4 เคล็ดลับ จัดการอย่างไรกับลูกนิสัยเหวี่ยงวีน

“นิสัยลูกเหวี่ยง” อารมณ์ประมาณแบบนี้คุณแม่จะได้พบแน่ๆ กับลูกๆ ที่เริ่มเข้าสู่วัย 2 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่เด็กจะค้นพบความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีความรู้สึกนึกคิดที่เป็นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ซึ่งหากคุณแม่เจอลูกเหวี่ยงก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กวัย 2-3 ขวบ เพียงแต่คุณแม่ไม่ควรปล่อยอาการแบบนี้ให้เกิดกับลูกบ่อยครั้ง หากลูกมีอาการเหวี่ยงวีนต้องจัดการอย่างไรดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จัดการอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมไหว้ผู้ใหญ่
ก่อนลูก 2 ขวบ สอนให้ทำอะไรก็ว่านอนสอนง่าย มือไม้อ่อน มีลูกอ้อน แต่เมื่อลูกโตขึ้นมาเพียงไม่กี่เดือน ความเป็นตัวตนของเจ้าตัวน้อยก็เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติส่วนนี้ของลูก หากลูกเริ่มปฏิเสธในสิ่งที่เคยทำ เช่น การไหว้ผู้ใหญ่ ญาติพี่น้อง หรือแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน ในจุดนี้หากลูกไม่ยกมือไหว้ คุณแม่ไม่ควรฝืนใจไปบังคับลูกในตอนนั้น แต่ใช้เวลานอกเหนือคอยพูดกระตุ้นให้ลูกเข้าใจ หรือเตรียมพร้อมก่อนหน้าที่จะได้เจอผู้ใหญ่ และวิธีที่ดีที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างในการยกมือไหว้ผู้ใหญ่ให้ลูกเห็น เพื่อจะทำให้ลูกได้ซึมซับและเข้าใจมากขึ้น

จัดการอย่างไรเมื่อลูกดื้อไม่ยอมเชื่อฟัง
ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์ใดก็แล้วแต่ เช่น ลูกดื้อไม่ยอมเก็บของ ไม่ยอมเข้านอน ไม่ยอมอาบน้ำ ฯลฯ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการจัดการกับลูกทันที ด้วยการอบรมหรือการหาวิธีลงโทษที่เหมาะสำหรับลูกในวัยนี้ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ลูกกระทำอยู่ในตอนนี้มันไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อลูกวัย 4 ขวบไม่ยอมกินข้าว ลองใช้บทลงโทษด้วยการงดอาหารมื้อนั้น หรือเมื่อลูกวัย 6 ขวบไม่ยอมเก็บของเล่น ให้ลองทำการยึดของเล่น ทั้งนี้เมื่อลูกถูกทำโทษแล้ว หลังจากอารมณ์ลูกเหวี่ยงวีนสงบลง คุณพ่อคุณแม่ควรมีเหตุผลที่จะสอนลูกในการกระทำดังกล่าว เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการสร้างวินัยให้กับลูกในอนาคตได้
เด็กดื้อไม่เชื่อฟัง-พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด

จัดการอย่างไรเมื่อลูกติดเกมหรือแท็บเล็ต
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิตอลมีแอพลิเคชั่นที่เหมาะสำหรับเด็กๆ เกิดขึ้นมากมาย การให้ลูกได้เล่นเกมหรือการใช้แท็บเล็ตก็เสมือนเป็นของเล่นลูกชิ้นหนึ่งในยุคนี้ และถ้าลูกเริ่มติดเกมหรือแท็บเล็ตไม่ยอมเลิกเล่น วิธีจัดการคือ

- พ่อแม่ควรจะหากิจกรรมอื่นๆ ให้ลูกได้ทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การพาลูกไปเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมสำหรับเด็กนอกบ้าน
- การกำหนดเวลาให้ลูกเล่น และสร้างเงื่อนไขให้ชัดเจน เช่น ให้ลูกได้เล่น 30 นาที หากลูกไม่ยอมเลิกเล่นเกินไป 10 นาที คราวหน้าจะลดเวลาในการเล่นลงอีก 10 นาที

อย่างไรก็ตาม หากลูกงอแงไม่ยอมเลิก คุณควรจะพูดกับลูกดีๆ และไม่ควรใช้กำลังแย่งของออกมาจากมือลูก ที่สำคัญหากคุณพ่อคุณไม่อยากให้ลูกติดเกมควรจะมีเวลาและหากิจกรรมทำร่วมกับลูก
สัญญาณอันตรายที่บอกว่า-“ลูกติดเกม”

จัดการอย่างไรเมื่อลูกเหวี่ยงไม่อยากไปโรงเรียน
เมื่อถึงเวลาที่ลูกเข้าโรงเรียน การไปโรงเรียนจะทำให้เด็กๆ รู้สึกกังวลไม่น้อย อาจจะเกิดงอแงเหวี่ยงวีนไม่อยากไปโรงเรียนให้พ่อแม่ได้ปวดหัวกลุ้มใจในช่วงแรกๆ ได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ เข้าใจและยอมรับความกลัวของลูกน้อย และพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูก บอกถึงผลดีของการไปโรงเรียน พ่อแม่ไม่ควรต่อต้านลูกด้วยการขู่บังคับยัดเหยียดลูกให้ไปโรงเรียนจะไม่เป็นผลดีต่อความอยากไปโรงเรียนของลูกในวันต่อๆ ไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการใช้คำพูดที่ดีๆ และบอกลูกไปตรงๆ ว่าลูกต้องอยู่โรงเรียนนานเท่าไหร่ และเมื่อถึงเวลาพ่อแม่จะกลับมารับลูกแน่นอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#########################

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R