5 วิธีรับมือ หนุ่มน้อยชอบตี สาวน้อยชอบกัด

หากลูกเป็นเด็กชอบกัดหรือชอบตีคนอื่น นิสัยไม่น่ารักเเบบนี้ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมี 5 วิธีรับมือ หนุ่มน้อยชอบตี สาวน้อยชอบกัด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 วิธีรับมือ หนุ่มน้อยชอบตี สาวน้อยชอบกัด

คุณพ่อคุณเเม่สามารถป้องกันได้ด้วย 5 วิธีรับมือ หนุ่มน้อยชอบตี สาวน้อยชอบกัด เเม้ว่าการตีหรือกัดคนอื่น ๆ ของเด็ก ๆ ในวัยนี้ เป็นเรื่องที่ปกติธรรมดามากค่ะ เชื่อว่าเด็กทุกคนหรือเเม้เเต่เรา ๆ เอง ตอนเด็ก ๆ ก็ต้องเคยตี หรือกัดพ่อแม่มาบ้าง เพราะนั่นคือพัฒนาการของเขา เรื่องนี้มีสาเหตุมาจากอะไร และจะรับมืออย่างไรกันดี

1. หาสาเหตุ

ก่อนอื่นเลยคือ การหาสาเหตุค่ะ ว่าทำไมลูกถึงกัดหรือตี เช่นถูกขัดใจ หรือในวันที่กินน้อยจะตีเยอะกว่าปกติหรือไม่ ในเวลาที่โมโหจัดรึเปล่า เรื่องเหล่านี้คือสิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ต้องมองหานะคะ เพราะการรู้สาเหตุของการกระทำใด ๆ ก็ตาม ทำให้การเเก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้นนะคะ

2. อย่าโวยวาย

การโวยวายไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น นอกจากลูกจะตกใจกลัวเเล้ว ยังไม่ทำให้เขาเข้าใจด้วยว่าคุณพ่อคุณเเม่ต้องการสื่ออะไร การรับมือด้วยความนิ่งไม่โวยวายดีที่สุดค่ะ หากลูกพอรู้ภาษาเเล้ว ให้บอกกับเขาสั้น ๆ ด้วยคำว่า ไม่ หรือหากลูกยังไม่รู้ภาษา ให้ทำหน้านิ่ง ๆ เเล้วจับมือเขาออกไป

วิธีรับมือ หนุ่มน้อยชอบตี สาวน้อยชอบกัด-01

3. เสนอทางเลือก

หากนิ่งก็เเล้ว จับมือออกก็เเล้ว ลูกยังคงตีหรือกัดคุณพ่อคุณเเม่อยู่ ให้เสนอทางเลือกให้กับลูก คือการยื่นจุกหลอกหรือของเล่น ให้ลูกกัดหรือตีเเทนค่ะ เป็นการบอกเป็นนัย ๆ ว่าทำกับคุณพ่อคุณเเม่ไม่ได้ ให้ทำกับอย่างอื่นเเทน

4. เสริมสร้างวินัย

คุณพ่อคุณเเม่จำเป็นต้องอบรมสั่งสอนลูก เมื่อใดก็ตามที่ลูกเริ่มกัด หรือตี อย่าปล่อยผ่านกับพฤติกรรมเหล่านี้ จำเป็นต้องเสริมสร้างระเบียบวินัยทันที เพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมเหล่านี้ในครั้งต่อไป ยิ่งลูกยิ่งโตเขาจำเป็นต้องอยู่ในสังคม หากลูกไม่พอใจใครเเละกัดหรือตีเด็กคนอื่น ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้มากมายค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. เเสดงทางออกให้ลูกดู

หากลูกโมโหด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ให้เเสดงทางออกที่ง่ายดายมาก ๆ ให้ลูกเห็นค่ะ เช่น ลูกอยากได้ของเล่นขณะที่มือเปื้อน เเล้วลูกเริ่มโมโหทั้งตีทั้งกัด สิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ต้องทำคือ พาลูกไปล้างมือ เเละเมื่อล้างมือเสร็จจึงยื่นของเล่นให้ลูกเเบบนี้เป็นต้น ลูกจะเรียนรู้ได้เองว่า มันมีทางออกอื่นที่ไม่จำเป็นต้องกัด หรือตีค่ะ

วิธีรับมือ หนุ่มน้อยชอบตี สาวน้อยชอบกัด-02

นอกจากนี้ เมื่อลูกเริ่มเรียนรู้ว่า พวกเขาไม่จำเป็นต้องกัด หรือตี เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ คุณพ่อคุณแม่อาจจะมอบคำชมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูก ก็ได้นะคะ และนี่คือ 5 วิธีชมลูก สร้างคำชม เสริมใจให้ลูกกล้าแกร่ง ค่ะ

5 วิธีชมลูก สร้างคำชม เสริมใจให้ลูกกล้าแกร่ง

1. ชมลูกแบบตรง ๆ ไม่ต้องอ้อม

ชมให้ลูกเข้าใจ และเห็นภาพว่า เขากำลังได้คำชมในสิ่งที่กำลังอยู่ และรู้สึกมีความภาคภูมิใจกับสิ่งที่เขาได้ทำไป ตัวอย่างคำชมที่ดี เช่น “ขอบคุณลูกที่ช่วยล้างรถให้พ่อ มันดูเหมือนใหม่อีกครั้งมาก”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ชมความพยายามของลูกแม้ไม่สำเร็จก็ตาม

แสดงให้เห็นว่าพ่อแม่รับรู้ ชื่นชม และให้คุณค่า ในความพยายามทำของลูกเสมอ เด็กจะเติบโตขึ้นด้วยความหวัง และความเชื่อมั่นในตนเอง แม้ว่าความพยายามของลูกในวันนี้ อาจจะยังไม่ประสบผลสำเร็จก็ตาม แต่เขาก็ยังมีความมุ่งมั่นจากกำลังใจของพ่อแม่นั่นเอง

3. ชื่นชมโดยมุ่งตรงในจุดที่ลูกทำสำเร็จ

ตัวอย่างคำชมที่ดี : เมื่อคุณแม่คนหนึ่ง ดูลูกชายเล่นฟุตบอล เธอต้องการให้ลูกรู้ว่า….เธอชื่นชมในทักษะความสามารถ และความสำเร็จของเขา เธอเล่าให้ลูกฟังอย่างละเอียดถึง สิ่งที่เธอประทับใจในตัวเขา “แม่มีความสุขที่ได้ดูลูกเล่นฟุตบอลบ่ายวันนี้ โดยเฉพาะช่วง 10 วินาทีสุดท้ายที่ลูกเห็นโอกาสที่จะทำแต้ม แล้วลูกวิ่งไปตลอดทาง จากจุดที่ลูกตั้งรับ จนไปถึงอีกฝากหนึ่งของสนาม และลูกก็สามารถทำประตูได้ ลูกคงจะรู้สึกภาคภูมิใจมาก ๆ เลยสินะ และแม่ก็ภูมิใจในตัวลูกเช่นกัน”

4. อย่าชมลูกเวอร์ เกินจริง!

คำชมที่เกินจริงจากพ่อแม่ จะส่งร้ายให้กับลูกมากกว่าที่คิด เพราะคำพูดจากพ่อแม่ จะสะท้อนกลับมาที่ตัวลูก ในสิ่งที่เขารู้อยู่แก่ใจว่า ความเป็นจริงแล้ว เขาอาจจะไม่ได้ยอดเยี่ยมถึงขนาดที่พ่อแม่ชมไปแบบนั้นก็ได้ และจะทำให้ลูกรู้สึกกดดัน และกลายเป็นความหวาดกลัวที่อาจจะทำให้ลูกเลิกทำสิ่งนั้นไปเลย ลองดูการเปรียบเทียบคำชมที่เป็นประโยชน์ VS คำชมเวอร์ ๆ กันค่ะ เช่น
“บทกลอนของลูกที่แต่งเองดูกินใจดีนะ”  – (คำชมที่เป็นประโยชน์)
“ลูกเป็นนักกวีที่ดีเยี่ยม”! – (คำชมเวอร์ ๆ )

5. ไม่เอ่ยชมจากรูปลักษณ์ภายนอก

ตัวอย่างคำชม ที่ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับเด็ก เช่น หนูเป็นเด็กดี, หนูเป็นเด็กวิเศษ, ลูกเป็นเด็กฉลาด หัวดี, หนูเป็นคนสวย, หนูเก่งที่สุด เป็นต้น คำชมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เด็กเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง หรือควบคุมตัวของเขาเอง แต่มันทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเป็นฝ่ายตั้งรับ เพื่อคอยแต่จะรับฟังคำชมจากคนอื่น หรือคอยแต่จะทำดี เพื่อให้คนอื่นมาชื่นชม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรับมือเด็กชอบกัด-03

ลูก ๆ กำลังอยู่ในวัยเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อย ๆ สอน และให้กำลังใจ เพื่อให้เขาเติบโตไปอย่างแข็งแกร่ง และเป็นเด็กดีนะคะ

_________________________________________________________________________________________

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่าพ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง

source : www.parentingscience.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

10 วิธีรับมือ ลูกชอบกัดหัวนมแม่ตอนให้นม

พ่อแม่มักเจอลูกก้าวร้าว+อารมณ์ร้ายตอน 2 ขวบจริงหรือ?

หมอแป๊กกี้แนะ เลือกนมที่ใช่ ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้ลูกพร้อมออกไปเรียนรู้ทุกวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา