4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

รับมือลูกเดือนแรกอย่างไรดี? เด็กแรกเกิดต้องการการเอาใจใส่ โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกที่สำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของลูก และแม่ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม เพื่อจะผ่านเดือนแรกของลูกไปให้ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเผชิญศึกกับเบบี๋เดือนแรก พ่อแม่มือใหม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร มีเรื่องไหนที่ต้องใส่ใจทารกแรกเกิด พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

 

แม่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม เพื่อจะผ่านเดือนแรกของลูกไปให้ได้

 

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอแต่ท้อไม่ได้

ในช่วงเดือนแรก เป็นช่วงที่แม่ต้องทุ่มเทอย่างหนักเพื่อลูก ต้องเหนื่อยกับการนอนน้อย ต้องพาลูกไปหาหมอ และยังต้องทำทุกๆ วันอย่างเต็มที่ ทั้งให้นม เปลี่ยนผ้าอ้อม และปลอบลูกเมื่อร้องโยเย ยิ่งคุณแม่มือใหม่ด้วยแล้ว 1 เดือนแรกของลูก เปรียบเสมือนการเผชิญศึกหนักที่ไม่ทันตั้งตัว มีหลายเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เราเลยรวบรวม 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ว่าที่คุณแม่มือใหม่ได้ศึกษา รวมไปถึงคุณแม่ที่เตรียมตัวก่อนคลอดน้อง

 

1.ปัญหาที่ต้องเจอเมื่อให้นมลูก

นมแม่ สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ที่ช่วยให้ลูกเติบโตอย่างแข็งแรง เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และภูมิคุ้มกันสำหรับลูกรัก ด้วยประโยชน์มากมายนี้ แม่ๆ ก็ตั้งใจจะให้นมลูกได้นานๆ แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะพบกับปัญหาระหว่างการให้นม เช่น เจ็บหัวนม หรือบางรายเกิดหัวนมแตก อาจเกิดจากท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม หรือแม้แต่การดูดนมผิดวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับท่าให้นมที่ดีก็เช่น

  • ท่านอน ให้ลูกนอนตะแคง และปากของลูกระดับเดียวกับหัวนม ใช้มืออีกข้างประคองลูก
  • ท่านอนขวางบนตัก ให้ลูกนอนตะแคงในอ้อมแขน วางหมอนบนตัก
  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล เอาหมอนมาหนุนรองที่ใต้ต้นแขน แล้วให้ลูกนอนบนแขน ใช้มือข้างเดียวกันประคองหัวลูก ไว้ใกล้เต้า

ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี

  • นำลูกเข้าเต้า แม่นั่งในท่าให้นม แบบท่าอุ้มขวางตักแบบประยุกต์
  • แม่ต้องจับพยุงเต้า วางนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนของเต้า ห่างจากลานหัวนมเล็กน้อย นิ้วที่เหลือพยุงเต้านมอยู่ด้านล่าง
  • ให้ลูกงับ ด้วยการใช้หัวนมเขี่ยแก้มหรือริมฝีปาก
  • ลูกควรจะงับถึงลานนม ให้อมลานนมส่วนล่างมากกว่าลานนมส่วนบน
  • คางลูกแนบชิดกับเต้านมส่วนล่าง

 

2.ลูกร้องไห้โยเย

แม่บางคนโชคดีที่ลูกเลี้ยงง่าย ร้องไห้ไม่บ่อย แต่แม่บางคนกลับต้องเผชิญศึกหนัก เมื่อลูกร้องไห้แทบจะตลอดเวลา บางครั้งก็ดิ้นไปมาเหมือนกำลังไม่สบายตัว แล้วอะไรบ้างที่ทำให้ลูกร้องไห้?

มาเช็คปัญหายอดฮิตที่ทำให้ลูกร้องกันเถอะ

  • หิว ในช่วง 2-3 วันแรก ลูกจะหิวบ่อยๆ อาจต้องป้อนนม 8-15 ครั้งต่อวัน แต่ความถี่ก็จะค่อยๆ ลดลงไปเอง
  • ผ้าอ้อมเปื้อน เมื่อลูกขับถ่ายจนผ้าอ้อมเปียกจะรู้สึกไม่สบายตัว
  • รู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป พยายามใส่เสื้อผ้าให้ลูกรู้สึกสบายๆ แล้วอยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ
  • เพลีย เมื่อทารกเหน็ดเหนื่อย หรือเพลียมากๆ ก็จะรู้สึกหงุดหงิด เพราะอยากนอนแล้ว
  • แน่นท้อง หลังกินนมต้องจับลูกเรอ เพื่อไล่ลมออกจากกระเพาะ
  • ลูกไม่สบาย ถ้าเช็คทุกอย่างแล้ว โอ๋ลูกแล้ว กอดปลอบลูกแล้ว ลูกก็ยังไม่หาย แม่ต้องเช็คอาการอื่นๆ เช่น ลูกมีไข้หรือเปล่า หรือมีอาการซึม กระวนกระวาย ที่ผิดปกติหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ลูกกินนอนไม่เป็นเวลา

ในช่วงสัปดาห์แรกที่ลูกลืมตาออกมาดูโลก แม่ต้องเหนื่อยหนักหน่อย เพราะลูกต้องกินนมอยู่ตลอด ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง รวมทั้งเวลากลางคืนที่ลูกจะร้องขอดูดนมบ่อย ๆ แทบจะตลอดคืน แต่จะหนักขึ้นอีกเมื่อลูกอยู่ในช่วง Growth spurts ช่วงที่ร่างกายทารกเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องดูดนมบ่อย ๆ

ส่วนการนอนของลูกก็จะแบ่งเป็นช่วงๆ ทำให้ตื่นบ่อยๆ แต่รวมแล้วลูกจะนอนนานถึง 16-17 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อผ่านพ้นช่วงเดือนแรก ทุกอย่างก็ค่อยๆ ดีขึ้น คุณแม่จะเริ่มมีเวลาพักผ่อนนานขึ้น

ในช่วงนี้คุณพ่อควรจะเข้ามาเป็นผู้ช่วย ใกล้ชิดคุณแม่ คอยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก จับลูกเรอ และกล่อมลูกนอน เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนบ้าง

 

4.เสียงแปลก ๆ ของทารก

ทารกมักจะทำเสียงแปลก ๆ ตั้งแต่อ้อแอ้ ไปจนถึงเสียงคล้ายกับการขู่คำราม ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีอะไรต้องกังวล นอกจากเสียงต่าง ๆ ที่ทารกทำขึ้นแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ที่ทารกมักจะเป็น เช่น

  • อาการสะอึก ซึ่งเกิดจากการอิ่มหลังดื่มนม แล้วสักพักลูกจะเลิกสะอึกได้เอง
  • จามบ่อย ๆ อาการจามของเด็กแรกเกิด เป็นวิธีขับน้ำคร่ำและสิ่งที่เจือปนอยู่ในอากาศออกจากร่างกาย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอแม่ห้ามท้อนะคะ ลูกเดือนแรก มีสิ่งที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้อีกเยอะ อะไรที่อ่านมาในตำรา สิ่งที่คุณหมอแนะนำ หรือประสบการณ์จากคุณแม่คนอื่น ๆ ก็พอจะช่วยได้บ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คุณแม่ต้องเรียนรู้ลูกของตัวเองจากประสบการณ์ของตัวเอง

 

วิธีดูแลลูกแรกเกิดที่ต้องทำเป็นประจำ

หลังจากได้รู้ 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอกันไปแล้ว มาดูวิธีดูแลลูกแรกเกิดที่ต้องทำเป็นประจำกันดีกว่า

อาบน้ำ

  • อาบด้วยน้ำอุ่น ๆ ไม่ร้อน โดยอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผมวันละครั้งเดียว
  • อาบน้ำทารกไม่ควรใช้เวลานาน เพียง 5-7 นาทีก็ควรทำให้เสร็จ และไม่อยู่ในบริเวณที่มีลม
  • หลังจากที่ลูกอิ่มนม อย่าอาบน้ำทันที

ดูแลสะดือ

พ่อแม่ต้องดูแลทั้งโคนสะดือและตรงสะดือให้แห้งอยู่เสมอ โดยเช็ดสะดือทารกด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์ตามที่โรงพยาบาลจัดให้ใช้) ทำความสะอาดวันละ 3 ครั้ง และสะดือจะหลุดได้เอง 1 – 2 สัปดาห์ พอสะดือใกล้หลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้ยา แป้ง มาโรยสะดือเด็ดขาด

ดูแลช่องปากลูกน้อย

ลูกทานนมบ่อย ๆ ต้องหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากลูก ด้วยการเช็ดคราบนมเบา ๆ ตามเหงือกและลิ้น เพื่อป้องกันฝ้าขาว

วิธีการทำความสะอาด ให้ใช้ผ้านุ่มๆ พันบริเวณปลายนิ้ว นำไปชุบน้ำสะอาด เช็ดเหงือกให้ทั่ว เมื่อลูกรักปากสะอาดก็จะไม่เกิดเชื้อรา ทำบ่อยๆ ยังส่งผลดีตอนโต ลูกก็จะชินกับการแปรงฟันได้ง่ายขึ้น

เปลี่ยนผ้าอ้อม ดูแลหลังขับถ่าย

ลูกฉี่แล้ว พ่อแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้ทารกตัวเย็น ส่วนการอึนั้น ทารกที่ดื่มนมแม่มักจะอึบ่อย ๆ เป็นเรื่องปกติ วิธีทำความสะอาดก้น ให้เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดไปมา

ถ้าเป็นลูกสาวให้แม่เตรียมผ้าเปียก หรือแผ่นสำลีชุบน้ำสะอาด

  1. เมื่อลูกสาวฉี่ ให้ใช้ผ้าเปียกเช็ดจากท้องน้อย จนถึงอวัยวะเพศ ไม่ต้องเช็ดลึกไปในช่องคลอด เช็ดตรงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง แล้วเปลี่ยนผ้าเปียกผืนใหม่ เช็ดตรงก้นอีกครั้ง ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจ
  2. ถ้าใช้สำลีชุบน้ำ ให้เช็ดเหมือนกับข้อบน หลังจากเช็ดขาหนีบให้เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ แล้วเช็ดตรงก้น ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง ก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ใช้ผ้าขนหนูนิ่ม ๆ เช็ดเบา ๆ ที่ผิวก้น และตรงอวัยวะเพศ ให้แห้งเสียก่อน
  3. หากลูกสาวอึ ให้ใช้น้ำสะอาดล้างก้นลูกก่อน พอเกลี้ยง ให้ซับอวัยวะเพศและก้นลูกให้แห้ง เช็ดแค่ด้านนอก ไม่ต้องเช็ดลึกถึงช่องคลอด ย้ำอีกครั้ง การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ห้ามเช็ดจากก้นขึ้นมา เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด ที่สำคัญ ห้ามทาแป้งลงบนอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้อับชื้นและเกิดการติดเชื้อ

 

นอกจาก 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอแล้ว แม่ยังต้องดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพร่างกายของทารกแรกเกิดด้วย เพราะทารกแรกเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย ห้ามประมาทอย่างเด็ดขาดนะคะ

 

ที่มา : แพทย์หญิงฉัตรฉาย เปรมพันธ์พงษ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

paolohospital.com และ thairath.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเสริมพัฒนาการลูกน้อย แรกเกิด-1 ปี พัฒนาการของวัยทารก ฝึกอย่างไรให้สมวัยในขวบปีแรก

ควรใส่ถุงมือให้ทารกเวลาหลับกลางคืนไหม เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้

7 สัญญาณที่ทำให้ทารกร้องไห้

อยากรู้ไหม ทำไมเด็กทารกถึงตื่นบ่อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya