การพัฒนา IQ และ EQ จะไม่เวิร์ค กับ 5 ความเชื่อผิดๆ ในการเลี้ยงลูก

ทราบไหมคะ การเลี้ยงดูของพ่อแม่มีผลต่อการพัฒนาไอคิวและอีคิวของลูกได้ การเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมย่อมส่งเสริมให้ลูกมี IQ และ EQ ที่ดี แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแล้วจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน 5 ความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงดูส่งผลเสียต่อไอคิว และ อีคิว ของลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การพัฒนา IQ และ EQ จะไม่เวิร์ค กับ 5 ความเชื่อผิดๆ ในการเลี้ยงลูก

ก่อนที่เราจะมาดู 5 ความเชื่อผิดๆ ในการเลี้ยงลูก อาจส่งผลเสียกับ การพัฒนา IQ และ EQ ของลูก ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับ IQ แล EQ กันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าคืออะไร

ไอคิวอีคิวของเด็ก ๆ สร้างได้ยังไง

รู้จัก IQ และ EQ

IQ : Intelligent Quotient  หมายถึง  ความฉลาดทางปัญญา ความจำ ความคิด  เป็นความสามารถในการเรียนรู้  การจำ  การคิดอย่างมีเหตุผล  การตัดสินใจ ความสามารถในการสื่อสาร IQ เป็นตัวทำนายความสามารถในการเรียนของเด็ก  IQ เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่กำเนิด  สามารถถูกพัฒนาได้ตามศักยภาพของเด็ก ซึ่งรับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม

องค์ประกอบของ ไอคิว ที่มีความสำคัญต่อเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปีที่พ่อแม่ควรเสริมสร้างให้ลูก คือ

1.ความช่างสังเกต   เป็นความสามารถในการรับรู้คุณลักษณะของสิ่งของ  รวมถึงการแยกแยะเชื่อมโยง  การค้นหาส่วนที่ผิด  ส่วนที่หาย  การเปรียบเทียบขนาด  ปริมาณ  ความยาว  เป็นต้น  ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการแก้ปัญหาหรือการหาทางเลือกที่เหมาะสม

2.การถ่ายทอดจินตนาการ  เป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์  โดยอาศัยทักษะทางด้านภาษาในการสื่อสารที่ถูกต้อง   การเรียนรู้ทางด้านทักษะสังคม  การควบคุมอารมณ์  การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.การคิดเชื่อมโยงเหตุผล  เป็นความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว

4.การทำงานประสานระหว่างมือและตา  เป็นการแสดงความสามารถทางสติปัญญาด้านการกระทำที่อาศัยการทำงานประสานกันระหว่างประสาทสัมผัสในการลงมือปฏิบัติ

ไอคิวอีคิวของเด็ก ๆ สร้างได้ยังไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

EQ : Emotional Quotient  หมายถึง  ความฉลาดทางอารมณ์ ไม่กังวลไม่เครียด รู้จักการระงับความโกรธเป็น  เป็นความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ตนเอง  รู้จักควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสม  EQ สามารถพัฒนาได้จากการเลี้ยงดู  กระตุ้นพัฒนาเด็กอย่างถูกต้อง    เด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์ย่อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น

องค์ประกอบของ อีคิว ที่มีความสำคัญต่อเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี พ่อแม่ควรเสริมสร้างให้กับลูกดังนี้

1.การรู้จักและควบคุมตนเอง  เริ่มต้นด้วยการฝึกให้เด็กรู้ว่าเขากำลังมีอารมณ์อย่างไร  ให้รู้จักถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด  เพื่อที่เด็กจะได้รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองก็จะสามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อโตขึ้น

2.การเรียนรู้ระเบียบวินัย   เรียนรู้ว่าอะไรผิด  อะไรถูก  การยอมรับผิด  พ่อแม่ควรกำหนดเบื้องต้นว่าให้เด็กรู้ว่าอะไรทำได้  อะไรทำไม่ได้ในเรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน  และที่สำคัญต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กและควรสอนคุณธรรม  จริยธรรมในชีวิตประจำวัน  สำหรับการฝึกวินัย  คือ  พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กควบคุมความประพฤติของตนเอง  การปฏิบัติตามกฎระเบียบ  รู้จักกาลเทศะ  ทำกิจวัตรตามเวลา  และช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ความสนุกสนานร่าเริง  คือ สุขสนุกจากการเล่นไม่ว่าจะเล่นตามลำพังหรือเล่นกับเพื่อน  เด็กที่มีโอกาสได้เล่นสนุกสนานจะร่าเริงแจ่มใส  มีพื้นฐานทางอารมณ์ที่ดี  หากเด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาอย่างถูกต้องเหมาะสม ย่อมทำให้เด็กได้พัฒนาทั้ง IQ และ EQ ไปพร้อมกัน

ไอคิวอีคิวของเด็ก ๆ สร้างได้ยังไง

เทคนิคการพัฒนาไอคิวและอีคิว

เทคนิคสำคัญ คือ  การสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข   พ่อแม่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยงดูลูกแต่ละช่วงวัย  พ่อแม่ต้องมีความเข้าใจและทักษะในการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้องจะนำไปสู่การสร้างไอคิว และ อีคิวได้อย่างมีประสิทธิภาพตามพัฒนาการของลูก

รศ.ดร.อดิศักดิ์  ผลิตผลการพิมพ์  แพทย์ประจำแผนกกุมารเวชศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดีให้ข้อคิดในการเลี้ยงดูลูกว่า  การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดีเป็นทั้งคนเก่ง  คนดีและมีความสุขนั้น  ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก  คือ

1.สมองและระบบประสาทที่ดี  ได้รับสารอาหารเพียงพอ และได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม  เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นมามีไอคิว ที่ดี

2.การอบรมเลี้ยงดูที่ดี  ช่วยสนับสนุนอีคิวที่ดี

3.การเรียนรู้อย่างมีความสุข จะช่วยเสริมสร้างทั้งไอคิว และ อีคิว ในทุก ๆ ช่วงวัย

“เด็กที่โตขึ้นมาหน่อยรู้เรื่องอะไรได้มากพอ   พ่อแม่มักจะเป็นห่วงเรื่องความฉลาดของลูกมากที่สุด  ก็เลยส่งลูกไปเรียนไปฝึกต้องบอกว่า   ความพยายามที่จะสอนอย่างเดียวอาจทำให้เกิดผลเสีย ต้องแสดงความรักลูกด้วย เช่น  การกอด  การพูดคุยกันบ่อย ๆ ให้เขาได้รับความอบอุ่นในครอบครัวและเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงออก  อย่าเคร่งครัดจนเกินไป ให้ได้ลูกในสิ่งที่ตนเองชอบ”  คุณหมอกล่าวในตอนท้าย

อ่าน  5 ความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงดูส่งผลเสียต่อ IQ และ EQ ของลูกได้  คลิก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การพัฒนา IQ และ EQ จะไม่เวิร์ค กับ 5 ความเชื่อผิดๆ ในการเลี้ยงลูก

มาดูกันว่า  ความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงลูกที่ไปสกัดกั้นการพัฒนาไอคิวและอีคิวมีอะไรบ้าง

ไอคิวอีคิวของเด็ก ๆ สร้างได้ยังไง

1.ความเชื่อที่ผิด  การรักลูก คือ การเลี้ยงดูลูกให้สบายทุกอย่าง  หากพ่อแม่ทำทุกอย่างให้ลูก  หรือทำแทนลูก เช่น  ลูกเล่นของเล่นแล้วไม่ต้องเก็บก็ได้ พ่อกับแม่ยินดีช่วยเก็บให้นะจ๊ะ  หรือลูกโตพอสมควรที่ทำกิจวัตรประจำวันได้  เช่น  แปรงฟัน  อาบน้ำ  แต่งตัว  ใส่รองเท้า  แต่พ่อแม่ก็ยังจัดแจงทำทุกอย่างให้  เป็นต้น

ความจริงที่ถูกต้อง  การรักลูก คือ  การเลี้ยงดูให้ลูกสามารถช่วยเหลือตนเองได้  ซึ่งเด็กจะรู้สึกอิสระ  มีความภาคภูมิใจในตนเอง  เพราะเด็กที่ได้รับการเลี้ยงแบบสบายมากเกินไป  ไม่เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเองและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน  มักจะเป็นเด็กที่ขาดความอดทน  แก้ปัญหาและเผชิญปัญญาไม่ได้

2.ความเชื่อที่ผิด  การให้สิ่งของทุกอย่างที่ลูกต้องการ คือ  การแสดงออกว่าพ่อแม่รักลูกมาก ลูกอยากได้อะไรก็ให้ทุกอย่างหรืออะไรเกินความจำเป็นก็ยังให้ เช่น   ซื้อของเล่นก็ซื้อมาเต็มบ้าน ลูกอยากได้ก็ซื้อให้อีกทันที ซื้อขนมขบเคี้ยวมาเต็มบ้าน เพราะเห็นว่าลูกชอบกิน   ลูกอยากได้อะไร  อยากไปเที่ยวไหนตามใจทุก  การทำเช่นนี้เป็นการปลูกฝังให้จับจ่ายใช้สอยเกินตัว    หรือใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยต่อไปในอนาคต

ไอคิวอีคิวของเด็ก ๆ สร้างได้ยังไง

ความจริงที่ถูกต้อง  คือ การให้ความรักทางจิตใจ  เช่น  การโอบกอด  คำพูดชื่นชมเมื่อเด็กทำความดี  คำพูดให้กำลังใจเพื่อให้ลูกเกิดความพยายาม  จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเด็กจะได้รับรู้ความรักของพ่อแม่มากกว่าการให้ความรักด้วยสิ่งของ  เด็กที่พ่อแม่ให้แต่สิ่งของ  เงินทอง  มักจะเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง  ไม่รู้จักการเป็นผู้ให้  และเด็กจะไม่สามารถควบคุมความต้องการ  ความอยากของตนเองได้ จะกลายเป็นการปลูกฝังค่านิยมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยให้กับลูกโดยไม่รู้ตัว

3.ความเชื่อที่ผิด คนที่เก่งและประสบความสำเร็จในชีวิต คือ คนที่เรียนดี  ดังนั้น  พ่อแม่จึงคาดหวังลูกในเรื่องการเรียนมาก  ให้ลูกเอาแต่เรียนอย่างเดียวโดยไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องอื่น ไม่ว่าจะเป็นงานบ้านหรือกิจกรรมอื่น ๆ รวมถึงให้ลูกตั้งใจเรียนไม่ต้องทำกิจกรรมของโรงเรียนเพราะจะทำให้เสียเวลาเรียน

ความเชื่อที่ถูกต้อง  คนที่เก่งหรือประสบความสำเร็จในชีวิตจะต้องมีความสามารถหลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นการคิดการวางแผน  การแก้ไขปัญหา  ทั้งยังต้องมีทักษะพื้นฐาน เช่น  การช่วยเหลือตนเอง  และการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น  การที่เด็กมุ่งเรียนอย่างเดียว  จะสูญเสียโอกาสในการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม  ทำให้เด็กเป็นคนเคร่งเครียด  และไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อพบกับความผิดหวังในการเรียนหรือการทำงาน

4.ความเชื่อที่ผิด  การให้ลูกเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี  อินเตอร์เน็ต  การเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เพราะคิดว่าจะทำให้เด็กใช้เวลาว่างได้ดี  มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ไม่รบกวนพ่อแม่และทำให้เป็นเด็กฉลาดรู้ทันโลก

ความเชื่อที่ถูกต้อง  สื่อต่าง ๆ มีทั้งด้านดีและด้านเสีย  แต่เด็กยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรดี หรือไม่ดี และที่สำคัญเด็กยังไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เด็กจึงมักเลือกที่จะรับสื่อที่ไม่มีประโยชน์เพราะสนุกสนานมากกว่า  ผลเสียคือ  ทำให้เป็นเด็กเจ้าสำราญ คิดแต่เรื่องไร้สาระและยังขาดโอกาสที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์  ดังนั้น  หน้าที่ของพ่อแม่ควรเลือกสื่อที่เหมาะสมให้ลูกว่าอะไรดูได้  กำหนดเวลาที่เหมาะสมและให้อยู่ในสายตาเพื่อที่พ่อแม่จะได้ชี้แนะสิ่งที่เหมาะสมกับลูก

5.ความเชื่อที่ผิด   เด็กยังเล็กไม่ต้องสอนอะไรมาก  เพราะโตขึ้นเด็กจะเรียนรู้เองและคิดอะไรด้วยตนเอง  ว่าสิ่งใดควร  สิ่งใดไม่ควร  พ่อแม่จึงมักปล่อยปละละเลย  ไม่ว่ากล่าวตักเตือนหรือจัดการอะไรเมื่อเห็นลูกทำไม่ถูกต้อง เช่น  เมื่อลูกพูดคำหยาบกับเพื่อน พ่อแม่ก็หัวเราะขบขันเพราะคิดว่าเป็นเรื่องน่ารักน่าเอ็นดูและยินยอมให้เด็กทำเช่นนั้นต่อไป

ความเชื่อที่ถูกต้อง  ช่วงวัยเด็กเล็กเป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว  การเรียนรู้เป็นรากฐานของวัยเด็ก  โดยเฉพาะการเรียนรู้ทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม   รู้ว่าอะไรถูก  อะไรผิด  อะไรควร  อะไรไม่ควร  การมีระเบียบวินัย  สิ่งเหล่านี้หากไม่ได้ปลูกฝังจะทำให้เด็กนิสัยเสียและยากที่จะแก้ไขในตอนโต

การเลี้ยงดูลูกในช่วงวัยเด็กถือเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต  หากพ่อแม่วางแบบแผนในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม  ลูกจะซึมซับเอา คำสอนนั้นติดตัวไปจนโต  เรียกว่าเป็นพื้นฐานทางนิสัยและพฤติกรรมของลูกก็ว่าได้   มาร่วมมือกันพัฒนาลูกด้วยการเลี้ยงดูที่ถูกต้องกันค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

เอกสารคู่มือเสริมสร้างไอคิวและอีคิวเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง  กรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข

https://www.dmh.go.th/

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

วิธีการเพิ่มไอคิวลูก

เสริม IQ และ EQ ให้ลูกน้อย ด้วยของเล่นง่ายๆจำนวนน้อยชิ้น

20 สัญญาณ บ่งบอกว่าลูกคุณคือเด็กอัจฉริยะ