. ไอแหบระหว่างหายใจ
3. มีเสียงหายใจแหลมสูง
4. ไอหนักระหว่างหายใจ
5. หายใจเร็ว
6. หายใจหอบเหนื่อย
5.กลืนน้ำหรืออาหารได้ยากหรือกลืนไม่ได้เลย
ในเด็กที่เล็กมาก ๆ ให้ คุณพ่อ คุณแม่ สังเกตว่าลูกกิน หรือดื่มน้อยลงมาก หรือแทบจะไม่ได้กินอะไรเลย เป็นอาการที่ควรจะต้องรีบไปหาหมอค่ะ เด็กที่โตขึ้นมาหน่อย พอจะสื่อสารได้ นอกจากจะสังเกตอาการแล้ว ลองถามลูกดูว่ารู้สึกยังไงเวลาที่กลืนด้วย เพราะเวลาที่คุณหมอตรวจจะได้เตรียมข้อมูลไปด้วยนะคะ
เป็นภาวะที่ทำให้เด็กเกิด ความผิดปกติในการกลืน ทำให้อาจกลืนสิ่งต่าง ๆ ได้ยากลำบากหรือ มีอาการเจ็บเวลากลืน เช่น ขณะกลืนอาหารหรือของเหลวบางชนิด กลืนน้ำลาย เป็นต้น โดยบางรายไม่สามารถกลืนได้เลย หรืออาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไอ หรือสำลักขณะรับประทานอาหาร และ ดื่มเครื่องดื่ม รู้สึกคล้ายมีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก
ที่มา besttoddlertips
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญ ด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ทุกท่าน ให้มีความรู้และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ คุณพ่อ คุณแม่ เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ที่มาอ้างอิง https://th.theasianparent.com
เมื่อลูกมีไข้สูง: สิ่งที่ห้ามทำและวิธีลดไข้ที่ถูกต้อง