5 ความทรงจำในวัยเด็กที่ลูกจะจดจำ เกี่ยวกับพ่อแม่ อย่าคิดว่าลูกไม่รู้เรื่องนะ!

ความทรงจำในวัยเด็กที่ลูกจะจดจำ รู้หรือไม่ว่าลูกจำทุกสิ่งทุกอย่างที่พ่อแม่พูด และกระทำต่อลูกได้นะ เพราะฉะนั้น พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีกับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความทรงจำในวัยเด็กที่ลูกจะจดจำ

คุณเคยลองนึกย้อนไปถึงความทรงจำในวัยเด็กของคุณสิ จำได้ไหมว่าคุณพ่อคุณแม่มักใช้เวลากับคุณแบบไหน คราวนี้ ให้คุณลองจินตนาการว่า เมื่อลูกของคุณโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะจดจำเรื่องราวในวัยเด็กเรื่องไหนได้บ้าง หรือลูกจะจดจำช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นต่างๆ เช่น ครั้งแรกที่คุณพาเขาไปเที่ยวสวนสนุก หรือวันแรกที่คุณสอนให้เขาขี่จักรยานสองล้อเป็น พ่อแม่รู้หรือไหมว่า ความทรงจำในวัยเด็กที่ลูกจะจดจำ มีเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับพ่อแม่บ้าง ลองมาดูกันค่ะ

ความทรงจำในวัยเด็กที่ลูกจะจดจำ 5 แบบ ที่เกี่ยวกับพ่อแม่

1. ช่วงเวลาที่คุณทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย หรือไม่ปลอดภัย

เด็กๆ จะจดจำช่วงเวลาที่คุณเข้าไปปลอบพวกเขาเมื่อตื่นขึ้นจากฝันร้าย แต่ในทางตรงกันข้าม พวกเขาก็จะจดจำช่วงเวลาที่คุณกลายร่างเป็นปีศาจตอนที่คุณเกรี้ยวกราดเช่นกัน ความโกรธเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่คุณต้องแน่ใจว่าอารมณ์ฉุนเฉียวของคุณจะไม่ทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัย และไม่เผลอดุด่ารุนแรง หรือทุบตีเพื่อระบายความโกรธ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นความทรงจำที่ฝังใจกับลูกได้ค่ะ

2. ช่วงเวลาที่คุณจดจ่ออยู่กับลูก

ความทรงจำที่จะฝังลึกอยู่ในใจของลูกตลอดไป คือ ช่วงเวลาที่คุณหยุดทำสิ่งใดก็ตามที่คุณกำลังทำอยู่ เพื่อไปเล่นตุ๊กตาเป็นเพื่อนลูก เตะฟุตบอลกับลูก หรือช่วยสอนการบ้านให้ลูก ลูกจะจดจำว่าพ่อแม่ให้ความสนใจเขาบ้างหรือไม่ เคยเล่นกับเขาหรือเปล่า เพราะเมื่อเด็กรู้สึกห่างเหินกับพ่อแม่ตั้งแต่เล็ก พอโตขึ้นคุณอาจจะเรียกร้องให้ลูกสนใจคุณอาจจะลำบากก็ได้ค่ะ

การไม่แบ่งเวลาให้กับลูก หรือทำตัวเมินเฉย ไม่สนใจ หรือไม่ใส่ใจในคำพูดของลูกเมื่อเวลาเขาเข้ามาคุยกับพ่อแม่ นอกจากพฤติกรรมแบบนี้ของพ่อแม่จะส่งผลให้เกิดระยะห่างและความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างพวกคุณกับลูกแล้ว ลูกอาจจะได้กลายเป็นเด็กที่เก็บกด ชอบอยู่คนเดียวมากเกินไป และกลัวที่จะเข้ากับสังคมภายนอก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อลูกในอนาคตเลย

ความทรงจำในวัยเด็กที่ลูกจะจดจำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. วิธีที่พ่อแม่ปฏิบัติต่อกัน

จงมีชีวิตแต่งงานแบบที่จะทำให้ลูกๆ ของคุณอยากแต่งงานในสักวันหนึ่ง แสดงให้ลูกเห็นว่า ความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความทุ่มเทเป็นอย่างไง เพราะลูกจะจดจำว่าพ่อแม่ประพฤติตัวเช่นไรเวลาอยู่บ้าน พ่อทุบตีแม่ไหม กินเหล้าเมามายทุกวัน หรือแม่ปล่อยปละละเลยพ่อ พอพ่อแม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ เด็กก็จะเกิดภาพจำ และคิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ฉันสามารถทำสิ่งเหล่านี้กับคนอื่นหรือคนให้ครอบครัวได้ค่ะ

4. คำพูดที่ให้กำลังใจและคำวิจารณ์ของคุณ

หัวใจของเด็กเปรียบเสมือนปูนที่ยังไม่แห้ง ความประทับใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของชีวิตจะฝังลึกยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป พ่อแม่มีหน้าที่สั่งสอนให้ลูกทำในสิ่งที่ถูกต้องและสร้างระเบียบวินัยให้ลูก แต่คุณต้องแน่ใจว่า คำสั่งสอนเหล่านั้นเต็มไปด้วยความรัก การให้กำลังใจ และเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมในเชิงบวก พ่อแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าที่ลูกกระทำผิด ควรพูดให้กำลังใจเวลาลูกผิดหวัง และควรชมเชยลูกเวลาที่ลูกประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตามค่ะ

พ่อแม่อาจจะเครียดเรื่องงาน ทำงานบ้านเหนื่อย โมโหหิว ทะเลาะกัน ก็ควรเก็บอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเจอหน้าลูก เพราะเด็ก ๆ ไม่รู้เรื่องปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของพ่อแม่หรอก ดังนั้นเมื่ออยู่กับพวกเขาเราควรจะเก็บอารมณ์หรือจัดการอารมณ์เหล่านั้นออกไปเสีย และมีความสุขส่งเสียงหัวเราะไปพร้อมกับลูกดีกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. กิจกรรมในครอบครัวที่ทำเป็นประจำ

เด็กๆ ชอบเรื่องเซอร์ไพรซ์ แต่พวกเขาก็ต้องการกิจวัตรที่ทำเป็นประจำในครอบครัวเช่นกัน ลูกจะจดำจดจำความสุขที่ได้นั่งดูหนังกับพ่อแม่ทุกคืนวันศุกร์ ได้เล่นเกมกันทั้งครอบครัวในคืนวันเสาร์ หรือการได้ไปเที่ยวประจำปีกับพ่อแม่ จงตั้งใจสร้างกิจวัตรของครอบครัวที่ลูกของคุณจะถ่ายทอดไปยังลูกๆ ของเขาเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

ผลของการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีให้ลูกเห็น อาจจะทำให้เด็กเกิดการเลียนแบบสิ่งที่ไม่ดีของพ่อแม่ไป ดังนั้นอย่าไปลืมไปว่าตอนนี้พวกคุณได้เป็นพ่อแม่คนแล้ว จึงควรที่จะมัดระวังคำพูด อารมณ์ที่แสดงออก และพยายามใช้ความอดทนต่อการเลี้ยงลูกเวลาที่ได้อยู่ต่อหน้าลูกกันนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และนอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ ว่าช่วงไหนที่ลูกน้อยของเราจะเรียนรู้ได้เร็วที่สุด สามารถอ่านบทความต่อท้ายได้ในหน้าถัดไปเลยค่ะ

ช่วงไหนลูกเรียนรู้ได้เร็วที่สุด กี่ขวบกันนะลูกถึงจะเรียนรู้แบบก้าวกระโดด

พัฒนาการของลูก ต้องแต่ออกจากท้องของแม่มา เป็นหนึ่งในเรื่องที่ คุณแม่ คุณพ่อ ผู้ปกครอง ทุกคน มักจะให้ความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ อยู่เสมอ เพราะไม่ว่าใครก็คงอาจจะให้ลูก มีพัฒนาการที่ปกติ หรือ รวดเร็ว ไม่อยากให้ลูกมีพัฒนาการช้า แต่ว่า ช่วงไหนลูกเรียนรู้ได้เร็วที่สุด พัฒนาการ ช่วงไหน เราจะได้เห็นก้าวกระโดดจากลูก พัฒนาการเด็กช่วงไหน สำคัญที่สุด วันนี้เราจะมาดูกัน

ตามข้อมูลที่เราได้รวบรวมมานั้นกล่าวว่า ช่วงปีแรก ไปจนถึง เมื่อลูก อายุ 5 ขวบ นี่คือ ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ในการเจริญเติบโต และ พัฒนาการของเขา โดยการเจริญเติบโตของเด็กนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น สองประเภทใหญ่ ๆ คือ ด้ายกายภาพ และ ด้านแนวคิด

พัฒนาการด้านกายภาพ

ช่วงไหนลูกเรียน รู้ได้เร็วที่สุด

ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ลูกเกิด จนถึงเมื่อเขาอายุ 5 ขวบ คุณจะได้เห็น พัฒนาการด้านร่างกายของลูกมากมาย และ พัฒนาการเหล่านี้จะเป็นขั้นเป็นตอนไป

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ ช่วงไหนลูกเรียนรู้ได้เร็วที่สุด

ที่มา:  today


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ลักษณะนิสัยของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก ทำให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าว คุณเป็นแบบนี้ไหม!

อิทธิพลของพ่อที่มีต่อลูกสาว พ่อเลี้ยงลูกสาว ต้องสอนอย่างไร กลัวลูกโตไปแล้วห่างพ่อ

10 เทคนิคสร้างวินัยให้ลูกก่อนโต

เรียนรู้ นิสัยของเด็กวัย 2 ขวบ รู้ก่อนรับมือได้ทัน แก้ไขและสอนลูกอย่างถูกวิธี

วิธีสอนลูกเรื่องเวลา เริ่มตอนกี่ขวบดี เมื่อไหร่ลูกจะเริ่มรู้เรื่อง

วิธีสอนทารกให้เดินได้เร็ว วิธีสอนลูกให้เรียนรู้เรื่องการเดินให้ได้เร็วที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา