5 ประกันสำหรับผู้สูงอายุ ประกันแบบไหนที่ทำให้พ่อแม่หรือผู้สูงวัยได้บ้าง !?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันนี้ TAP จะมาแนะนำรูปแบบ ประกันสำหรับผู้สูงอายุ ว่ามีประกันรูปแบบไหน ประเภทไหนบ้าง ที่ครอบคลุมและรองรับการทำประกันของผู้สูงวัย ผู้สูงอายุ เพื่อเป็นช่องทางบอกต่อสำหรับลูก ๆ หรือ ผู้สูงอายุที่กำลังอยากทำประกันให้กับตัวเอง เพื่อช่วยซัพพอร์ตในเรื่องของการดูแลรักษาเยียวยายามเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ดังนั้นเรามาเช็กกันดีกว่าว่ามีประกันรูปแบบไหนบ้างที่รองรับสำหรับผู้สูงอายุ !?

 

แนะนำ 5 รูปแบบ ประกันสำหรับผู้สูงอายุ by TAP

 

 

1. ประกันผู้สูงอายุ

สำหรับรูปแบบประกันประเภทแรก TAP ขอแนะนำรูปแบบประกันที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มคนผู้สูงวัย ผู้สูงอายุโดยเฉพาะ นั่นก็คือรูปแบบ ประกันผู้สูงอายุ สำหรับประกันประเภทนี้จะเป็นการเอาประกันอุบัติเหตุ และ ประกันชีวิตมารวมไว้ด้วยกัน แต่เงื่อนไขสำคัญสำหรับการจ่ายเงินเอาประกันทางบริษัทประกันจะจ่ายในกรณีที่เสียชีวิตเท่านั้น สำหรับประกันผู้สูงอายุอาจจะเอาไว้ช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายบางส่วนในกรณีเกิดอุบัติเหตุ แต่จุดมุ่งหมายของการทำประกันรูปแบบนี้ คือเพื่อเป็นมรดกทิ้งไว้ให้ลูกหลานเมื่อผู้สูงอายุจากไป โดยประกันผู้สูงอายุจะรับทำประกันในช่วงอายุประมาณ 50 – 70 ปี โดยที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ และมีเบี้ยคงที่โดยจะคุ้มครองถึงอายุประมาณ 90 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่ทำ ซึ่งประกันผู้สูงอายุมีรูปแบบการจ่ายเงินประกัน 3 รูปแบบดังนี้

1.1 หากเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุภายใน 2 ปี จะได้รับเงินเอาประกัน 100% เต็ม รวมถึงเบี้ยที่ชำระไปแล้ว **อาจจะได้ทั้งหมด หรือ บางส่วน ขึ้นอยู่กับแผนประกัน และ กรมธรรม์ที่เลือก**

1.2 หากเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น ๆ ภายใน 2 ปี อาทิ เช่น เสียชีวิตจากโรคประจำตัว โรคมะเร็ง หรืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ นับจากวันทำสัญญาจะได้รับเบี้ยที่ส่งไปแล้วคืนทั้งหมด และได้รับเงินเพิ่มบางส่วน **ประมาณ 2% – 5% ตามแผนประกัน และ กรมธรรม์ที่เลือก**

1.3 แต่หากเสียชีวิตปีที่ 2 เป็นต้นไป ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือมีอายุอยู่ถึง 90 ปี จะได้รับเงินเอาประกัน 100%

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อดีของประกันผู้สูงอายุ

  • ได้รับความคุ้มครองชีวิต เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการเงินทุนก้อนสุดท้ายสำหรับใช้จ่าย หรือ เงินสำหรับเป็นมรดกให้กับลูกหลาน
  • เบี้ยประกันไม่สูง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป เปรียบเทียบการคุ้มครองแบบไหนคุ้มค่าที่สุด

 

2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

เป็นรูปแบบประกันที่คุ้มครองในกรณีเสียชีวิตโดยผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินทุนประกันกรณีผู้ทำประกันเสียชีวิต หรือหากผู้ทำประกันมีอายุครบสัญญา เช่น อายุถึง 90 ปี ก็จะได้รับเงินทุนประกันคืนเช่นกัน โดยการจ่ายเบี้ยประกันผู้ทำประกันสามารถเลือกได้จากแผนประกันและกรมธรรม์ที่ทำ อาทิ เช่น

  • แบบชั่วระยะเวลาหนึ่ง – 15 ปี หรือ 20 ปี
  • แบบจ่ายเบี้ยตลอดทุกปี

โดยประกันชีวิตแบบตลอดชีพมักจะคุ้มครองจนถึงอายุ 85, 90 หรือ 99 ปีเป็นต้น โดยสามารถสังเกตได้จากแบบประกันชีวิต เช่น แผนประกันชีวิต 90/21 คือการจ่ายเบี้ยประกัน 21 ปี แต่คุ้มครองชีวิตจนถึงอายุ 90 ปี

ข้อดีของประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เบี้ยประกันไม่สูง
  • ได้รับความคุ้มครองชีวิต เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่อยากได้เงินก้อนมาใช้จ่ายยามเกษียณ หรืออยากมีมรดกทิ้งไว้ให้กับลูกหลาน

 

 

3. ประกันสุขภาพ

สำหรับรูปแบบประกันประเภทนี้จะเน้นไปที่เรื่องของสุขภาพโดยเฉพาะ จะให้ความคุ้มครองเรื่องสุขภาพเป็นหลัก โดยปัจจุบันถ้าลูกหลานอยากทำประกันสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ทางบริษัทประกันจะให้ทำประกัน 2 แบบร่วมกัน นั่นคือ ทำสัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาหลัก และสัญญาประกันสุขภาพเป็นสัญญาแนบท้าย หรือสัญญาเพิ่มเติม โดยรูปแบบประกันและเบี้ยประกันมีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น

  • ประกันสุขภาพแบบเบี้ยสูงแต่เหมาจ่าย
  • ประกันสุขภาพแบบเบี้ยถูกลงมาแต่มีค่าที่ผู้ทำประกันต้องจ่ายส่วนแรก

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำประกันสุขภาพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.1 อายุที่รับทำประกันสุขภาพ

โดยปกติบริษัทประกันจะรับทำประกันตั้งแต่เด็กแรกเกิด 1 เดือน ไปจนถึงอายุ 65 – 80 ปีโดยประมาณ ถ้าหากลูกหลานอยากทำประกันให้กับผู้สูงอายุต้องรีบทำก่อนที่อายุจะเกิน เพราะถ้าอายุเกินบางแผนประกันสุขภาพของบางบริษัทจะไม่สามารถทำได้

3.2 ค่ารักษาพยาบาลครอบคลุมหรือไม่

ส่วนใหญ่ประกันสุขภาพจะครอบคลุมทุกโรค ยกเว้นโรคที่เป็นมาก่อนแล้ว โดยการทำประกันสุขภาพต้องบอกเรื่องสุขภาพ และ โรคที่เป็นมาก่อน หรือต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน ซึ่งถ้าหากโรคที่เป็นมาก่อนมีความเสี่ยง อาทิ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง บริษัทประกันอาจจะไม่รับทำ หรือรับทำแต่มีข้อยกเว้นในเรื่องค่ารักษาพยาบาลในโรคนั้น ๆ

ข้อดีของประกันสุขภาพ

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในโรคที่อาจเกิดขึ้นได้
  • เบี้ยประกันสุขภาพที่ลูกซื้อให้พ่อ แม่ จะสามารถลดภาษีรายได้ของลูกได้สูงสุดคนละ 15,000 บาท รวมทั้งคุณพ่อ คุณแม่ 2 คนจะสามารถลดภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท

 

4. ประกันอุบัติเหตุ

สำหรับรูปแบบประกันอุบัติเหตุจะคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุจนผู้ทำประกันสูญเสียอวัยวะ พิการ หรือเสียชีวิต รวมถึงดูแลในส่วนของค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุเท่านั้น

ข้อดีของประกันอุบัติเหตุ

  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพสามารถทำประกันได้ทันที
  • ช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีฉุกเฉินจากการเกิดอุบัติเหตุ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ประกันชีวิตแบบบำนาญ

สำหรับรูปแบบประกันสำหรับผู้สูงอายุประเภทสุดท้าย คือประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งรูปแบบการทำประกันประเภทนี้มีเงื่อนไข คือต้องจ่ายเบี้ยประกันทุกปีก่อนถึงอายุเกษียณ ซึ่งจะมีให้เลือก 2 ช่วงอายุ คือ จ่ายเบี้ยถึงอายุ 55 ปี หรือ จ่ายเบี้ยจนถึงอายุ 60 ปี โดยจะได้รับเงินบำนาญคืนทุกปีนับตั้งแต่วันที่เกษียณอายุ เป็นการคืนเงินทุนประกันที่ทำไว้ตั้งแต่เริ่มสัญญา

ข้อดีของประกันชีวิตแบบบำนาญ

  • มีรายได้ที่สม่ำเสมอหลังเกษียณ โดยสามารถเลือกรับเงินได้ทั้งแบบรายเดือน หรือ รายปี
  • ได้รับความคุ้มครองชีวิตในขณะที่ยังมีรายได้จากงานประจำ

 

และนี่ก็เป็นทั้งหมดของ 5 รูปแบบ ประกันสำหรับผู้สูงอายุ ที่ลูก ๆ สามารถทำให้กับคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงวัยได้ เพื่อการคุ้มครองทั้งในเรื่องของสุขภาพ อุบัติเหตุ รวมถึงชีวิต เพราะเรื่องที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ การมีประกันในรูปแบบต่าง ๆ ก็สามารถช่วยให้รู้สึกอุ่นใจทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเงินประกันก้อนสุดท้ายในกรณีเสียชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าลูก ๆ หรือผู้สูงวัยท่านไหนสนใจที่อยากจะทำประกันลองเลือกรูปแบบประกันที่เหมาะกับความต้องการของตัวเองและสอบถามทำประกันกับตัวแทน หรือ บริษัทประกันได้เลย เพื่อรับความคุ้มครองชีวิตตามที่ต้องการ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ข้อควรรู้ ! อยากทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ ต้องรู้อะไรบ้างและควรระวังเรื่องใด

เปิดคัมภีร์ ! อยากทำประกันสุขภาพ ต้องรู้อะไรบ้าง สำหรับมือใหม่อยากทำประกัน

มัดรวม ! 5 ประกันสุขภาพเหมาจ่าย รักษาครอบคลุม คุ้มครองครบวงจร

ที่มา : checkraka

บทความโดย

Prawit Kaewsuwan